หมวด ๑ สัตว์ป่า สัตว์ป่า แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้
๑) สัตว์ป่าสงวน เป็นสัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์จําเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้ อย่างเข้มงวด มีจํานวน ๑๔ ชนิด ตามบัญชีสัตว์ป่าสงวนตามท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้แก่ กระซู่ กวางผา กูปรีหรือโคไพร เก้งหม้อ ควายป่า พะยุนหรือหมูน้ํา แมวลายหินอ่อน แรด ละองหรือละมั่ง เลียงผาหรือเยืองหรือกรําหรือโคร่ํา วาฬบรูด้า วาฬโอมูระ สมเสร็จ สมันหรือเนื้อสมัน นกกระเรียน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกแต้วแล้วท้องดํา เต่ามะเฟือง ปลาฉลามวาฬ (มาตรา ๔)
การกําหนดให้สัตว์ป่าชนิดใดเป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติมให้อธิบดีโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กระทําโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา ๖)
ในกรณีที่สัตว์ป่าสงวนชนิดใดมีจํานวนเพิ่มขึ้นจนไม่มีสภาพใกล้สูญพันธุ์และไม่จําเป็น ต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวดอีกต่อไป เพื่อให้สัตว์ป่าสงวนนั้นพ้นจากการเป็นสัตว์ป่าสงวน ให้อธิบดี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กระทําโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา ๖)
๒) สัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าชนิดที่มีความสําคัญต่อระบบนิเวศ หรือจํานวนประชากร ของสัตว์ป่าชนิดนั้นมีแนวโน้มลดลงอันอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ (มาตรา ๔)
การกําหนดให้สัตว์ป่าชนิดใดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ให้กําหนดในกฎกระทรวงโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (มาตรา ๗)
๓) สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ สมควรส่งเสริมให้มีการเพาะขยายพันธุ์เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ได้ (มาตรา ๔)
การกําหนดให้สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดใดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ ให้กําหนดโดย ประกาศของรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (มาตรา ๔)
๔) สัตว์ป่าควบคุม เป็นสัตว์ป่าชนิดที่ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญา CITES และสัตว์ป่าอื่น ที่ต้องมีมาตรการควบคุมที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการรักษาจํานวนประชากรของสัตว์ป่าอื่นนั้น (มาตรา ๔)
การกําหนดให้สัตว์ป่าชนิดใดเป็นสัตว์ป่าควบคุม ให้กําหนดโดยประกาศรัฐมนตรี (มาตรา ๔)
๕) กําหนดบทบัญญัติเพื่อรองรับสิทธิของบุคคลที่มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่า โดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งตรงกับชนิดของสัตว์ป่าสงวนที่กําหนดเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตาม ความในมาตรา ๖ วรรคสอง อยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ หรือตรงกับชนิดของสัตว์ป่า คุ้มครองที่กําหนดเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๗ อยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงดังกล่าว มีผลใช้บังคับ ให้มาแจ้งรายการเกี่ยวกับชนิดและจํานวนของสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่า ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในระยะเวลาที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประกาศกําหนด เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว หรือใบรับรองการครอบครองซากสัตว์ป่าสงวนหรือซากสัตว์ป่าคุ้มครองให้แก่บุคคลดังกล่าว หรือกรณี ไม่ประสงค์จะครอบครองให้จําหน่าย จ่าย โอน แก่ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ของรัฐ หรือเอกชน หากไม่สามารถดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ครอบครองยินยอม ให้ตกเป็นของแผ่นดิน (มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑)
การคุ้มครองสัตว์ป่า
๑) ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า กรณีกระทําด้วยความจําเป็นเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากอันตรายหรือเพื่อ สงวนหรือรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น และการล่านั้นได้กระทําพอสมควรแก่เหตุ ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ (มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓)
๒) ห้ามมิให้ผู้ใดเก็บ ทําอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่าสงวน เว้นแต่เป็น กรณีของผู้ที่มีสัตว์ป่าสงวนไว้ในครอบครองโดยถูกต้อง หรือรังของสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นรังของสัตว์ป่า คุ้มครองตามชนิดที่รัฐมนตรีกําหนดและโดยได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกรณีผู้ที่มีสัตว์ป่า คุ้มครองไว้ในครอบครองโดยถูกต้อง ข้อห้ามมิให้มีการเก็บ ทําอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่า สงวนและรังของสัตว์ป่าคุ้มครอง ไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตเก็บรังนกตามกฎหมายว่าด้วยอากรรังนก อีแอ่น (มาตรา ๑๔)
๓) ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือปล่อยเป็นอิสระซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือกระทําการใด ๆ ให้สัตว์ป่านั้นพ้นจากการดูแลของตน เว้นแต่ได้จําหน่าย จ่าย หรือโอนสัตว์ป่านั้นให้แก่ ผู้ที่สามารถครอบครองสัตว์ป่าดังกล่าวได้โดยชอบ หรือประสงค์จะส่งมอบให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมประมงดูแล โดยผู้ครอบครองต้องชําระค่าใช้จ่ายในการดูแลสัตว์ป่าแก่กรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมประมงแล้วแต่กรณี (มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖)
การครอบครองสัตว์ป่า
๑) ห้ามมีไว้ในครองครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว เว้นแต่ เป็นการครอบครองโดยผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ตามมาตรา ๓๓ หรือสวนสัตว์ ที่หน่วยงานของรัฐจัดตั้งตามหน้าที่ หรือเป็นการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ของผู้รับใบอนุญาต ดําเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าตามมาตรา ๒๘ ที่มีไว้เพื่อการเพาะพันธุ์หรือได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว (มาตรา ๑๗)
๒) การมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์หรือซาก สัตว์ป่าดังกล่าว ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี เว้นแต่เป็นการครอบครองตามใบอนุญาตค้าสัตว์ป่า โดยผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๐ เพื่อสร้างระบบตรวจสอบและติดตามว่าสัตว์ป่าดังกล่าวไม่ได้มาจากการล่า (มาตรา ๑๘)
๓) การมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าควบคุมเฉพาะชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดหรือซาก สัตว์ป่าดังกล่าว ให้แจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เว้นแต่เป็นการครอบครองตามใบอนุญาต ค้าสัตว์ป่าโดยผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๐ มาตรา ๑๙)
๔) กําหนดบทบัญญัติรองรับในกรณีที่มีการออกประกาศกําหนดชนิดสัตว์ป่าควบคุมที่ต้อง มีการแจ้งการครอบครองตามมาตรา ๑๔ ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กําหนดระยะเวลา ให้ผู้มีไว้ในครอบครองอยู่ก่อนวันที่ประกาศกําหนดชนิดสัตว์ป่าควบคุมจะมีผลใช้บังคับ แจ้งการครอบครอง ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อกําหนดให้บุคคลที่มีสัตว์ป่าควบคุมไว้ในครอบครองเข้าสู่ระบบกฎหมาย อย่างถูกต้อง (มาตรา ๒๐)
๕) มิให้นําความในมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ ใช้บังคับแก่การช่วยเหลือสัตว์ป่า ที่ถูกทอดทิ้ง บาดเจ็บ ป่วย หรืออ่อนแอ และได้แจ้งการช่วยเหลือสัตว์ป่านั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๒๑)