แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สถานที่สำคัญ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สถานที่สำคัญ แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์, ตุลาคม 22, 2555

พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

    พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ


พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ


พระมงคลมิ่งเมือง ประดิษฐาน ณ พุทธอุทยาน (เขาดานพระบาท)
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ               ระมงคลมิ่งเมือง เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ต่อจากองค์เดิมที่คณะฆ์และประชาชนได้ก่อเค้าโครงด้วยอิฐและหิน ประดิษฐานบนแท่นหินสูง ๔.๕๘ เมตร กว้าง ๕.๒๕ เมตร ยาว ๑๐.๑๐ เมตร และมติคณะกรรมการ โดยได้ออกแบบโครงสร้างใหม่ครอบองค์พระเดิม โดยขยายองค์พระให้ใหญ่ขึ้นเป็นแบบ ซึ่งได้อิทธิพลของสกุลศิลปะอินเดียเหนือปาละและแผ่มายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๖ และถือเป็นต้นแบบของสกุลศิลปะพระพุทธรูปแบบล้านช้าง และขานนามว่าเป็น "พระพุทธรูปปางมารวิชัย" นาม " พระมลคลมิ่งเมือง" ภายในพระอุระมีพระบรมสารีริกธาตุและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บรรจุไว้ พระมงคลมิ่งเมืองมีพระพักตร์ขนาด กว้าง ๒ เมตร วัดจากพระหนุ (หนุ แปลว่า คาง) ถึงยอดเปลวพระรัศมี ๖ เมตร ส่วนสูงวัดจากพื้นดินระดับที่ต่ำที่สุดถึงยอดเปลวพระรัศมี สูง ๒๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๑๑ เมตร ฐานกว้าง ๘.๔๐ เมตร ความยาวฐาน ๑๒.๖๐ เมตร ความสูงวัดระดับพื้นดินต่ำสุด ๕.๒๐ เมตร มีโครงสร้างองค์พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยตลอดผิวนอกฉาบปูนบุด้วยกระเบื้องเสกสีทอง ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๗ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๗ คณะกรรมการมีมติให้ต่อเติมชานรอบฐานองค์พระ  ชานรอบฐานโดยรอบ ๓ ด้าน กว้างด้านละ ๔ เมตร ชานตรงบันไดด้านหน้ากว้าง ๖ เมตร ประกอบด้วย พุ่มและกระถางธูป บุด้วยกระเบื้องโมเสก ฐานด้านล่างเป็นหินอ่อนสีเทาและดำ
             ด้านหลัง พระมงคลมิ่งเมือง เป็นที่ประดิษฐานของ "พระละฮาย" พระพุทธรูปสลักด้วยหินทรายแดง ๒ องค์ แต่การสลักยังไม่แล้วเสร็จ มีพุทธลักษณะที่ประดิษฐ์ขึ้นในระยะตรงกับ สมัยทวาราวดีรุ่นหลัง อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๒ ทำการขุดค้นได้จากอ่างเก็บน้ำห้วยปลาแดก รวมทั้งใบเสมาหินทรายแดงใหญ่ ดังปรากฏในปัจจุบัน


พิธีมหาพุทธาภิเษก
         พระมงคลมิ่งเมือง ได้ก่อสร้างขึ้นจากคณะผู้ศรัทธาอันเป็นกุศลเจตนา โดยมี ฯพณฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นผู้อุปการระ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรงและสวยงามถูกต้องตามแบบวิชาการ และมุ่งหมายให้พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพุทธศิลปะประจำภาค ถูกต้องตามสายวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงเป็นที่บำเพ็ญธรรมของฝ่ายวิปัสสนาธุระและแหล่งทัศนาจร

         พระมงคลมิ่งเมือง ออกแบบโดย นายจิตร บัวบุศย์ ศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษา (สมัยนั้น)

         พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่  ๑ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๘ เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๔๖ นาฬิกา โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฐฎายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นประธาน ฝ่ายบรรพชิตและ ฯพณฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ "(คฤหัสถ์ (อ่านว่า คะรึหัด) แปลว่า ผู้มีเรือน, ผู้ครองเรือน, ผู้อยู่ในเรือน เรียกรวมทั้งชายและหญิง) ในครั้งนี้ได้จำลองพระมงคลมิ่งเมืองเป็นพระบูชาขนาดหน้าตัก ๖ นิ้วและ ๔ นิ้ว และเหรียญเข้าร่วมพิธีด้วย
             
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
   พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่  ๒ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๙ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา เป็นผลจากการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฉลองครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ประกอบกับโดยรอบองค์พระชำรุด กระเบื้องโมเสกผุกร่อน คณะกรรมการพัฒนาพระมงคลมิ่งเมืองและมูลนิธิพระมงคลมิ่งเมือง จึงมีมติบูรณะเพื่อเปลี่ยนกระเบื้องโมเสกใหม่และนำกระเบื้องโมเสกจัดสร้างพระพุทธรูปบูชามีขนาด ๙ นิ้ว ๗ นิ้ว ๕ นิ้ว ๓ นิ้ว และพระเครื่องขนาด ๑ นิ้ว ให้เช่าบูชา โดยเริ่มบูรณะเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๗ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๙ โดยมี  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรมหาเถระ) กรรมการมหาเถระสมาคม วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานครเป็นประธานฝ่ายบรรพชิต (บรรพชิต หมายถึง ผู้เว้นทั่ว, เว้นจากอกุศลโดยประการทั้งปวง)  และ นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์


คาถาบูชา พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
              คาถาบูชา พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ


วันเสาร์, ตุลาคม 13, 2555

ดอนเจดีย์ ที่ท่องเที่ยวเมืองสุพรรณบุรี

ดอนเจดีย์ ที่ท่องเที่ยวเมืองสุพรรณบุรี

อนุสรณ์ดอนเจดีย์ เมืองสุพรรณบุรี
อนุสรณ์ดอนเจดีย์ เมืองสุพรรณบุรี ถ่ายเมื่อ 13 ตุลาคม 2555
คตินิยมเรื่องการทำยุทธหัตถี
            การชนช้างถือเป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้กันตัวต่อตัวแพ้ชนะกันแต่ด้วยความคล่องแคล่วแกล้วกล้า กับชำนิชำนาญการขับขี่ช้างชน มิได้อาศัยกำลังรี่้พลหรือกลอุบายอย่างหนึ่งอย่างใด อีกประการหนึ่งในการทำยุทธสงครามที่จอมพลทั้งสองฝ่ายจะได้เข้าใกล้ชิดจนถึงชนช้างได้นั้นมีน้อย เพราะฉะนั้นกษัตริย์พระองค์ใดทำยุทธหัตถีมีชัยชนะก็ได้รับยกย่องว่ามีพระเกียรติยศอย่างสูงสุด ถึงผู้แพ้นั้นก็ยกย่องสรรเสริญกันว่าเป็นนักรบแท้
คตินิยมเรื่องการทำยุทธหัตถี ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
คตินิยมเรื่องการทำยุทธหัตถี ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี

             การจัดกระบวนทัพของไทยสมัยโบราณ
                    พลช้างนับเป็นกำลังสำคัญของกองทัพบกในการรบ เพราะใช้เป็นหน่วยประจัญบาน มีการจัดกระบวนแบ่งเป็นหมวด ดังนี้
                ๑.  ช้างดั้ง เดินอยู่กลางริ้วขบวนหน้า เป็นช้างที่นั่งละคอ
                ๒.  ช้างกัน เดินอยู่กลางริ้วขบวนหลัง เป็นช้างที่นั่งละคอ
                ๓.  ช้างแชก ทำหน้าที่ตรวจตราริ้วนอกสองข้าง ไม่มีควาญหลัง ทำหน้าที่สารวัตรช้าง
                ๔.  ช้างแซง เดินเป็นริ้วเรียงกันทั้งสองข้างตลอดแนว ไม่มีควาญหลังทำหน้าที่คล้ายสารวัตรช้าง
                ๕.  ช้างล้อมวัง มีหน้าที่แวดล้อมพระคชาธาร ผูกสัปคับโถง
                ๖.  ช้างค้ำและช้างค่าย หรือเรียกว่า "ช้างต้น" เดินอยู่วงในของช้างล้อมวัง ทำหน้าที่องครักษ์
                ๗.  ช้างพังคาสำหรับเจ้าพระยาเสนาบดี และเจ้าประเทศราชเป็นช้างผูกเครื่องมั่น
                ๘.  ช้างพระไชย ตั้งสัปคับหลังคากันยา สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปนำหน้าพระคชาธาร
                ๙.  พระคชาธาร ช้างทรงพระมหากษัตริย์
               ๑๐. พระที่นั่งกระโจมทองผูกสัปคับหลังกูบ ใช้เป็นพระที่นั่งรอง สำหรับประทับเวลารอนแรมไปในกองทัพ
               ๑๑. ช้างโคตรแล่น เป็นช้างสัปคับเดินอยู่ท้ายกระบวนช้าง แต่ในเวลาสงครามช้างโคตรแล่นจะเป็นช้างประจัญบาน เพราะเป็นช้างที่ดุร้ายที่สุด หากเป็นช้างยุทธหัตถี อาวุธที่เพิ่มขึ้นมา คือ หอกผูกผ้าแดง ๒ เล่มปืนใหญ่หันปลายออก ข้างขวา ๑ กระบอก ข้างซ้าย ๑ กระบอก มีนายทหารและพลทหารสวม เกราะโพกผ้า ตัวช้างที่เข้ากระบวทัพจะสวมเกราะตลอดกาย ใส่เกือกหรือรองเท้าเหล็กสำหรับกันขวากหนาม โดยใส่ทั้งสี่เท้า สวมหน้าราห์งาสองข้าง มีปลอกเหล็กสวมและเกราะโซ่ฟันงวงช้างเพื่อการจับกุมยื้อแย่งโคนค่ายประตูหอรบโดยไม่เจ็บปวด
              ลักษณะการใช้อาวุธบนหลังช้างแบบดังกล่าวนี้ยังคงใช้สืบเนื่องจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการจัดกองทัพอย่างตะวันตก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


อนุสรณ์ดอนเจดีย์ แหล่งท่องเที่ยว สุพรรณบุรี
อนุสรณ์ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี


อนุสรณ์ดอนเจดีย์ แหล่งท่องเที่ยว เมืองสุพรรณบุรี
อนุสรณ์ดอนเจดีย์ แหล่งท่องเที่ยว เมืองสุพรรณบุรี


รูปภาพแสดงยุทธหัตถี ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
รูปภาพแสดงยุทธหัตถี ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
ยุทธวิธีการรบของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
           สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้หลักการที่สำคัญดังนี้
๑. หลักการจู่โจม เลือกกระทำการโดยข้าศึกไม่รู้ตัว เช่น การเข้าตีค่ายพระยานครที่ปากน้ำพุทธเลา
๒. หลักความเป็นเบี้ยบน ตั้งปัญหาให้ข้าศึกแก้ ด้วยการออกรบก่อนไม่รอให้ข้าศึกเข้าทำการก่อน
๓. หลักการรวมกำลัง รวมกำลังให้มีกำลังเหนือข้าศึกเข้าทำการเฉพาะตำบล ถึงข้าศึกมีกำลังมากแต่แยกกันอยู่มาช่วยกันไม่ได้
๔. หลักการใช้ภูมิประเทศให้เป็นประโยชน์ เช่น ทรงตรวจภูมิประเทศก่อนวางแผนตีเมืองคัง
๕. หลักการบังคับบัญชา หรือ เอกภาพในการบังคับบัญชา คือ การเป็นผู้นำ ด้วยความกล้าหาญ เด็ดขาด มีวินัย ทรงนำทหารออกรบเอง สั่งประหารชีวิตพระยากำแพงเพชรให้เป็นตัวอย่างของความอ่อนแอ
๖. หลักการออมกำลัง ทรงใช้กองโจรซึ่งเป็นกำลังส่วนน้อยออกทำการอย่างกว้างขวางและได้ผล ขณะที่กำลังส่วนใหญ่คงพักอยู่ในพระนครเป็นการออมกำลัง กำลังรบจึงสดชื่นที่จะทำการแตกหักได้เฉพาะแห่ง
ยุทธวิธีการรบของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ยุทธวิธีการรบของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

วันจันทร์, เมษายน 16, 2555

พระปฐมเจดีย์ ปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

พระปฐมเจดีย์ ปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
องค์พระปฐมเจดีย์ นครปฐม
องค์พระปฐมเจดีย์

ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์โดยย่อ
 ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์โดยย่อ

      องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งสมณฑูตประกาศพระพุทธศาสนา นักปราชญ์ในทางโบราณคดี มีความเห็นพ้องต้องกันว่าพระโสณะเถระและพระอุตระเถระซึ่งเป็นสมณฑูต ได้เดินทางมาตั้งหลักฐานประกาศพุทธศาสนา ที่นครปฐมเป็นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ ๓ เดิมสร้างเป็นพระสถูปโบราณทรงบาตรคว่ำแบบเจดีย์อินเดียต่อมาได้ปฎิสังขรณ์เปลี่ยนแปลงรูปไป
       เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงผนวชได้เสด็จธุดงค์มานมัสการทรงเห็นเป็นพระเจดีย์ยอดปรางค์ สูง ๔๒ วา เมื่อทรงลาผนวช ได้ทรงเสวยราชสมบัติแล้ว ในราว พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงโปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหญ่หุ้มองค์เดิมไว้สูง 120 เมตร พร้อมสร้างวิหารทิศและคตพระระเบียงโดยรอบ งานไม่ทันแล้วเสร็จ ก็เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดให้ปฎิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ จัดสร้างหอระฆังและประดับกระเบื้องจนสำเร็จรัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดให้ปฎิสังขรณ์พระวิหารหลวงเขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่าง ๆ ไว้ที่ผนังด้านใน ทรงโปรดให้รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือและสร้รางใหม่เพื่อประดิษฐาน
       "พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร"
    รัชกาลที่ ๗ ทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่ องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น ๑๒ ค่ำ ถึงวัน แรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ รวม ๙ วัน ๙ คืน โดยจัดเป็นประจำทุก ๆ ปี

Pages