วันจันทร์, ตุลาคม 22, 2555

พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

    พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ


พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ


พระมงคลมิ่งเมือง ประดิษฐาน ณ พุทธอุทยาน (เขาดานพระบาท)
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ               ระมงคลมิ่งเมือง เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ต่อจากองค์เดิมที่คณะฆ์และประชาชนได้ก่อเค้าโครงด้วยอิฐและหิน ประดิษฐานบนแท่นหินสูง ๔.๕๘ เมตร กว้าง ๕.๒๕ เมตร ยาว ๑๐.๑๐ เมตร และมติคณะกรรมการ โดยได้ออกแบบโครงสร้างใหม่ครอบองค์พระเดิม โดยขยายองค์พระให้ใหญ่ขึ้นเป็นแบบ ซึ่งได้อิทธิพลของสกุลศิลปะอินเดียเหนือปาละและแผ่มายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๖ และถือเป็นต้นแบบของสกุลศิลปะพระพุทธรูปแบบล้านช้าง และขานนามว่าเป็น "พระพุทธรูปปางมารวิชัย" นาม " พระมลคลมิ่งเมือง" ภายในพระอุระมีพระบรมสารีริกธาตุและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บรรจุไว้ พระมงคลมิ่งเมืองมีพระพักตร์ขนาด กว้าง ๒ เมตร วัดจากพระหนุ (หนุ แปลว่า คาง) ถึงยอดเปลวพระรัศมี ๖ เมตร ส่วนสูงวัดจากพื้นดินระดับที่ต่ำที่สุดถึงยอดเปลวพระรัศมี สูง ๒๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๑๑ เมตร ฐานกว้าง ๘.๔๐ เมตร ความยาวฐาน ๑๒.๖๐ เมตร ความสูงวัดระดับพื้นดินต่ำสุด ๕.๒๐ เมตร มีโครงสร้างองค์พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยตลอดผิวนอกฉาบปูนบุด้วยกระเบื้องเสกสีทอง ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๗ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๗ คณะกรรมการมีมติให้ต่อเติมชานรอบฐานองค์พระ  ชานรอบฐานโดยรอบ ๓ ด้าน กว้างด้านละ ๔ เมตร ชานตรงบันไดด้านหน้ากว้าง ๖ เมตร ประกอบด้วย พุ่มและกระถางธูป บุด้วยกระเบื้องโมเสก ฐานด้านล่างเป็นหินอ่อนสีเทาและดำ
             ด้านหลัง พระมงคลมิ่งเมือง เป็นที่ประดิษฐานของ "พระละฮาย" พระพุทธรูปสลักด้วยหินทรายแดง ๒ องค์ แต่การสลักยังไม่แล้วเสร็จ มีพุทธลักษณะที่ประดิษฐ์ขึ้นในระยะตรงกับ สมัยทวาราวดีรุ่นหลัง อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๒ ทำการขุดค้นได้จากอ่างเก็บน้ำห้วยปลาแดก รวมทั้งใบเสมาหินทรายแดงใหญ่ ดังปรากฏในปัจจุบัน


พิธีมหาพุทธาภิเษก
         พระมงคลมิ่งเมือง ได้ก่อสร้างขึ้นจากคณะผู้ศรัทธาอันเป็นกุศลเจตนา โดยมี ฯพณฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นผู้อุปการระ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรงและสวยงามถูกต้องตามแบบวิชาการ และมุ่งหมายให้พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพุทธศิลปะประจำภาค ถูกต้องตามสายวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงเป็นที่บำเพ็ญธรรมของฝ่ายวิปัสสนาธุระและแหล่งทัศนาจร

         พระมงคลมิ่งเมือง ออกแบบโดย นายจิตร บัวบุศย์ ศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษา (สมัยนั้น)

         พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่  ๑ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๘ เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๔๖ นาฬิกา โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฐฎายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นประธาน ฝ่ายบรรพชิตและ ฯพณฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ "(คฤหัสถ์ (อ่านว่า คะรึหัด) แปลว่า ผู้มีเรือน, ผู้ครองเรือน, ผู้อยู่ในเรือน เรียกรวมทั้งชายและหญิง) ในครั้งนี้ได้จำลองพระมงคลมิ่งเมืองเป็นพระบูชาขนาดหน้าตัก ๖ นิ้วและ ๔ นิ้ว และเหรียญเข้าร่วมพิธีด้วย
             
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
   พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่  ๒ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๙ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา เป็นผลจากการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฉลองครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ประกอบกับโดยรอบองค์พระชำรุด กระเบื้องโมเสกผุกร่อน คณะกรรมการพัฒนาพระมงคลมิ่งเมืองและมูลนิธิพระมงคลมิ่งเมือง จึงมีมติบูรณะเพื่อเปลี่ยนกระเบื้องโมเสกใหม่และนำกระเบื้องโมเสกจัดสร้างพระพุทธรูปบูชามีขนาด ๙ นิ้ว ๗ นิ้ว ๕ นิ้ว ๓ นิ้ว และพระเครื่องขนาด ๑ นิ้ว ให้เช่าบูชา โดยเริ่มบูรณะเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๗ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๙ โดยมี  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรมหาเถระ) กรรมการมหาเถระสมาคม วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานครเป็นประธานฝ่ายบรรพชิต (บรรพชิต หมายถึง ผู้เว้นทั่ว, เว้นจากอกุศลโดยประการทั้งปวง)  และ นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์


คาถาบูชา พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
              คาถาบูชา พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ


Pages