มาตรการคุ้มครองดูแลเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่ละแห่ง (มาตรา ๕๒)
๑) ให้หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่ละแห่งจัดทําแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่ละแห่ง เสนอต่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้ความเห็นชอบ
๒) เมื่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หัวหน้า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้นดําเนินการให้เป็นไปตามแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น
๓) ในการจัดทําแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต้องสอดคล้องกับ แผนแม่บทการบริหารจัดการการอนุรักษ์สัตว์ป่าและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามมาตรา ๔๕ (๓) และเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กําหนด โดยอย่างน้อยต้องประกอบ ด้วยการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน แนวทาง การอนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่า การดูแลและฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งหากินของสัตว์ป่า การคุ้มครอง และดูแลรักษาสภาพธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ และความหลากหลาย ทางชีวภาพในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น
ข้อห้ามเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (มาตรา ๕๓) ข้อห้ามล่าสัตว์ป่า เก็บหรือทําอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า หรือล่อหรือนําสัตว์ป่า ล่าสัตว์ป่า เก็บหรือทําอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า หรือล่อหรือนําสัตว์ป่าออกไป (มาตรา ๕๔) ข้อห้ามกระทําการในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
๑) กระทําให้หลักเขต ป้าย เครื่องหมายแสดงแนวเขต หรือเครื่องหมายอื่น ซึ่งพนักงาน เจ้าหน้าที่จัดให้มีตามพระราชบัญญัตินี้เคลื่อนที่ ลบเลือน เสียหาย สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ (มาตรา ๕๕ (๑))
๒) ยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือทําด้วยประการใดให้เสื่อมสภาพ หรือเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติเดิม (มาตรา ๕๕ (๒))
๓) เปลี่ยนแปลงทางน้ําหรือทําให้น้ําในลําน้ํา ลําห้วย หนอง บึง ท่วมท้น เดือดแห้ง เน่าเสีย หรือเป็นพิษ (มาตรา ๕๕ (๓))
๔) ปิดกั้นหรือทําให้กีดขวางแก่ทางน้ําหรือทางบก (มาตรา ๕๕ (๔))
๕) เก็บหา นําออกไป กระทําด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทําให้เสื่อมสภาพ ซึ่งไม้ ดิน หิน กรวด ทราย แร่ ปิโตรเลียม หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น หรือกระทําการอื่นใด อันส่งผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ หรือความหลากหลายทางชีวภาพ (มาตรา ๕๕ (๕))
๖) ปลูกต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น ๆ หรือนําหรือปล่อยสัตว์ทุกชนิดเข้าไป (มาตรา ๕๕ (๖))
ทั้งนี้ ในการอนุญาตดังกล่าวให้กระทําได้เฉพาะเพื่อการสํารวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ การถ่ายทําภาพยนตร์ วีดิทัศน์หรือสารคดี การถ่ายภาพ การศึกษาธรรมชาติ การบํารุงรักษาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน หรือเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน ไม่รบกวนการดํารงชีวิต ตามธรรมชาติของสัตว์ป่าเกินสมควร และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วย
อํานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการอนุญาตให้บุคคลกระทําการในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (มาตรา ๕๕ วรรคสอง)
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจอนุญาตให้บุคคลกระทําการใด ๆ ภายในบริเวณพื้นที่ที่กําหนด โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีดังต่อไปนี้
๑) ปิดกันหรือทําให้กีดขวางแก่ทางน้ําหรือทางบก (มาตรา ๕๕ (๔))
๒) เก็บหา นําออกไป กระทําด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทําให้เสื่อมสภาพ ซึ่งไม้ ดิน หิน กรวด ทราย แร่ ปิโตรเลียม หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น หรือกระทําการอื่นใด อันส่งผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ หรือความหลากหลายทางชีวภาพ (มาตรา ๕๕ (๕))
๓) ปลูกต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น ๆ หรือนําหรือปล่อยสัตว์ทุกชนิดเข้าไป (มาตรา ๕๕ (5)
อํานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกระทําการตามมาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๕ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (มาตรา ๕๖)
๑) ในกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนหรือมีเหตุฉุกเฉินที่เพื่อการป้องกันภยันตรายแก่บุคคล หรือชุมชน หรือเพื่อรักษาสภาพธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม หรือเพื่อป้องกันภัยพิบัติ อันเป็นสาธารณะ
๒) เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครอง ดูแลรักษา หรือบํารุงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือการสํารวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ หรือเพื่ออํานวยความสะดวกในการศึกษาธรรมชาติ หรือเพื่อ อํานวยความปลอดภัย หรือให้ความรู้แก่ประชาชนโดยทั่วไป
ในการนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจร้องขอให้เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือบุคคลอื่นช่วยเหลือในการ กระทําดังกล่าวก็ได้ โดยให้ถือว่าเป็นการกระทําของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒
การเก็บหาหรือใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดที่เกิดใหม่ทดแทน
เพื่อให้ประชาชนประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างสมดุลและยั่งยืนภายใต้วิธีการที่กฎหมายบัญญัติ จึงมีการเพิ่มเติม หลักการของพระราชบัญญัตินี้ให้ประชาชนสามารถเก็บหาหรือใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิด ที่เกิดใหม่ทดแทนได้โดยไม่กระทบต่อสภาพธรรมชาติและระบบนิเวศในพื้นที่เกินสมควร โดยหัวหน้าเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าจะต้องศึกษาข้อมูลทางวิชาการ วัฒนธรรม วิถีชุมชน และรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่ เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทําโครงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณา ให้ความเห็นชอบและได้รับอนุญาตจากอธิบดี (มาตรา ๕๗)