วันจันทร์, เมษายน 19, 2564

หมวด ๘ การควบคุมและพนักงานเจ้าหน้าที่

หมวด ๘ การควบคุมและพนักงานเจ้าหน้าที่ 

  อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกระทําการตามมาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓

 

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจกระทําการเพื่อประโยชน์ในการสํารวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ การคุ้มครองสัตว์ป่า การบําบัดเยียวยาสัตว์ป่า การป้องกันหรือแก้ไขภยันตราย แก่ประชาชนหรือสัตว์ หรือเพื่อส่งเสริมกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า หรือเพื่อส่งเสริมกิจการสวนสัตว์ โดยต้อง ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

และให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ค่าบริการ หรือค่าตอบแทน และราคาสัตว์ป่าได้ตามอัตรา ที่กําหนดในระเบียบ ซึ่งอธิบดีกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ (มาตรา ๗๒ - มาตรา ๗๔)

ในกรณีที่บุคคลใดประสงค์จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการนอกเวลาราชการหรือนอกสถานที่ จะต้องจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเท่าอัตราของทางราชการ ค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายอื่นเท่าที่จําเป็นและจ่ายจริง ในการปฏิบัติงาน (มาตรา ๗๕)

การควบคุมผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรอง

๑) ในกรณีผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรอง ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ กฎกระทรวง หรือระเบียบตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หรือเงื่อนไขที่กําหนด ท้ายใบอนุญาตหรือใบรับรอง พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือให้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กําหนด (มาตรา ๗๖)

๒) หากผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรองไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเป็นหนังสือตามมาตรา ๗ ให้อธิบดี มีอํานาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือใบรับรอง มีกําหนดครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน นับแต่วันที่แจ้งให้ผู้รับใบอนุญาต หรือใบรับรองทราบ โดยอธิบดีจะเพิกถอนคําสั่งพักใช้ก่อนครบกําหนดก็ได้ เมื่อเหตุในการออกคําสั่งพักใช้ สิ้นสุด (มาตรา ๗๗)

๓) หากผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรองฝ่าฝืนคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือใบรับรอง ให้อธิบดี มีอํานาจเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับรองได้ (มาตรา ๗๘)

๔) ในกรณีที่อธิบดีมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับรอง ให้ผู้ถูกเพิกถอนที่มีสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าควบคุม หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว ดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ ถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับรอง

(๑) จําหน่าย จ่าย โอน แก่สวนสัตว์ที่ได้รับใบอนุญาต หรือสวนสัตว์ที่หน่วยงานของรัฐ จัดตั้งตามหน้าที่ (มาตรา ๗๙ (๑))

(๒) จําหน่าย จ่าย โอน สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ แก่ผู้ดําเนินกิจการเพาะพันธุ์ สัตว์ป่า (มาตรา ๗๙ (๒))

(๓) ขอรับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ หรือครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ หรือสัตว์ป่า ควบคุม (มาตรา ๗๙ (๓))

(๔) ขอรับใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว (มาตรา ๗๙ (๔))

(๕) แจ้งการครอบครองสัตว์ป่าควบคุม หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว (มาตรา ๗๙ (๕)) หน้าที่และอํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๘๑ – มาตรา ๔๒)

ในกรณีที่มีการกระทําฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้

๑) มีหนังสือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคํา หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อ ประกอบการพิจารณาดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๘๑ (๑)

๒) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลา ทําการของสถานประกอบการหรือสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบและควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๘๑ (๒))

๓) ตรวจค้นสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทําการของสถานที่นั้น ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้จะมีการยักย้าย ซุกซ่อน ส่ง หรือนําออกนอก ราชอาณาจักร หรือทําลายทรัพย์สิน วัตถุ สิ่งของ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด (มาตรา ๘๑ (๓))

๔) ยึดหรืออายัดสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า ผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า เอกสารหรือหลักฐาน หรือวัตถุใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ หรือดําเนินคดี (มาตรา ๘๑ (๔))

เมื่อมีการตรวจค้น ยึด หรืออายัดตาม ๓) หรือ ๔) แล้วแต่ยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จ พนักงาน เจ้าหน้าที่จะกระทําต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทําการของสถานที่นั้นก็ได้

๕) สั่งให้บุคคลงดเว้นการกระทําใด ๆ หรือสั่งให้ออกไปจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า (มาต

๖) สั่งเป็นหนังสือให้ผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ รื้อถอน นําเคลื่อนที่ ย้ายออกไป แก้ไข หรือทําประการอื่นใดแก่สิ่งปลูกสร้าง สิ่งที่เป็นอันตรายแก่สัตว์ป่า หรือสิ่งที่ทําให้เสื่อมสภาพ หรือสิ่งที่เป็นอันตรายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (มาตรา ๔๒ (๒))

๗) ยึด ทําลาย รื้อถอน แก้ไข หรือทําประการอื่น เมื่อผู้กระทําความผิดไม่ปฏิบัติตาม (๒) หรือไม่ปรากฏตัวผู้กระทําความผิด หรือรู้ตัวผู้กระทําความผิดแต่หาตัวไม่พบ (มาตรา ๔๒ (๓))

๔) ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหาย แก่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน (มาตรา ๘๒ (๔))

๔) กําหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ช่วยเหลือ ดูแล รักษา หรือจัดการอย่างหนึ่งอย่างใด แก่สัตว์ป่าซึ่งเป็นของกลางในคดีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดไว้ หรือสัตว์ป่าที่มีผู้ทอดทิ้ง หรือสัตว์ป่าที่พิการ บาดเจ็บ ป่วย อ่อนแอ รวมทั้งได้กําหนดให้สามารถส่งสัตว์ป่านั้นไปอยู่ในความดูแลรักษาของสวนสัตว์ สถานพยาบาลสัตว์ สถานสงเคราะห์สัตว์ หรือสถานที่ที่จัดไว้สําหรับใช้เลี้ยงดู ดูแลรักษาสัตว์ป่าก็ได้ (มาตรา ๘๖)

 

Pages