วันเสาร์, ตุลาคม 13, 2555

ดอนเจดีย์ ที่ท่องเที่ยวเมืองสุพรรณบุรี

ดอนเจดีย์ ที่ท่องเที่ยวเมืองสุพรรณบุรี

อนุสรณ์ดอนเจดีย์ เมืองสุพรรณบุรี
อนุสรณ์ดอนเจดีย์ เมืองสุพรรณบุรี ถ่ายเมื่อ 13 ตุลาคม 2555
คตินิยมเรื่องการทำยุทธหัตถี
            การชนช้างถือเป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้กันตัวต่อตัวแพ้ชนะกันแต่ด้วยความคล่องแคล่วแกล้วกล้า กับชำนิชำนาญการขับขี่ช้างชน มิได้อาศัยกำลังรี่้พลหรือกลอุบายอย่างหนึ่งอย่างใด อีกประการหนึ่งในการทำยุทธสงครามที่จอมพลทั้งสองฝ่ายจะได้เข้าใกล้ชิดจนถึงชนช้างได้นั้นมีน้อย เพราะฉะนั้นกษัตริย์พระองค์ใดทำยุทธหัตถีมีชัยชนะก็ได้รับยกย่องว่ามีพระเกียรติยศอย่างสูงสุด ถึงผู้แพ้นั้นก็ยกย่องสรรเสริญกันว่าเป็นนักรบแท้
คตินิยมเรื่องการทำยุทธหัตถี ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
คตินิยมเรื่องการทำยุทธหัตถี ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

             การจัดกระบวนทัพของไทยสมัยโบราณ
                    พลช้างนับเป็นกำลังสำคัญของกองทัพบกในการรบ เพราะใช้เป็นหน่วยประจัญบาน มีการจัดกระบวนแบ่งเป็นหมวด ดังนี้
                ๑.  ช้างดั้ง เดินอยู่กลางริ้วขบวนหน้า เป็นช้างที่นั่งละคอ
                ๒.  ช้างกัน เดินอยู่กลางริ้วขบวนหลัง เป็นช้างที่นั่งละคอ
                ๓.  ช้างแชก ทำหน้าที่ตรวจตราริ้วนอกสองข้าง ไม่มีควาญหลัง ทำหน้าที่สารวัตรช้าง
                ๔.  ช้างแซง เดินเป็นริ้วเรียงกันทั้งสองข้างตลอดแนว ไม่มีควาญหลังทำหน้าที่คล้ายสารวัตรช้าง
                ๕.  ช้างล้อมวัง มีหน้าที่แวดล้อมพระคชาธาร ผูกสัปคับโถง
                ๖.  ช้างค้ำและช้างค่าย หรือเรียกว่า "ช้างต้น" เดินอยู่วงในของช้างล้อมวัง ทำหน้าที่องครักษ์
                ๗.  ช้างพังคาสำหรับเจ้าพระยาเสนาบดี และเจ้าประเทศราชเป็นช้างผูกเครื่องมั่น
                ๘.  ช้างพระไชย ตั้งสัปคับหลังคากันยา สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปนำหน้าพระคชาธาร
                ๙.  พระคชาธาร ช้างทรงพระมหากษัตริย์
               ๑๐. พระที่นั่งกระโจมทองผูกสัปคับหลังกูบ ใช้เป็นพระที่นั่งรอง สำหรับประทับเวลารอนแรมไปในกองทัพ
               ๑๑. ช้างโคตรแล่น เป็นช้างสัปคับเดินอยู่ท้ายกระบวนช้าง แต่ในเวลาสงครามช้างโคตรแล่นจะเป็นช้างประจัญบาน เพราะเป็นช้างที่ดุร้ายที่สุด หากเป็นช้างยุทธหัตถี อาวุธที่เพิ่มขึ้นมา คือ หอกผูกผ้าแดง ๒ เล่มปืนใหญ่หันปลายออก ข้างขวา ๑ กระบอก ข้างซ้าย ๑ กระบอก มีนายทหารและพลทหารสวม เกราะโพกผ้า ตัวช้างที่เข้ากระบวทัพจะสวมเกราะตลอดกาย ใส่เกือกหรือรองเท้าเหล็กสำหรับกันขวากหนาม โดยใส่ทั้งสี่เท้า สวมหน้าราห์งาสองข้าง มีปลอกเหล็กสวมและเกราะโซ่ฟันงวงช้างเพื่อการจับกุมยื้อแย่งโคนค่ายประตูหอรบโดยไม่เจ็บปวด
              ลักษณะการใช้อาวุธบนหลังช้างแบบดังกล่าวนี้ยังคงใช้สืบเนื่องจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการจัดกองทัพอย่างตะวันตก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


อนุสรณ์ดอนเจดีย์ แหล่งท่องเที่ยว สุพรรณบุรี
อนุสรณ์ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี


อนุสรณ์ดอนเจดีย์ แหล่งท่องเที่ยว เมืองสุพรรณบุรี
อนุสรณ์ดอนเจดีย์ แหล่งท่องเที่ยว เมืองสุพรรณบุรี


รูปภาพแสดงยุทธหัตถี ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
รูปภาพแสดงยุทธหัตถี ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
ยุทธวิธีการรบของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
           สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้หลักการที่สำคัญดังนี้
๑. หลักการจู่โจม เลือกกระทำการโดยข้าศึกไม่รู้ตัว เช่น การเข้าตีค่ายพระยานครที่ปากน้ำพุทธเลา
๒. หลักความเป็นเบี้ยบน ตั้งปัญหาให้ข้าศึกแก้ ด้วยการออกรบก่อนไม่รอให้ข้าศึกเข้าทำการก่อน
๓. หลักการรวมกำลัง รวมกำลังให้มีกำลังเหนือข้าศึกเข้าทำการเฉพาะตำบล ถึงข้าศึกมีกำลังมากแต่แยกกันอยู่มาช่วยกันไม่ได้
๔. หลักการใช้ภูมิประเทศให้เป็นประโยชน์ เช่น ทรงตรวจภูมิประเทศก่อนวางแผนตีเมืองคัง
๕. หลักการบังคับบัญชา หรือ เอกภาพในการบังคับบัญชา คือ การเป็นผู้นำ ด้วยความกล้าหาญ เด็ดขาด มีวินัย ทรงนำทหารออกรบเอง สั่งประหารชีวิตพระยากำแพงเพชรให้เป็นตัวอย่างของความอ่อนแอ
๖. หลักการออมกำลัง ทรงใช้กองโจรซึ่งเป็นกำลังส่วนน้อยออกทำการอย่างกว้างขวางและได้ผล ขณะที่กำลังส่วนใหญ่คงพักอยู่ในพระนครเป็นการออมกำลัง กำลังรบจึงสดชื่นที่จะทำการแตกหักได้เฉพาะแห่ง
ยุทธวิธีการรบของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ยุทธวิธีการรบของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

Pages