วันจันทร์, เมษายน 19, 2564

สรุปสาระสําคัญ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒


สรุปสาระสําคัญ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒

•••••••••••••••••••••••••••••••

๑. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้

โดยที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทําให้บทบัญญัติบางประการและมาตรการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในกฎหมายไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้อง กับสถานการณ์ปัจจุบันที่จะใช้เป็นเครื่องมือหรือเอื้ออํานวยต่อการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง ดูแลรักษา ฟื้นฟู สัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับ ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกในข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสัตว์ป่าและพืชป่าซึ่งมีผลทําให้ต้องปฏิบัติ ตามพันธกรณีภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศดังกล่าว เพื่อจัดให้มีมาตรการในการควบคุมการครอบครอง การค้า การนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า ตลอดจน การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่าให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 ๒. สาระสําคัญ

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ มีจํานวน ๑๒๑ มาตรา แบ่งออกเป็น ๙ หมวด ได้แก่ หมวด ๑ สัตว์ป่า (มาตรา ๖ - มาตรา ๓๒) หมวด ๒ สวนสัตว์ (มาตรา ๓๒ - ๓๘) หมวด ๓ คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (มาตรา ๓๙ - มาตรา ๔๖) หมวด ๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (มาตรา ๔๗ – ๕๗) หมวด ๕ เงินค่าบริการหรือเงินค่าตอบแทน (มาตรา ๕๘ – ๒๑) หมวด ๖ เขตห้ามล่า สัตว์ป่า (มาตรา ๖๒ – ๗๐) หมวด ๗ การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ (มาตรา ๗๑) หมวด ๘ การควบคุมและพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๗๒ - ๔๖) หมวด ๔ บทกําหนดโทษ (มาตรา ๘๗ - ๑๑๐) และบทเฉพาะกาล (มาตรา ๑๑๑ - ๑๒๑) โดยมีรายละเอียดที่สําคัญสรุปได้ ดังนี้

 

บทนิยาม (มาตรา ๔) กําหนดบทนิยามเพื่ออธิบายความหมายถ้อยคําที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น

“สัตว์ป่า” หมายความว่า สัตว์ทุกชนิดซึ่งโดยทั่วไปย่อมเกิดและดํารงชีวิตอยู่ในธรรมชาติ อย่างเป็นอิสระ และให้หมายความรวมถึงไข่และตัวอ่อนของสัตว์เหล่านั้นด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึง สัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ สัตว์ซึ่งได้รับการยอมรับในทางวิชาการว่าสายพันธุ์นั้น เป็นสัตว์บ้านไม่ใช่สัตว์ป่า และสัตว์ที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์ดังกล่าว

“ซากสัตว์ป่า” หมายความว่า ร่างกาย หรือส่วนของร่างของสัตว์ป่าที่ตายแล้วหรือเนื้อ ของสัตว์ป่า ไม่ว่าจะได้ปิ้ง ต้ม รม ย่าง ตากแห้ง หมัก ดอง หรือทําอย่างอื่นเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย และไม่ว่าจะ ชําแหละ แยกออก หรืออยู่ร่างของสัตว์ป่านั้น และให้หมายความรวมถึงเขา หนัง กระดูก กะโหลก ฟัน งา ขนาย นอ ขน เกล็ด เล็บ กระดอง เปลือก เลือด น้ําเหลือง น้ําเชื้อ หรือส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ป่าที่แยกออกจาก ร่างของสัตว์ป่าไม่ว่าจะยังมีชีวิตหรือตายแล้ว

“ผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า” ให้หมายความรวมถึงอนุพันธ์หรือสิ่งอื่นใดที่ได้มาจากสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าที่ตรวจสอบหรือจําแนกได้โดยเอกสารกํากับ บรรจุภัณฑ์ เครื่องหมาย ฉลาก หรืออื่น ๆ ว่าเป็นของสัตว์ป่าชนิดนั้น ๆ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

“เพาะพันธุ์” หมายความว่า ขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่นํามาเลี้ยงโดยวิธีผสมพันธุ์ และให้ หมายความรวมถึงขยายพันธุ์สัตว์ป่าด้วยวิธีผสมเทียม ย้ายฝากตัวอ่อน หรือโดยวิธีการอื่นใดซึ่งมีวัตถุประสงค์ ในการเพิ่มจํานวนสัตว์ป่าดังกล่าว

 “ค้า” หมายความว่า ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จําหน่าย จ่าย แจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงมีหรือแสดงไว้ซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์ จากซากสัตว์ป่าเพื่อการค้า การประกาศหรือโฆษณาหรือนําเสนอทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสื่อใด ๆ เพื่อการค้าด้วย

Pages