วันจันทร์, เมษายน 19, 2564

หมวด ๖ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า การกําหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

หมวด ๖ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า การกําหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

๑) การกําหนดพื้นที่พื้นที่ที่ไม่เป็นที่ดินที่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ตามกฎหมายของบุคคลใด เว้นแต่เป็นที่ดินของหน่วยงานของรัฐ เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ให้รัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าประกาศกําหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตห้ามล่า สัตว์ป่า โดยทําเป็นประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีแผนที่แนบท้ายแสดงแนวเขต (มาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง)

๒) มาตรการบังคับหรือมาตรการคุ้มครองในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าให้เป็นไปตามที่ กําหนดในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ เว้นแต่กฎหมายอื่นจะได้กําหนดมาตรการ ในเรื่องดังกล่าวไว้ไม่ต่ํากว่ามาตรการที่กําหนดในพระราชบัญญัติ (มาตรา ๖๒ วรรคสอง)

๓) การกําหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ดูแลรักษา หรือมี หน่วยงานของรัฐได้รับอนุญาตหรือให้มีการใช้หรือทําประโยชน์ ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขอความเห็นจากหน่วยงานของรัฐนั้นก่อน โดยอนุโลม (มาตรา ๖๔ วรรคสอง)

๔) การขยายหรือการเพิกถอนเขตห้ามล่าสัตว์ป่าไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กระทําโดย ประกาศของรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และในกรณีที่เป็น การขยายหรือการเพิกถอนเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางส่วน ให้มีแผนที่แสดงแนวเขตที่เปลี่ยนแปลงไปแนบท้าย ประกาศด้วย (มาตรา ๖๔ วรรคหนึ่ง)

๕) ในการกําหนดให้พื้นที่บริเวณใดเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาดําเนินการ (มาตรา ๖๒ วรรคสาม) และให้ใช้บังคับกับการขยาย หรือการเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยอนุโลม (มาตรา ๖๔ วรรคสอง)

หลักเขต ป้าย เครื่องหมายแสดงแนวเขตเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (มาตรา ๖๕)

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องจัดให้มีหลักเขต ป้าย เครื่องหมายแสดง แนวเขตเขตห้ามล่าสัตว์ป่า และเครื่องหมายอื่นที่จําเป็น เพื่อให้ประชาชนทราบว่าเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า และอํานวยความสะดวกและให้ความรู้แก่ประชาชนด้วย โดยอนุโลม

การกําหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าครอบคลุมบริเวณสถานที่ที่ใช้ในราชการ (มาตรา ๖๖)

การกําหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าครอบคลุมบริเวณสถานที่ที่ใช้ในราชการ หน่วยงานของรัฐ และประชาชนยังคงมีสิทธิเข้าไปใช้ประโยชน์เขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้นได้ ตามแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่ ตามมาตรา ๖๘ แต่พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งให้งดเว้นการกระทําหรือสั่งให้ออกไปจากเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เป็นคราว ๆ ไปได้ หากการใช้ประโยชน์ดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสัตว์ป่าที่ห้ามล่า หรือระบบนิเวศของเขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้น

ข้อห้ามกระทําการในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (มาตรา ๖๗)

(๑) ล่าสัตว์ป่าชนิดหรือประเภทนั้น หรือเก็บหรือทําอันตรายแก่รังของสัตว์ป่านั้น เว้นแต่ จะกระทําเพื่อการสํารวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ และได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

(๒) ตัด โค่น แผ้วถาง เผา ทําลาย ต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น หรือทําลาย ทําให้เสื่อมสภาพ ขุด เก็บ ซึ่งแร่ ดิน หิน กรวด ทราย ลูกรัง ของป่า หรือทรัพยากรธรรมชาติใด ๆ หรือเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์ หรือสัตว์ป่า หรือเปลี่ยนแปลงทางน้ํา หรือทําให้น้ําในลําน้ํา ลําห้วย หนอง บึง ท่วมท้น หรือเดือดแห้ง เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

หรือเมื่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ประกาศอนุญาตไว้เป็นคราว ๆ ในเขตห้ามล่า สัตว์ป่าแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะ

แผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแต่ละแห่ง (มาตรา ๖๘)

๑) ให้หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแต่ละแห่งจัดทําแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่ละแห่ง เสนอต่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้ความเห็นชอบ

๒) เมื่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หัวหน้า เขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้นดําเนินการให้เป็นไปตามแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้น

๓) ในการจัดทําแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ต้องสอดคล้องกับ แผนแม่บทการบริหารจัดการการอนุรักษ์สัตว์ป่าและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามมาตรา ๔๕ (๓) และเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กําหนด โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วย การรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน แนวทาง การอนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่า การดูแลและฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งหากินของสัตว์ป่า การคุ้มครอง และดูแลรักษาสภาพธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ และความหลากหลาย ทางชีวภาพในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น

พื้นที่ควบคุมเพื่อการจัดการสัตว์ป่า

๑) พื้นที่ควบคุมเพื่อการจัดการสัตว์ป่า เป็นพื้นที่ที่อธิบดีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อการจัดการสัตว์ป่าชนิดหรือประเภทใดที่นอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าที่ก่อให้เกิด ผลกระทบหรือสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน หรือเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์หรือมี ความสําคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างยิ่ง (มาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง)

๒) ประกาศพื้นที่ควบคุมเพื่อการจัดการสัตว์ป่า มีกําหนดไม่เกิน ๒ ปี เว้นแต่กรณีมีความจําเป็น อธิบดีอาจประกาศขยายระยะเวลาได้คราวละไม่เกิน ๑๘๐ วัน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา ๗๐ วรรคสอง)

๓) หากพื้นที่ควบคุมเพื่อการจัดการสัตว์ป่ามีผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอยู่โดยชอบ ด้วยกฎหมาย ให้อธิบดีดําเนินการจ่ายค่าเสียหายหรือค่าชดเชยแก่ผู้นั้นด้วย (มาตรา ๗๐ วรรคสาม)

 

Pages