วันจันทร์, เมษายน 19, 2564

ภูมิปัญญาจากวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน

ภูมิปัญญาจากวรรณคดี เรื่อง ขุนช้างขุนแผน


1. บทนํา

ผู้ศึกษามีความสนใจที่จะศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นจากประเพณี วิถีชีวิต ความเชื่อ และค่านิยมใน วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน การศึกษาวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน จะทําให้ผู้ศึกษาทราบถึงภูมิ ปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏอยู่ในสมัยที่แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นใน ช่วงเวลาที่อิทธิพลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากตะวันตกยังไม่แพร่กระจายเข้าสู่สังคมไทยมากนัก โดยพิจารณาจากลักษณะของวรรณกรรมที่มีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งจะสะท้อนให้ เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีลักษณะเป็นไทยได้ตรงตามสภาพที่เป็นจริง

ดังนั้น การศึกษาวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน จะทําให้ผู้ศึกษาทราบถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏ อยู่ในสมัยที่แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้ และนําไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยให้ กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อส่งเสริมเผยแพร่ให้ชาวบ้านนําภูมิปัญญาเหล่านั้นไปสืบทอดปรับปรุง ต่อไป

2. ภูมิหลัง

2.1 ภูมิหลังของเรื่อง เรื่องขุนช้างขุนแผน มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2034-2072 เนื้อเรื่องเอาเกร็ดประวัติศาสตร์ ตอนไทยทําสงครามกับเชียงใหม่และล้านช้าง แล้วเอามาผูกกับวิถีชีวิตของชาวเมืองสุพรรณบุรีและ กาญจนบุรี แล้วเล่าสืบต่อกันมาจนกลายเป็นนิทานพื้นเมืองของเมืองสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี เรื่องนี้มี ปรากฏอยู่ในหนังสือ “คําให้การของชาวกรุงเก่า” ซึ่งนับว่าเป็นเค้าที่มาของเรื่องขุนช้างขุนแผน นับเป็น นิทานพื้นบ้านเรื่องยาวที่สุดของชาวสุพรรณบุรี ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น คือ สมัยสมเด็จพระพันวษา ซึ่ง เข้าใจกันว่า คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เพราะมีเนื้อเรื่องตรงกับประวัติศาสตร์ ตอนทําศึกเมืองเชียงใหม่ 2.2 ภูมิหลังของกลอนเสภา มีผู้สันนิษฐานกําเนิดของการขับเสภา เกิดขึ้นเพราะสมัยกรุงศรีอยุธยาถือว่า การเล่านิทานเป็นการมหรสพอย่างหนึ่ง คือ เมื่อมีการจัดงาน ไม่ว่าจะเป็นงานโกนจุก งานบวช งาน แต่งงาน หรืองานศพก็ตาม เจ้าภาพจะว่าจ้างนักเล่านิทานมาเล่านิทานให้แขกในงานฟัง นิทานที่นิยมเล่ากัน มากที่สุดคือ เรื่อง ขุนช้างขุนแผน การขับเสภาคงเนื่องมาจากการเล่านิทาน คือ เล่านิทานฟังกันนานๆ เข้าก็ จืด จึงมีคนคิดจะเล่าให้แปลูกโดยแต่งเป็นบทกลอนให้คล้องจองกันใช้ขับลํานํา มีกรับเป็นเครื่องเคาะ จังหวะ

3. ประวัติและวัตถุประสงค์

ประวัติ เรื่องขุนช้างขุนแผนมีผู้แต่งไว้แล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จกรมพระยาดํารงรา ชานุภาพ ทรงอธิบายว่า เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เบื้องต้นเล่าเพียงมุขปาฐะ(นิทานขนาดยาว) ต่อมา ภายหลังได้มีผู้นําเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนเสภาแล้วใช้ในการขับเสภา แล้วแต่งเป็นกลอนเสภา เฉพาะบางตอน จึงทําให้เรื่องนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น ครั้นเสียกรุงแล้วบางตอนก็สูญหายไป บาง ตอนยังมีต้นฉบับเหลืออยู่ จึงเหลือมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์แต่เพียงบางตอนเท่านั้น เรื่องไม่ติดต่อกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 มีพระราชประสงค์จะฟื้นฟู ศิลปและวรรณกรรม ให้ กลับฟื้นคืนดีเหมือนเดิมจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีหลายคนช่วยกันรวบรวมและแต่งเรื่องขุนช้าง ขุนแผนต่อเติมขึ้น จนตลอดเรื่อง การชุมนุมกวีครั้งนั้นจึงเป็นการประกวดฝีปากเชิงกลอนอย่างเต็มที่ ทําให้ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนมีความไพเราะเพราะพริ้งมาก กระทั่งถูกยกย่องให้เป็น ยอดวรรณกรรมประเภท กลอนสุภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในการขับเสภา ให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้ฟังผู้อ่าน และแสดง ความสามารถเชิงประพันธ์ของผู้แต่ง

4. เนื้อหา และบทวิเคราะห์ภาพสะท้อนของภูมิปัญญาจากวรรณกรรม | วรรณกรรมเรื่องนี้ให้คุณค่าทางสติปัญญา หรือ ความรู้ ความคิด ภูมิปัญญาในด้านต่างๆ มากมาย เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและสภาพสังคมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตลอดจนสํานวนโวหารที่ไพเราะ และเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี

วรรณกรรมเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่นจากประเพณีต่างๆ ทั้งจากประเพณีที่เกี่ยวกับ ชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนาและประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับเทศกาลต่างๆ ไว้ดังนี้

4.1 วิถีชีวิต วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้สะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่วิถีชีวิตตั้งแต่อ้อน ออกสู่ความเป็นหนุ่มสาว ทั้งชาววัด ชาววัง และชาวบ้าน หมายรวมถึงวิถีชีวิตเจ้ากับไพร่... คติ ความเชื่อ ค่านิยมของคนในสังคม วัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญาของชาวบ้านในสมัยนั้นได้ตรงตามสภาพที่เป็นจริง

มาก

4.2 ค่านิยม

4.2.1 ความซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์ ในวรรรณกรรมได้กล่าวถึงระบบศักดินาที่ใช้ในการ ปกครองสมัยก่อน เพราะแม้กระทั่งชื่อเรื่องก็สื่อให้เห็นถึงระบบศักดินาอย่างชัดเจน การถวายตัวในราช สํานัก เพื่อรับใช้และแสดงความซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์ ดังเช่น เมื่อพลายงามโตขึ้นได้ถวายตัวเพื่อรับ ใช้ในราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณ สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ของครอบครัวขุนนางในสมัยกรุงศรี อยุธยาที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์มาก พระมหากษัตริย์ตรัสสิ่งใดก็จะเชื่อฟัง ตอนที่ พลายงาม ถวายตัวแด่สมเด็จพระพันวษา

บทเสภา : พลายงามอาสาทําศึกเมืองเชียงใหม่

ขอเดชะพระกรุณาฝ่าละออง ดอกไม้ธูปเทียนทองของพลายงาม

 จงไปดีมาดีศรีสวัสดิ์ พันพิบัติเสี้ยนหนามความเจ็บไข้

  จะขอรองมุลิกาพยายาม พลางกราบสามที่สดับตรับโองการ 

ให้ศัตรูพ่ายแพ้แก่ฤทธิไกร มีชัยได้เวียงเชียงใหม่มา

4.2.2 การบ้านการเรือนของลูกผู้หญิง ลูกผู้หญิงจะต้องได้รับการฝึกฝนการบ้านการเรือน เพื่อให้เป็นกุลสตรีที่เพรียบพร้อม ดังตัวอย่างจากบทเสภา ตอนที่ พระเจ้ากรุงไกรและองค์ราชินีสอน พระธิดา ความว่า

อีกอย่างการงานคร้านทั้งนั้น มั่นว่าเมียอุบาทว์ชาติกาลี

อันหญิงดีที่เป็นภรรยา กําหนดไว้ในตําราว่าเป็นสี่

4.2.3 การศึกษาเล่าเรียนของลูกผู้ชาย ลูกผู้ชายจะต้องเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาบาลี คาถาอาคม อันเป็นประโยชน์ตามความนิยมในสังคมไทยสมัยก่อน ยายทองประศรีบอกกับพลายงาม ความว่า

“ทั้งขอมไทยได้สิ้นก็ยินดี เรียนคัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์”

“หนึ่งได้ศึกษาวิชาชาญ เป็นแก่นสารคือคุณอุดหนุนตัว”

4.2.4 การเคารพผู้ใหญ่ สมัยก่อนการทําความเคารพผู้ใหญ่เป็นเรื่องสําคัญ เพราะจะทําให้ ผู้ใหญ่เอ็นดู การทําความเคารพจึงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังเสภาว่า

 “เจ้าออแก้วประนมก้มกราบไหว้ ท่านผู้ใหญ่ลูบหลังแล้วสั่งสอน”

4.3 ประเพณี

4.3.1 ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต หมายถึง ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของบุคคลตั้งแต่แรกเกิดจน ตาย ประเพณีเหล่านี้ล้วนจัดกระทําขึ้นในแต่ละช่วงของชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญๆ ทั้งสิ้น นับตั้งแต่การเตรียมการเกิด การโกนจุด การบวช การแต่งงาน การตาย และการทําศพ

4.3.1.1 ประเพณีการเกิด ในสมัยโบราณวิทยาการด้านการแพทย์ยังไม่เจริญเหมือนปัจจุบัน ฉะนั้นอันตรายจากการเกิดจึงมีมาก ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีและความเชื่อกันมากมายเพื่อป้องกันเหตุร้าย อันอาจเกิดมีขึ้นแก่หญิงมีครรภ์จึงมีหมอตําแยเพื่อช่วยทําคลอด เช่น เมื่อจวนใกล้จะคลอดต้องตามหมอตําแย มาช่วยทําการคลอด เมื่อเด็กคลอดออกมาถึงพื้นเรียกว่า “ตกฟาก” ต้องอดเวลาของเด็กไว้เพราะเชื่อตามหลัก โหราศาสตร์ว่าเวลาตกฟากมีความสําคัญต่อตั้งชื่อการทํานายเรื่องโชคชะตาในชีวิตของเด็กดังตัวอย่างจาก บทเสภา ตอนที่ ทองประศรีคลอดพลายแก้วแล้วตั้งชื่อตามเวลาตกฟาก

ปีขาลวันอาคารเดือนห้า ตกฟากเวลาสามชั้นฉาย

 กรุงจีนเอาแก้วอันแพรวพราย มาถวายพระเจ้ากรุงอยุธายา

 ให้ใส่ยอดพระเจดีย์ใหญ่ สร้างไว้แต่เมื่อครั้งกรุงหงสา

เรียกวัดเจ้าพระยาไทยแต่ไรมา ให้ชื่อว่าพลายแก้วผู้แววไว 

ส่วนแม่ของเด็กนั้นเมื่อคลอดแล้วต้อง “นอนไฟ หรือ อยู่ไฟ” เพื่อรักษาตัว ดังเสภา ว่า

เอาขึ้นใส่คู่แล้วแกว่งไกว แม่เข้านอนไฟให้ร้อนทั่ว

เดือนนึงออกไฟไม่หมองมัว ขมิ้นแป้งแต่ตัวน่าเอ็นดู

4.3.1.2 ประเพณีการทําขวัญ การจัดพิธีทําขวัญเด็ก พ่อแม่จะจัดบายศรีและเครื่องบัตรพลี สําหรับสังเวยพระภูมิเจ้าที่ เสร็จแล้วก็ทําขวัญ แล้วเอาสายสิญจน์มาเสกผูกข้อมือเด็กทั้ง 2 ข้าง เรียกว่า “ผูกขวัญ” แล้วให้ศีลให้พรตามประเพณี เพื่อเป็นการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ อีกทั้งเป็นการแนะนําสมาชิก ใหม่ของครอบครัวให้วงศาคณาญาติรู้จัก ในเสภากล่าวถึง ตอนทําขวัญพลายแก้ว ไว้ว่า

จัดแจกแขกนั่งเป็นวงกลม พงศ์พันธุ์พร้อมอยู่ทั้งปู่ย่า 

ยกบายศรีแล้วโห่ขึ้นสามลา เวียนแว่นไปมาโห่เอาชัย 

ศรีศรีวันนี้ฤกษ์ดีแล้ว เชิญขวัญพลายแก้วอย่าไปไหน

ขวัญมาอยู่สู่กายให้สบายใจ  ชมช้างม้าข้าไททั้งเงินทอง 

4.3.1.3 ประเพณีการโกนจุก เมื่อเด็กอายุเข้าสู่วัยรุ่น คือ ชายอายุ 13 ปี หญิงอายุ 11 ปี พ่อแม่ก็จะ จัดพิธีโกนจุก เพื่อเป็นการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และเป็นการแสดงว่าเข้าสู่วัยรุ่น ในเสภาขุนช้างขุนแผน กล่าวถึงโกนจุกพลายงาม ตอนที่ ทองประศรีทําพิธีโกนจุกพลายแก้วไว้ดังนี้

ทองประศรีดีใจ ได้ฤกษ์ยาม ได้สิบสามปีแล้วหลานแก้ว

จะโกนจุกสุกดิบขึ้นสิบค่ํา แกทําน้ํายาจีนต้มต้นหมู

 4.3.1.4 ประเพณีการบวช สําหรับเด็กผู้ชายพ่อแม่อาจจะให้ไปศึกษาหาความรู้กับพระที่วัดด้วย การนําตัวไปบรรพชาเป็นสามเณร จนมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงจะจัดประเพณีการบวช หรืออุปสมบทเป็น พระภิกษุ คนไทยถือว่าการบวชเป็นการอบรมบ่มนิสัย ฉะนั้นผู้ที่บวชเป็นพระแล้วจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น บัณฑิตหรือเป็นคนสุกที่ได้รับการบ่มเพาะด้วยหลักธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ก่อนบวชมีการลาอุปสมบท เพื่อให้ญาติมิตรมีโอกาสอนุโมทนาส่วนบุญและได้กุศล คือได้แสดงความชื่นชมยินดีในการทําบุญของผู้อื่น นอกจากนี้ยังให้ผู้บวชได้มีโอกาสขอขมาโทษผู้อื่นที่ตนเคยล่วงเกินไว้ให้อโหสิกรรมด้วย สําหรับเรื่องขุน ช้างขุนแผนในตอนที่ทองประศรีบวชเณรพลายแก้วที่วัดส้มใหญ่ กวีได้กล่าวไว้ว่า ตอนที่ ทองประศรีพา พลายแก้วมาบวชที่วัดส้มใหญ่ ความว่า

ท่านเจ้าขาฉันพาลูกมาบวช ช่วยเสกสวดสอนให้เป็นแก่นสาร

ด้วยขุนไกรบิดามาถึงกาล จะได้อธิษฐานให้ส่วนบุญ 

4.3.1.5 ประเพณีการแต่งงาน การแต่งงานถือเป็นการตั้งวงศ์ตระกูลและสืบต่อให้รุ่งเรืองสืบไป ปัจจุบันยังคงประกอบพิธีตามขั้นตอน ในเสภาพิธีเริ่มตั้งแต่การเริ่มต้นสู่ขอ ตอนเรียกสินสอดทองหมั้น ตอน ปลูกเรือนหอ ตอนยกขันหมาก ตอนพิธีสวดมนต์ซัดน้ํา และตอนส่งตัว ดังกวีกล่าวไว้ว่า ตอน นางศรีประจัน เรียกสินสอด เสภาว่า

“ข้าจะให้ลูกข้าสิบห้าชั่ง ขันหมากมั่งน้อยมากไม่รู้

ผ้าไหว้สํารับหนึ่งพอดี หอมีห้าห้องฝากระดาน”

 แต่เมื่อสังคมปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป การอยู่กันก่อนแต่ง หรืออยู่กินกันโดยไม่เข้าพิธีแต่งงาน จึง ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามากในสังคมปัจจุบัน

4.3.1.6 ประเพณีการตาย พิธีแรกคือ การอาบน้ําศพ เชื่อกันว่าเพื่อชําระสิ่งสกปรกให้ผู้ตายนํา วิญญาณที่บริสุทธิ์ไปสู่สุคติ โบราณมีการอาบน้ําศพเพื่อให้สะอาดอย่างแท้จริง แต่ปัจจุบันจัดทําเพียงรดน้ําที่ มือของผู้ตายเท่านั้น นอกจากนี้ในปากผู้ตายนิยมใส่เงินไว้โดยมีความเชื่อความคติโบราณว่าเพื่อให้ผู้ตาย นําไปให้ผู้รักษาประตูของภพอื่น หรือให้เป็นข้อคิดว่าตอนมีชีวิตอยู่ต้องดิ้นรนแสวงหาทรัพย์ ตายไปแล้วเอา อะไรไปไม่ได้เลย เป็นข้อควรพิจารณาเพื่อขจัดความโลภ การตั้งศพสวดพระอภิธรรม การทําบุญเลี้ยงพระ และจัดพิธีเผาศพ เมื่อเผาเสร็จมีการเก็บอัฐิเพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์หรือนําไปลอยน้ํา เช่น ตอนทําศพนางวันทอง เสภา ว่า

เกือบจะบ่ายชายแสงสุริยัน ขุดศพนั้นอาบน้ําและชําระ 

ยกศพใส่หีบพระราชทาน เครื่องอานแต่งตั้งเป็นจังหวะ

 ปีชวาร่ําร้องกลองชนะ นิมนต์พระให้นําพระธรรมไป

พลายชุมพลนุ่งขาวใส่ลอมพอก โปรยข้าวตอกออหน้าหาช้าไม่

 4.3.2 ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผนกล่าวถึงประเพณีเกี่ยวกับเทศกาลไว้ 2 อย่าง คือ ประเพณีในเทศกาลสงกรานต์ และสารทไทย ดังนี้

4.3.2.1 เทศกาลสงกรานต์ ในสมัยก่อนเราถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันที่ 1314-15 เมษายนของทุกปี ตอนเช้าจะมีการทําบุญที่วัด ตอนบ่ายอาจมีการก่อพระทราย และการรดน้ําขอพร ผู้ใหญ่ เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตนเองและเป็นการทําบุญร่วมกันตามความเชื่อที่ตนมีต่อศาสนาและพร้อมกัน นี้ก็มักจะจัดให้มีการสนุกสนานรื่นเริงใจควบคู่กับไปด้วย ดังความในคํากลอนที่ว่า

ทีนี้จะกล่าวถึงเรื่องเมืองสุพรรณ ยามสงกรานต์คนนั้นก็พร้อมหน้

 จะทําบุญให้ทานการศรัทธา ต่างมาที่วัดป่าเลไลยก์

 หญิงชายน้อยใหญ่ไปแออัด ขนทรายเข้าวัดอยู่ขวักไขว่

ก่อพระเจดีย์ทรายเรี่ยรายไป จะเลี้ยงพระกะไว้ในพรุ่งนี้

4.3.2.2 เทศกาลสารทไทย วันสารทไทยนี้ตรงกับวันแรม 10 ค่ําเดือนสิบ ก่อนถึงวันสารทไทย ชาวบ้านจะจัดหาข้าวของสําหรับไปทําบุญที่วัด แต่ของที่ทุกคนนิยมจัดหาไปเหมือนๆ กัน คือ กระยาสารท และกล้วยไข่ เพื่อไปทําบุญที่วัด และทําพิธีบังสุกุลกรวดน้ําเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไป แล้ว เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและเพื่อความสามัคคีในระหว่างเพื่อนบ้าน เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนกล่าวถึง การทําบุญในเทศกาลสารทไทยไว้ว่า

อยู่มาปีระกาสัปตศก ทายกในเมืองสุพรรณนั่น

ถึงเดือนสิบจวนสารทยังขาควัน คิดกันจะมีเทศน์ด้วยศรัทธา 

4.3.3 ประเพณีเกี่ยวกับศาสนา ประเพณีเกี่ยวกับศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน คือ ประเพณีการเทศน์มหาชาติ การเทศน์มหาชาติ มีความเชื่อว่า การได้มีโอกาสฟังเทศน์มหาชาติครบ 13 กัณฑ์ ในหนึ่งวันถือว่าเป็นอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่มาก ว่าถ้ามนุษย์สามารถฟัง เทศนามหาชาติ ที่มีตัวอย่างเช่น พระเวสสันดร ซึ่งมีความตั้งใจว่าจะให้ทานทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สมบัติ ลาภยศ ลูกเมีย คนใดก็ตามที่ละสิ่งเหล่านี้ได้ย่อมมีคุณอันยิ่งใหญ่ต่อตนเองและผู้อื่น สําหรับ วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผนได้กล่าวถึงประเพณีการเทศน์มหาชาติว่าจัดให้มีในเดือน 10 เพื่อทําเนื่องกับ เทศกาลสารทไทย กวีได้กล่าวถึงการประกอบพิธีกรรมของชาวบ้านว่า

อยู่มาปีระกาสัปตศก ทายกในเมืองสุพรรณนั่น 

ถึงเดือนสิบจวนสารทยังขาดวัน คิดกันจะมีเทศน์ด้วยศรัทธา

 พระมหาชาติทั้งสิบสามกณฑ์ วัดป่าเลไลยก์นั้นพระวัดหน้า

 ตาปะขาวเฒ่าแก่แซ่กันมา พร้อมกันนั่งปรึกษาที่วัดนั้น

บ้างก็รับเอาทศพรหิมพานต์ บ้างก็รับเอาทานกัณฑ์นั่น 

4.4 ความเชื่อ จากวรรณกรรมขุนช้างขุนแผน ภาพสังคมวัฒนธรรมของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ในระยะเวลาดังกล่าว “ความเชื่อและไสยศาสตร์” ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในสังคมไทย ความ เชื่อลักษณะนี้จะปรากฏเด่นชัดในการประกอบพิธีธรรม เพราะพิธีกรรมต่าง ๆ จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ของคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งยังได้รับความเชื่อถือจากคนทุกชั้น ดังนั้น เรื่องราวของขุนช้างขุนแผนจึง กําหนดให้ตัวละครต้องเกี่ยวข้องกับความเชื่อและไสยศาสตร์เกือบตลอดทั้งเรื่อง การพิจารณาเรื่อง “ความ เชื่อและไสยศาสตร์” ที่ปรากฏในเรื่องขุนช้างขุนแผน” จึงน่าจะช่วยให้เรามองเห็นความเชื่อและวิธีแก้ปัญหา ของคนไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้โดยอ้อม

4.4.1 ความฝัน สําหรับความเชื่อที่ปรากฏมากที่สุดในเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้แก่ ความเชื่อเรื่อง ความฝัน ซึ่ง “ความฝัน” ที่ปรากฏในเรื่อง มักจะเป็นความฝันเพื่อบอกเหตุที่กําลังจะเกิดขึ้น สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ ได้แก่

1.ฝันดี เช่น นางทองประศรีฝันว่าได้แก้ว ต่อมาก็ตั้งครรภ์ พอคลอดลูกออกมาเป็นชาย ก็ตั้งชื่อ ว่า พลายแก้ว หรือขุนแผน พระเอกของเรื่อง

2.ฝันร้าย เช่น นางวันทองฝันว่ามีคนมาทําร้ายพลายงาม ซึ่งสอดคล้องกับ เหตุการณ์ที่ขุนช้าง ลวงพลายงาม ลูกชายของวันทองที่เกิดจากขุนแผนไปฆ่าในป่า เนื่องจากรู้สึกอับอาย ที่ผู้คนต่างพากัน ล้อเลียน

4.4.2 ลางสังหรณ์ ความเชื่ออีกประเภทหนึ่งที่ปรากฏ ได้แก่ “ความเชื่อเรื่องลางสังหรณ์” ส่วน ใหญ่ “ลางสังหรณ์” ที่ปรากฏในเรื่องจะเป็นลางร้าย มากกว่า ลางดี เช่น นางวันทองเห็นแมงมุมกําลังทุ่มอก

ตัวเอง เมื่อคราวที่ พลายงามกําลังจะถูกขุนช้างฆ่าอยู่กลางป่า หรือตอนที่ขุนแผนกําลังจะเอาดาบฟันขุนช้าง ขณะที่ขุนช้างนอนหลับอยู่ ก็มีจิ้งจกร้องทักขึ้น ขุนแผนจึงได้สติมิได้ฆ่าขุนช้าง ตัวอย่าง เสภา ตัวอย่าง ลาง ร้ายที่เณรพลายแก้วเจองู ความว่า

ก้าวลงอัฒจันทร์ถึงชั้นล่าง งูเห่าหางเลื้อยฟชหัวร่อน

แผ่แม่เบี้ยขวางหนทางจร เณรเห็นสังหรณ์เป็นลางร้าย

 4.4.3 ไสยศาสตร์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1.ไสยขาว เป็นไสยศาสตร์ที่มิได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น เช่น การดูเมฆเพื่อหาฤกษ์ยาม

2.ไสยดํา จัดเป็นเดรัจฉานวิชา เป็นไสยศาสตร์ที่มุ่งทําร้ายผู้อื่น สําหรับ ไสยศาสตร์ประเภทนี้ที่ ปรากฏในเรื่อง ได้แก่ การทําเสน่ห์ โดยเฉพาะ “การฝังรูปฝังรอย” เช่น ตอนที่เถนขวาคทําเสน่ห์ให้พลายงาม มารักนางสร้อยฟ้า ภรรยาน้อย เป็นต้น

4.4.4 เครื่องราง เช่น ผ้าซิ่น หรือ ตะกรุด ก็เช่นเดียวกัน เรามักพบหลักฐานเกี่ยวกับการ "ใช้" ตะกรุด และเครื่องราง ในงานวรรณกรรมไทยหลายต่อหลายเรื่อง เช่น ขุนช้างขุนแผน

4.4.5 พุทธศาสนา ที่ปรากฏในเรื่องขุนช้างขุนแผนนั้น ชาวบ้านมีความเคารพในพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เช่น การทําบุญฟังเทศน์ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ดังนั้น จึงมีคําสอนที่ สอดแทรกอยู่พิธีกรรมทางศาสนา ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน อยู่มากมาย

4.4.6 ความเชื่อในอํานาจพระมหากษัตริย์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นถือว่า พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ ทรงมีอํานาจสูงสุดในการปกครองบ้านเมืองและทรงตัดสินคดีความต่างๆ หากมีผู้ถวายฎีกา รวมทั้งสามารถให้คุณให้โทษแก่ทุกคนได้ ทําให้พสกนิกรมีทั้งความจงรักภักดี ความกลัว เกรง และความเชื่อในอํานาจของพระมหากษัตริย์ ตัวละครทุกตัวในเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้าง ถวายฎีกา ล้วนมีความเชื่อในอํานาจของพระมหากษัตริย์ ทั้งพลายงาม นางวันทอง ขุนแผน และขุนช้าง แส คงความเชื่อทางด้านนี้ชัดเจนที่สุด

 

 4.5 ภูมิปัญญา

4.5.1 ด้านภาษาและคําสอน การเขียนวรรณกรรมขุนช้างขุนแผนนี้ขึ้นเป็นการถ่ายทอดความคิด เป็น การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อรสชาติทางภาษา เพื่อจูงใจเพื่อความติดใจและประทับใจ ทําให้ผู้อ่าน สามารถสังเกต จดจํานําไปใช้ก่อให้เกิดการใช้ภาษาที่ดี ทั้งการใช้คํา การใช้ประโยค การใช้โวหาร การใช้ ภาษาในบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นตัวอย่างที่ดีที่คนไทยยึดถือและจดจําได้อย่างขึ้นใจ เช่น สํานวน คํา ให้พร คําสู่ขวัญ การเปรียบเปรย อุปมาอุปไมย คําคม และสุภาษิต ตอนที่ นางทองประศรีสอนสั่งขุนแผน ก่อนไปรับราชการในวัง เป็นสุภาษิตสอนใจ ความว่า

“จงอุตส่าห์อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ฝึกหัดราชการให้จงได้” 

บทเสภา ตอนที่ขุนแผนต่อว่านางวันทอง เป็นการเปรียบเปรยว่า กา คือ นางวันทอง

“เมื่อแรกเชื่อว่าเป็นเนื้อทับทิมแท้ มาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้ 

กาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา”

4.5.2 ด้านกฎหมาย ในสมัยก่อนไม่มีตัวบทกฎหมายที่แน่นอน พอมีคดีความอะไรก็ต้องอาศัยพระราช วินิจฉัยของพระมหากษัตริย์ และก็ขึ้นอยู่กับพระอารมณ์ด้วย ดังบทเสภา ตอนที่สมเด็จพระพันวษาจะทรง ตัดสินคดีชิงชู้ระหว่างขุนช้างและขุนแผน ความว่า

“ครานั้นสมเด็จนเรนทร์สูร ฟังทูลตามคําลูกขุนว่า”

“วันทองส่งคืนขุนแผนไป ตามในพระราชกฤษฎีกา” 

4.5.3 ด้านการรักษาโรค ในบทเสภาได้กล่าวถึงว่าน ที่มีสรรพคุณที่ใช้เป็นยาในการรักษาโรค ดังเสภา ที่ว่า

“ถึงลาวคาดเครื่องอานกินว่านยา ถูกดาบมรณาลงคาคดิน”

 4.5.4 ด้านที่อยู่อาศัย “คุ้มขุนช้าง" เป็นเรือนไทยหลังใหญ่ สร้างตามบทพรรณนาเรือนของขุนช้างใน วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน สะท้อนภาพถึงภาวะบ้านเรือนไทยของเศรษฐีไทยโบราณ ว่ามีรั้วรอบขอบดู แบ่งเป็นชั้นเป็นดอยอย่างไร มีไม้ประดับและเลี้ยงสัตว์อะไรบ้าง สถาปัตยกรรมอย่างเรือนไทยโบราณนั้นได้ แบ่งห้องหอเรือนนอน หอกลาง ชานดอกไม้ และโรงเรือนข้าทาสเอาไว้เป็นส่วน ที่นอกชานมักใช้ปลูกไม้ กระถาง วางอ่างน้ํา ปลูกตะโกคัดและบอนไซ ซึ่งคนแต่ก่อนนิยมปลูกต้นไม้ใส่กระถางไว้เชยชม ดังตัวอย่าง เสภาในหัวข้อภูมิปัญญาด้านการเกษตรที่กล่าวถึงนอกชานของเรือนขุนช้างไว้อย่างน่ารื่นรมย์

4.5.5 ด้านการเกษตร ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อไปลักพาตัวนางวัน ทองเมียรักกลับคืนมานั้น บรรยายบรรยากาศบนชานเรือนของขุนช้าง ซึ่งเป็นคหบดีเมืองสุพรรณไว้น่าดูนัก อ่านแล้วรู้สึกรื่นรมย์ มีไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกอยู่กลางชานเรือนของขุนช้าง อาทิเช่น พิกุล ยี่สุ่น ข่อย กุหลาบ มะลิซ้อน เป็นต้น ดังตัวอย่างจากบทเสภา ตอนที่ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อไปลักพาตัวนางวันทอง เมียรักกลับคืน ความว่า

“โจนลงกลางชานร้านดอกไม้ ของขุนช้างสร้างไว้อยู่ดาษดื่น”

 “กระถางแถวแก้วเกตพิกุลแกม ยี่สุ่นแซมมะสังคัดคูไสว” 

“ยี่สุ่นกุหลาบมะลิซ้อน ซ้อนชูชูกลิ่นถวิลหา”

“ลําดวนยวนใจให้ไคลคลา สายหยุดหยุดช้าแล้วยืนชม”

 “มะสังคัด” หรือบอนไซ ในปัจจุบัน มาอยู่บนเรือนดอกไม้แสดงว่าขุนช้างนั้นเล่น “บอนไซ” มาเก่า พอๆ กับคนญี่ปุ่น นอกจากนี้ก็มีเรือนแขวนกรงนกชนิดต่างๆ รวมทั้งเลี้ยงปลาพันธุ์สวยๆ งามๆ เอาไว้มาก สมฐานานุรูปของเศรษฐีไทยทุกระเบียด

4.5.6 ด้านเครื่องดนตรี บทเพลง และการละเล่น เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนทําศพนางวันทอง มี การละเล่นต่างๆ เช่น การละเล่นเพลงปรบไก่ ไว้ด้วยว่า

นายแจ้งก็มาเล่นเต้นปรบไก่ ยกไหล่ใส่ทํานองร้องจ่าฉ่า

 รําแต้แก้ไขกับยายมา เฮฮาครื้นครั่นสนั่นไป

เพลงปรบไก่ เป็นการละเล่นพื้นเมืองมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่า จะเก่าแก่กว่าเพลงพื้นบ้านประเภท อื่น ๆ ของภาคกลางผู้เล่นร้องโต้ตอบกันโดยยืนเป็นวงกลม มักร้องหยาบๆ สามารถเล่นเป็นเรื่องได้ เช่น เรื่องขุนช้างขุนแผน เพื่อบวงสรวงศาลประจําหมู่บ้านและทําพิธีขอฝน ชาวบ้านดอนข่อยไร่คาวังบัวที่ โยกย้ายไปอยู่ถิ่นอื่นจะกลับมาร่วมพิธีบวงสรวงศาลทุกปี เพราะเชื่อกันว่าถ้าใครไม่กลับมาบูชา ตนเองและ สมาชิกในครอบครัวจะประสบเหตุร้ายหรือเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งยังเชื่อว่าความทุกข์ร้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับคนใน หมู่บ้าน ตลอดจนโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เมื่อขอความช่วยเหลือจากหลวงพ่อปู่แล้วจะช่วยขจัดปัดเป่าความทุกข์ ร้อนทั้งหลายให้สิ้นไป ดังนั้นเมื่อผู้ใดเดือดร้อนจึงมักบนบานหลวงพ่อปู่เสมอและเมื่อพ้นทุกข์แล้วก็จะแก้ บนด้วยการเล่นเพลงปรบไก่มีเครื่องดนตรีที่ปรากฏในวรรณกรรม อาทิเช่น วงมโหรี ปีอ้อ ซอ แคน ฆ้องวง ระนาด ล้อ ดังตัวอย่าง จากบทเสภา ตอนที่ วงมโหรีในพิธีแต่งงานของพระไวยกับศรีมาลา ดังเสภา 

“จุดประทีปแสงประเทืองเรืองรอง มโหรีแซ่ซ้องประสานซอ” 

“ฆ้องวงหน่งหนอดสอดเสียงซอ ระนาคตอคลอดล้อบรรเลงลอย”

“ที่นักเลงขับร้องก็ตรองเตรียม เอี่ยมเคี้ยเพลี้ยแคนทั้งปีอ้อ 

มีวรรณกรรมตอนหนึ่งใช้เป็นเนื้อเพลงไทย ที่รู้จักกันมากที่สุดเพลงหนึ่ง ก็คือเพลงสุดสงวน มี ตัวอย่างเนื้อร้องจากบทเสภา ดังนี้

น้อยเอ๋ยเพราะน้อยฤาถ้อยคํา หวานฉ่จริงแล้วเจ้าแก้วเอ๋ย

เจ้าเนื้อหอมพร้อมชื่นดังอบเชย เงยหน้ามาจะว่าไม่อําพราง

 4.5.7 ด้านเครื่องนุ่งห่ม ที่ปรากฏในวรรณกรรม อาทิเช่น ผ้าซิ่น นุ่งยก ห่มส่าน ห่มสไบ เป็นเครื่องแต่ง กายของคนในสมัยนั้น การนุ่งยกถ้าเป็นคนที่มีฐานะหน่อยอย่างเช่นขุนช้างดังตัวอย่างจากบทเสภาก็จะนุ่งยก

ทอง

“บ้างมีทองของแห้งเครื่องแต่งตน เอาซุกซนซ่อนไว้ในผ้าซิ่น”

“ขุนช้างรับหม้อใหม่เข้าในห้อง นุ่งผ้ายกทองแล้วห่มส่าน” 

4.5.8 ด้านอาหารและเครื่องมือประกอบอาหาร ภูมิปัญญาที่ปรากฏในวรรณกรรมขุนช้างขุนแผน เกี่ยวกับอาหารและเครื่องมือประกอบอาหาร มีมากมาย เช่น ครก สาก หม้อข้าว หม้อแกง ปลาร้า ปลาแห้ง น้ําปลา ส้มลิ้ม การแช่อิ่มอาหาร ดังตัวอย่างจากบทเสภา ตอนที่ ราษฎรเมืองเชียงใหม่เก็บข้าวของย้ายไปกรุง ศรีอยุธยาหลังแพ้สงคราม

“บ้างเรื่อยกลักจักกระบอกกรอกปลาร้า ทั้งน้ําปลาปลาแดกเอาแทรกใส่ 

พริกกะเกลือเนื้อกวางเอาย่างไว้ บ้างเย็บได้ใส่ข้าวตากจัดหมากพลู

 ครกกระบากสากจ่าปลาร้าปลาแห้ง หม้อข้าวหม้อแกงกระทะหู”

“จึงเย็บได้ใส่ขนมกับส้มลิ้ม ทั้งแช่อิ่มจันอับลูกพลับหวาน”

 แกงบวน ที่ปรากฏในบทเสภา เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะนํา สมุนไพรหลายอย่างมาเป็นเครื่องปรุงและยังเป็นยารักษาโรคได้หลายอย่าง เช่น ใบขี้เหล็กเป็นยาระบาย

กระวานแก้ท้องร่วง ตะไคร้ขับลม ปัจจุบันมีการถ่ายทอดภูมิปัญญา วิธีการทําแกงบวน กันในครอบครัวบ้าง แต่ไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะแกงบวนเป็นอาหารคาวและมีรสเค็ม หวาน และไม่มีรสเผ็ด ซึ่งคนรุ่นหลังจะไม่

ชอบนิยม

“ทําน้ํายาแกงขมต้มแกง บ้างทําห่อหมกปกปิดไว้

ผ่าฟักจักแฟงพะแนงไก่ ต้มไข่ผัดปลาแห้งทั้งแกงบวน”

5 คุณค่าภูมิปัญญา 

5.1 ภูมิปัญญาที่มีแนวโน้มจะเลือนหายไปจากปัจจุบัน

- การทําคลอดโดยหมอตําแย เนื่องจากวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพมาก ทั้งตัว ยาที่มีคุณภาพหรือจํานวนหมอที่มีความสามารถมีมากขึ้น ดังนั้นหมอตําแยแบบโบราณ ซึ่งเป็นภูมิปัญาญา ท้องถิ่นจึงมีแนวโน้มที่จะเลือนหายไป หมอตําแยในอดีตสามารถเปรียบเปรยได้ว่าเป็นต้นแบบของตํารวจ ไทยในเรื่องของการทําคลอด ดังข่าวที่ตํารวจทําคลอดให้หญิงมีครรภ์ในรถแท็กซี่

- การโกนจุก ปัจจุบันแฟชั่นได้เข้ามามีอิทธิพลในสังคมสมัยใหม่เป็นอย่างมากพ่อแม่สมัยใหม่จึงไม่ นิยมให้ลูกไว้จุก เนื่องจากไม่ทันสมัย ดังนั้นเมื่อไม่มีเด็กไม่ไว้จุก พิธีการ โกนจุกจึงมีแนวโน้มที่จะเลือก หายไป

- การอยู่ไฟ เนื่องด้วยปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มากนั้น รวมถึงวิถีชีวิตที่เร่งรีบในการทํางาน ทําให้วิธีการอยู่ไฟของหญิงหลังคลอดในอดีตเรือนหายไป 

5.2 ภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่าง เช่น

- ประเพณีการบวช เพื่อให้ลูกผู้ชายได้บวชเรียน ศึกษาวิชาความรู้ ศึกษาพระธรรม ชําระจิตใจ - ประเพณีการตาย เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติว่าไม่ให้ทําชั่ว ตายไปก็เอาอะไรไปด้วยไม่ได้

- ประเพณีการแต่งงาน เป็นการทําพิธีเพื่อแสดงให้สังคมรับรู้ว่าชายหญิงได้เป็นสามีภรรยากันอย่าง ถูกต้องตามประเพณี นั่นคือกุศโลบายเพื่อประกาศว่าผู้ที่แต่งงานเป็นสามีภรรยากัน คนอื่นจะได้ไม่มาคิดผิด ลูกผิดเมีย

- การเลี้ยงบอนไซ เนื่องจากสามารถทํารายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ จึงมีการสืบทอดมาถึง ปัจจุบัน 

5.3 ภูมิปัญญาที่ควรส่งเสริมและพัฒนาเพื่อสร้างโอกาส

 5.3.1 ภูมิปัญญาจากวรรณกรรม ทางตรง ที่ควรส่งเสริมและพัฒนาเพื่อสร้างโอกาส

ส้มลิ้ม หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า ส้มแผ่น ควรพัฒนาในเรื่องของรูปแบบของตัวผลิตภัณฑ์และ มูลค่าเพิ่ม เช่น ทําเป็นวงกลมขนาดพอดีคําแล้วใส่ชาเขียวเพื่อสุขภาพ ห่อด้วยกระดาษแก้วทุกชิ้น รวมถึงคิด แพ็คเกจจิ้งที่มีดีไซน์ใหม่ ๆ ชวนให้น่าซื้อ ซึ่งจะเห็นได้จากรูปแบบของแพ็คเกจจิ้งของขนมญี่ปุ่นที่มีรูปแบบ สวยงามน่าซื้อบอนไซ เป็นศิลปะของการย่อส่วนต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่มาเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก โดยมี กิ่งก้านสาขารูปทรงเหมือนธรรมชาติเดิม มาปลูกในภาชนะที่มีขนาดแบนหรือเล็กที่เหมาะสมกับลําต้น ทํา

ให้ดูแล้วสัดส่วนเข้ากันดี เนื่องจากบอนไซเป็นศิลปะที่สวยงาม สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและ ครอบครัวได้

 5.3.2 ภูมิปัญญาจากวรรณกรรม ทางอ้อม ที่ควรส่งเสริมและพัฒนาเพื่อสร้างโอกาส

การเลี้ยงบอนสี เกิดจาการผูกเรื่องราวของบอนสีกับวรรณกรรมโดยการเชื่อมโยงบุคลิกตัวละคร จากวรรณกรรมให้ตรงตามลักษณะบอนสี ปัจจุบันบอนสายพันธุ์เก่า ๆ เช่น บอนในตระกูลขุนช้างขุนแผน ได้แก่บอนขุนแผน บอนขุนช้าง บอนเถรกวาด และบอนแก้วกิริยา เริ่มหายากมากขึ้น ดังนั้นการส่งเสริมการ เลี้ยงบอนสีในลักษณะการสะสมและอนุรักษ์ไม่ให้สูญพันธุ์ โดยโยงใยไปสู่การทําเป็นอาชีพ จนกลายเป็น อาชีพอย่างมั่นคงเพื่อส่งขายให้ทั้งภายในและต่างประเทศ จะเป็นการสร้างรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้

- ภาพวาด ของจักรพันธุ์ โปษยกฤต ส่วนใหญ่จะได้แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมไทย เรื่องขุนช้าง ขุนแผน ซึ่งนับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาทางด้านศิลป์ ที่ต่อยอดมาจากวรรณกรรมขุนช้างขุนแผน ซึ่งสามารถสร้าง โอกาสทางเศรษฐกิจได้

การจัดทัวร์สถานที่ทางภูมิศาสตร์ เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นสถานที่มีอยู่จริงๆ ในบ้านเมืองเรา จึงควร นํามาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในเชิงวรรณกรรม เช่น จัดทัวร์ เที่ยว.สุพรรณบุรี.ดินแดนกําเนิดวรรณกรรมขุน ช้าง-ขุนแผน ซึ่งมี วัดป่าเลไลยก์ คุ้มขุนช้าง ที่น่าดูชม

6. บทสรุป

การศึกษาเรื่องราวต่างๆ จากวรรณกรรมย่อมได้ข้อมูลที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยในอดีตได้ อย่างแท้จริง กระบวนวรรณกรรมไทยทั้งหมดเสภาขุนช้างขุนแผน สะท้อนให้เห็นถึงขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ความเชื่อ ศิลป การปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา การศาล ศาสนา การคมนาคม ภูมิศาสตร์ ความ เป็นอยู่ชีวิตในสังคมและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวัน ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายของคนไทยในระดับชั้น ธรรมดาสามัญ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นรูปธรรม คือ การทําพิธีกรรมต่างๆ ในช่วงที่มี การเปลี่ยนแปลงตามเหตุการณ์ที่สําคัญของชีวิต และในลักษณะที่เป็นนามธรรม คือ ความรู้ ความเชื่อ วิธีการประพฤติปฏิบัติตน เริ่มตั้งแต่ประเพณีการเกิด เป็นการทําพิธีเพื่อให้หญิงมีครรภ์คลอดลูกง่ายและ ปลอดภัยทั้งมารดาและทารก ประเพณีการทําขวัญ เป็นการทําพิธีเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลและเพื่อ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ประเพณีการโกนจุกเป็นการทําพิธีเพื่อเปลี่ยนสถานภาพจากวัยเด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ประเพณีการบวช เป็นการทําพิธีเพื่อให้เด็กผู้ชายได้ศึกษาวิชาความรู้และศีลธรรมจรรยาจากพระสงฆ์ที่วัด ประเพณีการแต่งงาน เป็นการทําพิธีเพื่อแสดงให้สังคมรับรู้ว่าชายหญิงได้เป็นสามีภรรยากันอย่างถูกต้อง ตามประเพณี และเป็นวิธีการสืบเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ให้คงอยู่ต่อไป ประเพณีการตาย เป็นการทําพิธี โดยมี จุดประสงค์เพื่อต้องการให้วิญญาณของผู้ตายไปสู่โลกหน้าอยู่มีความสุข ภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้สะท้อนให้ เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนอื่นๆ ในสังคมคนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติภูมิปัญญา

ท้องถิ่นจึงเป็นกระบวนการทางความคิดในการสร้างแบบแผนการดําเนินชีวิต เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจจิตใจของคนให้มั่นคง เข้มแข็ง เกิดความสบายใจและเพื่อประโยชน์ในการดําเนิน ชีวิตของมนุษย์ ให้สามารถอยู่รวมกันได้อย่างมั่นคงปลอดภัย และสงบสุข ข้อสําคัญ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ ปรากฏในวรรณกรรม ยังนํามาทําประโยชน์เพื่อการดํารงชีพ โดยสามารถโยงใยไปสู่การทําเป็นอาชีพ จน กลายเป็นอาชีพอย่างมั่นคงเพื่อส่งขายให้ทั้งภายในและต่างประเทศ นํามาซึ่งรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

7 รายการอ้างอิง

โกวิท ตั้งตรงจิตร. คุยเฟื่องเรื่องขุนช้างขุนแผน กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2547. ชวน เพชรแก้ว, การศึกษาวรรณกรรมไทย กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2524. ภิญโญ ศรีจําลอง, ความยิ่งใหญ่แห่งวรรณกรรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์, 2548. ม่าน เมืองพรหม. ขุนช้างขุนแผน กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์, 2543. วิเชียร เกษประทุม, เล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน กรุงเทพฯ : เรืองแสงการพิมพ์, 2513.

สายทิพย์ นุกูลกิจ, วรรณกรรมเกี่ยวกับขนบประเพณี กรุงเทพฯ : การพิมพ์พระนคร, 2533 เอกรัตน์ อุดมพร. วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-2-3 กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์, 2548.

 

Pages