วันจันทร์, ตุลาคม 22, 2555

พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

    พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ


พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ


พระมงคลมิ่งเมือง ประดิษฐาน ณ พุทธอุทยาน (เขาดานพระบาท)
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ               ระมงคลมิ่งเมือง เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ต่อจากองค์เดิมที่คณะฆ์และประชาชนได้ก่อเค้าโครงด้วยอิฐและหิน ประดิษฐานบนแท่นหินสูง ๔.๕๘ เมตร กว้าง ๕.๒๕ เมตร ยาว ๑๐.๑๐ เมตร และมติคณะกรรมการ โดยได้ออกแบบโครงสร้างใหม่ครอบองค์พระเดิม โดยขยายองค์พระให้ใหญ่ขึ้นเป็นแบบ ซึ่งได้อิทธิพลของสกุลศิลปะอินเดียเหนือปาละและแผ่มายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๖ และถือเป็นต้นแบบของสกุลศิลปะพระพุทธรูปแบบล้านช้าง และขานนามว่าเป็น "พระพุทธรูปปางมารวิชัย" นาม " พระมลคลมิ่งเมือง" ภายในพระอุระมีพระบรมสารีริกธาตุและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บรรจุไว้ พระมงคลมิ่งเมืองมีพระพักตร์ขนาด กว้าง ๒ เมตร วัดจากพระหนุ (หนุ แปลว่า คาง) ถึงยอดเปลวพระรัศมี ๖ เมตร ส่วนสูงวัดจากพื้นดินระดับที่ต่ำที่สุดถึงยอดเปลวพระรัศมี สูง ๒๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๑๑ เมตร ฐานกว้าง ๘.๔๐ เมตร ความยาวฐาน ๑๒.๖๐ เมตร ความสูงวัดระดับพื้นดินต่ำสุด ๕.๒๐ เมตร มีโครงสร้างองค์พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยตลอดผิวนอกฉาบปูนบุด้วยกระเบื้องเสกสีทอง ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๗ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๗ คณะกรรมการมีมติให้ต่อเติมชานรอบฐานองค์พระ  ชานรอบฐานโดยรอบ ๓ ด้าน กว้างด้านละ ๔ เมตร ชานตรงบันไดด้านหน้ากว้าง ๖ เมตร ประกอบด้วย พุ่มและกระถางธูป บุด้วยกระเบื้องโมเสก ฐานด้านล่างเป็นหินอ่อนสีเทาและดำ
             ด้านหลัง พระมงคลมิ่งเมือง เป็นที่ประดิษฐานของ "พระละฮาย" พระพุทธรูปสลักด้วยหินทรายแดง ๒ องค์ แต่การสลักยังไม่แล้วเสร็จ มีพุทธลักษณะที่ประดิษฐ์ขึ้นในระยะตรงกับ สมัยทวาราวดีรุ่นหลัง อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๒ ทำการขุดค้นได้จากอ่างเก็บน้ำห้วยปลาแดก รวมทั้งใบเสมาหินทรายแดงใหญ่ ดังปรากฏในปัจจุบัน


พิธีมหาพุทธาภิเษก
         พระมงคลมิ่งเมือง ได้ก่อสร้างขึ้นจากคณะผู้ศรัทธาอันเป็นกุศลเจตนา โดยมี ฯพณฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นผู้อุปการระ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรงและสวยงามถูกต้องตามแบบวิชาการ และมุ่งหมายให้พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพุทธศิลปะประจำภาค ถูกต้องตามสายวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงเป็นที่บำเพ็ญธรรมของฝ่ายวิปัสสนาธุระและแหล่งทัศนาจร

         พระมงคลมิ่งเมือง ออกแบบโดย นายจิตร บัวบุศย์ ศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษา (สมัยนั้น)

         พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่  ๑ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๘ เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๔๖ นาฬิกา โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฐฎายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นประธาน ฝ่ายบรรพชิตและ ฯพณฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ "(คฤหัสถ์ (อ่านว่า คะรึหัด) แปลว่า ผู้มีเรือน, ผู้ครองเรือน, ผู้อยู่ในเรือน เรียกรวมทั้งชายและหญิง) ในครั้งนี้ได้จำลองพระมงคลมิ่งเมืองเป็นพระบูชาขนาดหน้าตัก ๖ นิ้วและ ๔ นิ้ว และเหรียญเข้าร่วมพิธีด้วย
             
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
   พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่  ๒ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๙ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา เป็นผลจากการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฉลองครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ประกอบกับโดยรอบองค์พระชำรุด กระเบื้องโมเสกผุกร่อน คณะกรรมการพัฒนาพระมงคลมิ่งเมืองและมูลนิธิพระมงคลมิ่งเมือง จึงมีมติบูรณะเพื่อเปลี่ยนกระเบื้องโมเสกใหม่และนำกระเบื้องโมเสกจัดสร้างพระพุทธรูปบูชามีขนาด ๙ นิ้ว ๗ นิ้ว ๕ นิ้ว ๓ นิ้ว และพระเครื่องขนาด ๑ นิ้ว ให้เช่าบูชา โดยเริ่มบูรณะเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๗ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๙ โดยมี  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรมหาเถระ) กรรมการมหาเถระสมาคม วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานครเป็นประธานฝ่ายบรรพชิต (บรรพชิต หมายถึง ผู้เว้นทั่ว, เว้นจากอกุศลโดยประการทั้งปวง)  และ นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์


คาถาบูชา พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
              คาถาบูชา พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ


วันอาทิตย์, ตุลาคม 14, 2555

วิธีทดสอบคนดีที่สำคัญแปดประการ

วิธีทดสอบคนดีที่สำคัญแปดประการ


            ตำราพิชัยสงครามลิ่วเทา (หกยุทธวิธี) ซึ่งเขียนขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๓-๕ นั้น เป้นตำราโบราณที่เก่าแก่มากเล่มหนึ่ง เพราะได้ค้นพบตำราลิ่วเทาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมา (เป็นบันทึกในติ้วไม้ไผ่) ในพิชัยสงครามลิ่วเทา ได้แยกแยะหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยคนไว้เป็น ๘ ประการด้วยกัน คือ
      หนึ่ง  ถามเกี่ยวกับวิชาความรู้ เพื่อวัดความเข้าใจของเขาว่ามีมากน้อยเพียงใด
      สอง  ถามต่อไปให้ลึกถึงเหตุผลความเป็นมา และสังเกตดูว่าเขามีปฏิภาณโต้ตอบอย่างฉับไวหรือไม่
      สาม  ในขณะที่ใช้ให้เขาทำงาน หาสิ่งมาทดสอบมาล่อใจเขาดูว่าเป็นคนซื่อสัตย์หรือไม่
      สี่       พูดความลับออกมา เพื่อสังเกตความมีคุณธรรมของเขา
      ห้า     ให้เขาจัดการเรื่องทรัพย์สมบัติ ดูว่าเขาเป็นคนไว้ใจได้หรือไม่
      หก     ให้เขาเข้าใกล้สตรีเพศ ดูว่าเขายังคงเป็นตนเองได้หรือไม่
      เจ็ด    ให้เขาทำงานที่ยากลำบาก ดูว่าเขามีความกล้าหาญหรือไม่
     แปด    ให้เขากินเหล้าจนเมา ดูว่าเขาจะแสดงท่าทางอย่างไร

              หากนำหลักเกณฑ์ทั้งแปดประการมาเป็นเครื่องพิจารณาในการดูคน คงต้องใช้วิธีการมากมายเพื่อให้ทราบคุณสมบัติดังกล่าว แต่ถ้าอยากได้คนดีมีฝีมือมาใช้จริง ๆ อย่างน้อยการลองนำวิธีการเหล่านี้มาใช้สักสามสี่ข้อ ย่อมเป็นเรื่องที่สมควรและจำเป็นที่เดียว

Pages