บทเฉพาะกาล
๑) กําหนดวาระเริ่มแรกของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า โดยให้กรรมการ โดยตําแหน่งปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๑๑๑)
๒) กําหนดบทเฉพาะกาลรองรับสัตว์ป่าคุ้มครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้และสัตว์ป่า ชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดห้ามนําเข้าหรือส่งออกเดิม ให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ และสัตว์ป่าควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎหมายลําดับรองตามพระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ รวมทั้งได้กําหนดรองรับให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเดิม เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย (มาตรา ๑๑๒ และมาตรา ๑๑๔)
๓) กําหนดรองรับให้ผู้ซึ่งครอบครองวาฬบรูด้า วาฬโอมูระ เต่ามะเฟือง และปลาฉลามวาฬ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว แจ้งรายการเกี่ยวกับชนิดและจํานวนของสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่านั้นต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และดําเนินการตามที่พระราชบัญญัตินี้กําหนด เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ดังกล่าวไว้สําหรับการตรวจสอบต่อไป (มาตรา ๑๑๓)
๔) กําหนดรองรับการดําเนินการเกี่ยวกับการเตรียมการเพื่อกําหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเดิมให้ใช้ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ และให้การดําเนินการต่อไปเป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้คําขอเดิมที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคําขอ ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้อธิบดีเรียกเอกสารหรือหลักฐานประกอบคําขอตามที่พระราชบัญญัตินี้กําหนดได้ (มาตรา ๑๑๕ และมาตรา ๑๑๘)
๕) กําหนดรองรับกฎหมายลําดับรองที่มีอยู่เดิมให้เป็นอันใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีการออกกฎหมายลําดับรองใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มาตรา ๑๑๖)
๖) กําหนดรองรับสิทธิที่มีอยู่เดิม เช่น การอนุญาต ใบอนุญาต หนังสืออนุญาตต่าง ๆ อาชญาบัตร ประทานบัตร ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุ (มาตรา ๑๑๙)
๗) กําหนดให้โอนเงินรายได้เพื่อบํารุงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าที่มีอยู่เดิม มาเป็นเงินเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบํารุงรักษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือเพื่อ การอนุรักษ์และรักษาไว้ซึ่งแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งหากินของสัตว์ป่า (มาตรา ๑๒๐)
๘) กําหนดแนวทางการดําเนินการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีที่ดินทํากินและได้อยู่อาศัย หรือทํากินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าที่มีมาก่อนวันที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ใช้บังคับ โดยใช้แนวทางคัดกรองบุคคลภายใต้กรอบเวลาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ หรือตามคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๖/๒๕๕๗ เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงาน สําหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราว ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องสํารวจการถือครองที่ดินของประชาชนให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้
ใช้บังคับ ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่าจัดทําโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และบุคคลที่อยู่อาศัย หรือทํากินในเขตพื้นที่โครงการเพื่อการดํารงชีพอย่างเป็นปกติธุระผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ (มาตรา ๑๒๑) ๓. ผู้รักษาการตามกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๕) ๔. วันบังคับใช้
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๗๑ ก หน้า ๑๐๔ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อย แปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒) (มาตรา ๒)
กองนิติการ กลุ่มงานกฎหมาย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช