แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระน่ารู้ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระน่ารู้ แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์, เมษายน 19, 2564

บทเฉพาะกาล

บทเฉพาะกาล

๑) กําหนดวาระเริ่มแรกของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า โดยให้กรรมการ โดยตําแหน่งปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๑๑๑)

๒) กําหนดบทเฉพาะกาลรองรับสัตว์ป่าคุ้มครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้และสัตว์ป่า ชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดห้ามนําเข้าหรือส่งออกเดิม ให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ และสัตว์ป่าควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎหมายลําดับรองตามพระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ รวมทั้งได้กําหนดรองรับให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเดิม เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย (มาตรา ๑๑๒ และมาตรา ๑๑๔)

๓) กําหนดรองรับให้ผู้ซึ่งครอบครองวาฬบรูด้า วาฬโอมูระ เต่ามะเฟือง และปลาฉลามวาฬ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว แจ้งรายการเกี่ยวกับชนิดและจํานวนของสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่านั้นต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และดําเนินการตามที่พระราชบัญญัตินี้กําหนด เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ดังกล่าวไว้สําหรับการตรวจสอบต่อไป (มาตรา ๑๑๓)

๔) กําหนดรองรับการดําเนินการเกี่ยวกับการเตรียมการเพื่อกําหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเดิมให้ใช้ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ และให้การดําเนินการต่อไปเป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้คําขอเดิมที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคําขอ ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้อธิบดีเรียกเอกสารหรือหลักฐานประกอบคําขอตามที่พระราชบัญญัตินี้กําหนดได้ (มาตรา ๑๑๕ และมาตรา ๑๑๘)

๕) กําหนดรองรับกฎหมายลําดับรองที่มีอยู่เดิมให้เป็นอันใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีการออกกฎหมายลําดับรองใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มาตรา ๑๑๖)

๖) กําหนดรองรับสิทธิที่มีอยู่เดิม เช่น การอนุญาต ใบอนุญาต หนังสืออนุญาตต่าง ๆ อาชญาบัตร ประทานบัตร ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุ (มาตรา ๑๑๙)

๗) กําหนดให้โอนเงินรายได้เพื่อบํารุงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าที่มีอยู่เดิม มาเป็นเงินเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบํารุงรักษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือเพื่อ การอนุรักษ์และรักษาไว้ซึ่งแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งหากินของสัตว์ป่า (มาตรา ๑๒๐)

๘) กําหนดแนวทางการดําเนินการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีที่ดินทํากินและได้อยู่อาศัย หรือทํากินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าที่มีมาก่อนวันที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ใช้บังคับ โดยใช้แนวทางคัดกรองบุคคลภายใต้กรอบเวลาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ หรือตามคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๖/๒๕๕๗ เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงาน สําหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราว ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องสํารวจการถือครองที่ดินของประชาชนให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้

ใช้บังคับ ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่าจัดทําโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และบุคคลที่อยู่อาศัย หรือทํากินในเขตพื้นที่โครงการเพื่อการดํารงชีพอย่างเป็นปกติธุระผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ (มาตรา ๑๒๑) ๓. ผู้รักษาการตามกฎหมาย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๕) ๔. วันบังคับใช้

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๗๑ ก หน้า ๑๐๔ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อย แปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒) (มาตรา ๒)

กองนิติการ กลุ่มงานกฎหมาย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

 

หมวด ๙ บทกําหนดโทษ

หมวด ๙ บทกําหนดโทษ

๑) กรณีก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า

- ผู้ใดกระทําการหรืองดเว้นกระทําการไม่ว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยมิชอบด้วย กฎหมาย และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาตินั้น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพด้วย (มาตรา ๘๗)

- ผู้ใดล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่นอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือนอกเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า ต้องชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาตินั้นด้วย (มาตรา ๘๔)

๒) กรณีกระทําต่อสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือสัตว์ป่าสงวน

- ผู้ใดล่าหรือค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า คุ้มครอง ตามมาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง)

- ผู้ใดล่า นําเข้า ส่งออก หรือค้าสัตว์ป่าสงวน ซากสัตว์ป่าสงวน หรือผลิตภัณฑ์ จากซากสัตว์ป่าสงวน ตามมาตรา ๑๒ มาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปี ถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๘๙ วรรคสอง)

๓) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนมาตรการ ควบคุมหรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๐ วรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๐)

๔) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง มาตรา ๒๒ วรรคสาม มาตรา ๒๓ วรรคสี่ มาตรา ๒๘ วรรคสอง มาตรา ๓๐ วรรคสอง หรือมาตรา ๓๓ วรรคสี หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ออกตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๕ วรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ (มาตรา ๙๑)

๕) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๕ (๓) ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๒)

๖) กรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๓๒ วรรคสอง หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ วรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๔๓)

๗) กรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๔)

๘) กรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนมาตรา ๕๕ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๕)

๙) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๖)

๑๐) กรณีไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (มาตรา ๙๗)

๑๑) กรณีไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๘๑ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองหมื่นบาท (มาตรา ๙๔)

๑๒) กรณีทําให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่ไปจากเดิมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

- ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทําด้วยประการใด ๆ ให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติไปจากเดิมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา ๕๕ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี หรือปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๙ วรรคหนึ่ง)

- ถ้าได้กระทําในพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ ๑ หรือพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ ๒ ตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด หรือพื้นที่เปราะบางของระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้กระทําต้องระวางโทษหนักกว่าโทษ ที่กฎหมายบัญญัติไว้อีกกึ่งหนึ่ง คือ จําคุกสูงสุดสามสิบปี หรือปรับสูงสุดสามล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๙ วรรคสอง)

๑๓) กรณีเก็บหา นําออกไป กระทําด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทําให้เสื่อมสภาพ ทรัพยากรธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

- ผู้ใดเก็บหา นําออกไป กระทําด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทําให้เสื่อมสภาพ ซึ่งไม้ ดิน หิน กรวด ทราย แร่ ปิโตรเลียม หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น หรือกระทําการอื่นใดอันส่งผลกระทบ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ หรือความหลากหลายทางชีวภาพ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๕ (๕) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๐ วรรคหนึ่ง)

- ถ้าเป็นการกระทําแก่ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ตามฤดูกาล และมีมูลค่ารวมกันไม่เกินสองพันบาท ผู้กระทําต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท (มาตรา ๑๐๐ วรรคสอง)

ถ้าเป็นการกระทําที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ที่เป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใด อย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร ผู้กระทํา ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท (มาตรา ๑๐๐ วรรคสาม)

๑๔) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๕๕ (๕) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๑)

๑๕) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๕๕ (๖) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท (มาตรา ๑๐๒ วรรคหนึ่ง)

- ถ้าเป็นการนําหรือปล่อยสัตว์ที่เป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ อย่างรุนแรงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๒ วรรคสอง)

๑๖) กรณีฝ่าฝืนกระทําการในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

- กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๖๗ (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกิน เจ็ดแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๓ วรรคหนึ่ง)

- กรณีที่การฝ่าฝืนมาตรา ๖๗ (๒) เป็นการกระทําแก่ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถ เกิดใหม่ทดแทนได้ตามฤดูกาลและมีมูลค่ารวมกันไม่เกินสองพันบาท ผู้กระทําต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ห้าพันบาท (มาตรา ๑๐๓ วรรคสอง)

๑๗) กรณีไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๘๒ (๑) ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๔ วรรคหนึ่ง)

- นอกจากต้องระวางโทษดังกล่าวแล้ว ผู้นั้นยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง (มาตรา ๑๐๔ วรรคสอง)

๑๘) กรณีไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๘๒ (๒) ต้องระวางโทษจําคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๕ วรรคหนึ่ง)

- นอกจากต้องระวางโทษดังกล่าวแล้ว ผู้นั้นยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง (มาตรา ๑๐๕ วรรคสอง)

๑๙) ความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือจําคุกไม่เกินหนึ่งปี ให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบได้ (มาตรา ๑๐๖)

๒๐) เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ให้พนักงานอัยการเรียกค่าเสียหายตามมาตรา ๘๗ หรือมาตรา ๘๔ ไปในคราวเดียวกัน (มาตรา ๑๐๗)

๒๑) ให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาล และให้ศาลมีอํานาจพิพากษาให้จ่ายเงินสินบนนําจับ แก่ผู้นําจับเป็นจํานวนไม่เกินกึ่งหนึ่งของจํานวนเงินค่าปรับตามคําพิพากษา ในกรณีที่มีผู้นําจับหลายคนให้แบ่ง เงินสินบนนําจับให้คนละเท่า ๆ กัน โดยการจ่ายเงินสินบนนําจับนั้นจะจ่ายได้เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว (มาตรา ๑๐๘)

๒๒) การจัดการของกลาง

- การริบทรัพย์สินที่ใช้กระทําความผิด กําหนดให้บรรดาไม้ ซากสัตว์ป่า หรือทรัพยากร ธรรมชาติอื่นใดที่มีอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ที่บุคคลได้มาจากการกระทําความผิด หรือซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าที่ได้มาจากการกระทําความผิด อาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ สิ่งปลูกสร้าง อุปกรณ์ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่ได้ใช้ในการกระทําความผิด หรือมีไว้ เพื่อใช้กระทําความผิดตามมาตรา ๕๕ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๗) หรือ (5) หรือมาตรา ๖๗ (๑) หรือ (๒) พนักงานอัยการมีอํานาจร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้นได้ โดยไม่ต้องคํานึงว่าเป็นของผู้กระทําความผิดและมี ผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาของศาลหรือไม่ (มาตรา ๑๐๙)

- การจัดการสัตว์ป่าของกลาง หรือสัตว์ป่าที่ตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามคําพิพากษาของศาล หรือสัตว์ป่าที่มีผู้ทอดทิ้ง หรือสัตว์ป่าที่พิการ บาดเจ็บ ป่วย อ่อนแอ ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ช่วยเหลือ ดูแล รักษา จําหน่าย ปล่อยสู่ธรรมชาติ ส่งคืนถิ่นกําเนิด โอน ทําลาย เอาไว้ใช้ ในราชการ หรือจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดแก่สัตว์ป่านั้นก็ได้ (มาตรา ๘๖)

๒๓) กรณีผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําผิดนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทําการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทําการจนเป็น เหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทําความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้นด้วย (มาตรา ๑๑๐)

 

หมวด ๘ การควบคุมและพนักงานเจ้าหน้าที่

หมวด ๘ การควบคุมและพนักงานเจ้าหน้าที่ 

  อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกระทําการตามมาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓

 

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจกระทําการเพื่อประโยชน์ในการสํารวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ การคุ้มครองสัตว์ป่า การบําบัดเยียวยาสัตว์ป่า การป้องกันหรือแก้ไขภยันตราย แก่ประชาชนหรือสัตว์ หรือเพื่อส่งเสริมกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า หรือเพื่อส่งเสริมกิจการสวนสัตว์ โดยต้อง ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

และให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ค่าบริการ หรือค่าตอบแทน และราคาสัตว์ป่าได้ตามอัตรา ที่กําหนดในระเบียบ ซึ่งอธิบดีกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ (มาตรา ๗๒ - มาตรา ๗๔)

ในกรณีที่บุคคลใดประสงค์จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการนอกเวลาราชการหรือนอกสถานที่ จะต้องจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเท่าอัตราของทางราชการ ค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายอื่นเท่าที่จําเป็นและจ่ายจริง ในการปฏิบัติงาน (มาตรา ๗๕)

การควบคุมผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรอง

๑) ในกรณีผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรอง ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ กฎกระทรวง หรือระเบียบตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หรือเงื่อนไขที่กําหนด ท้ายใบอนุญาตหรือใบรับรอง พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือให้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กําหนด (มาตรา ๗๖)

๒) หากผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรองไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเป็นหนังสือตามมาตรา ๗ ให้อธิบดี มีอํานาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือใบรับรอง มีกําหนดครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน นับแต่วันที่แจ้งให้ผู้รับใบอนุญาต หรือใบรับรองทราบ โดยอธิบดีจะเพิกถอนคําสั่งพักใช้ก่อนครบกําหนดก็ได้ เมื่อเหตุในการออกคําสั่งพักใช้ สิ้นสุด (มาตรา ๗๗)

๓) หากผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรองฝ่าฝืนคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือใบรับรอง ให้อธิบดี มีอํานาจเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับรองได้ (มาตรา ๗๘)

๔) ในกรณีที่อธิบดีมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับรอง ให้ผู้ถูกเพิกถอนที่มีสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าควบคุม หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว ดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ ถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับรอง

(๑) จําหน่าย จ่าย โอน แก่สวนสัตว์ที่ได้รับใบอนุญาต หรือสวนสัตว์ที่หน่วยงานของรัฐ จัดตั้งตามหน้าที่ (มาตรา ๗๙ (๑))

(๒) จําหน่าย จ่าย โอน สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ แก่ผู้ดําเนินกิจการเพาะพันธุ์ สัตว์ป่า (มาตรา ๗๙ (๒))

(๓) ขอรับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ หรือครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ หรือสัตว์ป่า ควบคุม (มาตรา ๗๙ (๓))

(๔) ขอรับใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว (มาตรา ๗๙ (๔))

(๕) แจ้งการครอบครองสัตว์ป่าควบคุม หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว (มาตรา ๗๙ (๕)) หน้าที่และอํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๘๑ – มาตรา ๔๒)

ในกรณีที่มีการกระทําฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้

๑) มีหนังสือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคํา หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อ ประกอบการพิจารณาดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๘๑ (๑)

๒) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลา ทําการของสถานประกอบการหรือสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบและควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๘๑ (๒))

๓) ตรวจค้นสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทําการของสถานที่นั้น ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้จะมีการยักย้าย ซุกซ่อน ส่ง หรือนําออกนอก ราชอาณาจักร หรือทําลายทรัพย์สิน วัตถุ สิ่งของ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด (มาตรา ๘๑ (๓))

๔) ยึดหรืออายัดสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า ผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า เอกสารหรือหลักฐาน หรือวัตถุใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ หรือดําเนินคดี (มาตรา ๘๑ (๔))

เมื่อมีการตรวจค้น ยึด หรืออายัดตาม ๓) หรือ ๔) แล้วแต่ยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จ พนักงาน เจ้าหน้าที่จะกระทําต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทําการของสถานที่นั้นก็ได้

๕) สั่งให้บุคคลงดเว้นการกระทําใด ๆ หรือสั่งให้ออกไปจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า (มาต

๖) สั่งเป็นหนังสือให้ผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ รื้อถอน นําเคลื่อนที่ ย้ายออกไป แก้ไข หรือทําประการอื่นใดแก่สิ่งปลูกสร้าง สิ่งที่เป็นอันตรายแก่สัตว์ป่า หรือสิ่งที่ทําให้เสื่อมสภาพ หรือสิ่งที่เป็นอันตรายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (มาตรา ๔๒ (๒))

๗) ยึด ทําลาย รื้อถอน แก้ไข หรือทําประการอื่น เมื่อผู้กระทําความผิดไม่ปฏิบัติตาม (๒) หรือไม่ปรากฏตัวผู้กระทําความผิด หรือรู้ตัวผู้กระทําความผิดแต่หาตัวไม่พบ (มาตรา ๔๒ (๓))

๔) ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหาย แก่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน (มาตรา ๘๒ (๔))

๔) กําหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ช่วยเหลือ ดูแล รักษา หรือจัดการอย่างหนึ่งอย่างใด แก่สัตว์ป่าซึ่งเป็นของกลางในคดีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดไว้ หรือสัตว์ป่าที่มีผู้ทอดทิ้ง หรือสัตว์ป่าที่พิการ บาดเจ็บ ป่วย อ่อนแอ รวมทั้งได้กําหนดให้สามารถส่งสัตว์ป่านั้นไปอยู่ในความดูแลรักษาของสวนสัตว์ สถานพยาบาลสัตว์ สถานสงเคราะห์สัตว์ หรือสถานที่ที่จัดไว้สําหรับใช้เลี้ยงดู ดูแลรักษาสัตว์ป่าก็ได้ (มาตรา ๘๖)

 

หมวด ๗ การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ

หมวด ๗ การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ

การเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่า สัตว์ป่า เพื่อการศึกษาหรือวิจัย (มาตรา ๗๑)

กําหนดให้การจัดเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์ไม้ หรือพันธุ์สัตว์ดังกล่าว รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เพื่อการศึกษาหรือวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ จะต้องได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ การแบ่งปันผลประโยชน์จากผลการศึกษาหรือวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น


หมวด ๖ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า การกําหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

หมวด ๖ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า การกําหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

๑) การกําหนดพื้นที่พื้นที่ที่ไม่เป็นที่ดินที่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ตามกฎหมายของบุคคลใด เว้นแต่เป็นที่ดินของหน่วยงานของรัฐ เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ให้รัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าประกาศกําหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตห้ามล่า สัตว์ป่า โดยทําเป็นประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีแผนที่แนบท้ายแสดงแนวเขต (มาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง)

๒) มาตรการบังคับหรือมาตรการคุ้มครองในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าให้เป็นไปตามที่ กําหนดในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ เว้นแต่กฎหมายอื่นจะได้กําหนดมาตรการ ในเรื่องดังกล่าวไว้ไม่ต่ํากว่ามาตรการที่กําหนดในพระราชบัญญัติ (มาตรา ๖๒ วรรคสอง)

๓) การกําหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ดูแลรักษา หรือมี หน่วยงานของรัฐได้รับอนุญาตหรือให้มีการใช้หรือทําประโยชน์ ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขอความเห็นจากหน่วยงานของรัฐนั้นก่อน โดยอนุโลม (มาตรา ๖๔ วรรคสอง)

๔) การขยายหรือการเพิกถอนเขตห้ามล่าสัตว์ป่าไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กระทําโดย ประกาศของรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และในกรณีที่เป็น การขยายหรือการเพิกถอนเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางส่วน ให้มีแผนที่แสดงแนวเขตที่เปลี่ยนแปลงไปแนบท้าย ประกาศด้วย (มาตรา ๖๔ วรรคหนึ่ง)

๕) ในการกําหนดให้พื้นที่บริเวณใดเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาดําเนินการ (มาตรา ๖๒ วรรคสาม) และให้ใช้บังคับกับการขยาย หรือการเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยอนุโลม (มาตรา ๖๔ วรรคสอง)

หลักเขต ป้าย เครื่องหมายแสดงแนวเขตเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (มาตรา ๖๕)

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องจัดให้มีหลักเขต ป้าย เครื่องหมายแสดง แนวเขตเขตห้ามล่าสัตว์ป่า และเครื่องหมายอื่นที่จําเป็น เพื่อให้ประชาชนทราบว่าเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า และอํานวยความสะดวกและให้ความรู้แก่ประชาชนด้วย โดยอนุโลม

การกําหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าครอบคลุมบริเวณสถานที่ที่ใช้ในราชการ (มาตรา ๖๖)

การกําหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าครอบคลุมบริเวณสถานที่ที่ใช้ในราชการ หน่วยงานของรัฐ และประชาชนยังคงมีสิทธิเข้าไปใช้ประโยชน์เขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้นได้ ตามแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่ ตามมาตรา ๖๘ แต่พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งให้งดเว้นการกระทําหรือสั่งให้ออกไปจากเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เป็นคราว ๆ ไปได้ หากการใช้ประโยชน์ดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสัตว์ป่าที่ห้ามล่า หรือระบบนิเวศของเขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้น

ข้อห้ามกระทําการในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (มาตรา ๖๗)

(๑) ล่าสัตว์ป่าชนิดหรือประเภทนั้น หรือเก็บหรือทําอันตรายแก่รังของสัตว์ป่านั้น เว้นแต่ จะกระทําเพื่อการสํารวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ และได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

(๒) ตัด โค่น แผ้วถาง เผา ทําลาย ต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น หรือทําลาย ทําให้เสื่อมสภาพ ขุด เก็บ ซึ่งแร่ ดิน หิน กรวด ทราย ลูกรัง ของป่า หรือทรัพยากรธรรมชาติใด ๆ หรือเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์ หรือสัตว์ป่า หรือเปลี่ยนแปลงทางน้ํา หรือทําให้น้ําในลําน้ํา ลําห้วย หนอง บึง ท่วมท้น หรือเดือดแห้ง เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

หรือเมื่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ประกาศอนุญาตไว้เป็นคราว ๆ ในเขตห้ามล่า สัตว์ป่าแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะ

แผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแต่ละแห่ง (มาตรา ๖๘)

๑) ให้หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแต่ละแห่งจัดทําแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่ละแห่ง เสนอต่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้ความเห็นชอบ

๒) เมื่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หัวหน้า เขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้นดําเนินการให้เป็นไปตามแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้น

๓) ในการจัดทําแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ต้องสอดคล้องกับ แผนแม่บทการบริหารจัดการการอนุรักษ์สัตว์ป่าและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามมาตรา ๔๕ (๓) และเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กําหนด โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วย การรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน แนวทาง การอนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่า การดูแลและฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งหากินของสัตว์ป่า การคุ้มครอง และดูแลรักษาสภาพธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ และความหลากหลาย ทางชีวภาพในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น

พื้นที่ควบคุมเพื่อการจัดการสัตว์ป่า

๑) พื้นที่ควบคุมเพื่อการจัดการสัตว์ป่า เป็นพื้นที่ที่อธิบดีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อการจัดการสัตว์ป่าชนิดหรือประเภทใดที่นอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าที่ก่อให้เกิด ผลกระทบหรือสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน หรือเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์หรือมี ความสําคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างยิ่ง (มาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง)

๒) ประกาศพื้นที่ควบคุมเพื่อการจัดการสัตว์ป่า มีกําหนดไม่เกิน ๒ ปี เว้นแต่กรณีมีความจําเป็น อธิบดีอาจประกาศขยายระยะเวลาได้คราวละไม่เกิน ๑๘๐ วัน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา ๗๐ วรรคสอง)

๓) หากพื้นที่ควบคุมเพื่อการจัดการสัตว์ป่ามีผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอยู่โดยชอบ ด้วยกฎหมาย ให้อธิบดีดําเนินการจ่ายค่าเสียหายหรือค่าชดเชยแก่ผู้นั้นด้วย (มาตรา ๗๐ วรรคสาม)

 

หมวด ๕ เงินค่าบริการหรือเงินค่าตอบแทน

หมวด ๕ เงินค่าบริการหรือเงินค่าตอบแทน การเรียกเก็บเงินค่าบริการหรือค่าตอบแทน (มาตรา ๕๘)

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะเรียกเก็บเงินค่าบริการหรือค่าตอบแทน เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาพการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ความปลอดภัย ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การให้บริการ และการอํานวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าก็ได้

การยกเว้นไม่ต้องนําเงินส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (มาตรา ๕๙)

เงินค่าบริการหรือเงินค่าตอบแทนที่เรียกเก็บได้ และเงินที่มีผู้บริจาค ไม่ต้องนําส่งคลัง เป็นรายได้แผ่นดิน และให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เก็บรักษาไว้เป็นเงินเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบํารุงรักษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

การใช้จ่ายเงินเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบํารุงรักษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้าม ล่าสัตว์ป่า (มาตรา ๖๐)

เงินเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบํารุงรักษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นําไปใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้

๑) ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริหารจัดการการอนุรักษ์สัตว์ป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่า สัตว์ป่า ให้เป็นไปตามแผนแม่บทที่คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่ากําหนดตามมาตรา ๔๕ (๓)

๒) การคุ้มครอง ดูแล บํารุงรักษา หรือฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือพื้นที่ซึ่งคณะกรรมการสงวนและคุ้มคราองสัตว์ป่าเห็นชอบให้เตรียมการ กําหนดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตลอดจนเป็นเงินช่วยเหลือและอุดหนุนกิจการใด ที่เกี่ยวกับการสนับสนุน ส่งเสริม และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตนั้น

๓) การบํารุงรักษาสถานที่ หรือการจัดหาสิ่งจําเป็นหรือเป็นประโยชน์ต่อการอํานวย ความสะดวก ความปลอดภัย การให้ความรู้ การศึกษาธรรมชาติของประชาชน

๔) ค่าใช้จ่ายในการทําลาย รื้อถอน หรือย้ายสิ่งปลูกสร้างหรือต้นไม้ ที่มีผู้กระทําความผิด ตามมาตรา ๘๒ (๓)

๕) การคุ้มครอง ดูแล รักษา หรือช่วยเหลือสัตว์ป่าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดไว้หรือสัตว์ป่า ที่ตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ หรือตามคําพิพากษาของศาล หรือสัตว์ป่าที่มีผู้ทอดทิ้ง หรือสัตว์ป่าที่พิการ บาดเจ็บ ป่วย หรือออ่อนแอ

5) การฝึกอบรม การศึกษา หรือการวิจัยของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ด้านสัตว์ป่าและการอนุรักษ์สัตว์ป่า

๗) เงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลือให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ หรืออาสาสมัคร ที่ได้รับอันตราย บาดเจ็บ เสียชีวิต หรือเป็นเงินช่วยเหลือในการต่อสู้คดีจากการปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครอง ดูแลรักษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือพื้นที่ซึ่งคณะกรรมการเห็นชอบให้เตรียมการกําหนด เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้

๔) การช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสัตว์ป่า

 

มาตรการคุ้มครองดูแลเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

มาตรการคุ้มครองดูแลเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่ละแห่ง (มาตรา ๕๒)

๑) ให้หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่ละแห่งจัดทําแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่ละแห่ง เสนอต่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้ความเห็นชอบ

๒) เมื่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หัวหน้า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้นดําเนินการให้เป็นไปตามแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น

๓) ในการจัดทําแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต้องสอดคล้องกับ แผนแม่บทการบริหารจัดการการอนุรักษ์สัตว์ป่าและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามมาตรา ๔๕ (๓) และเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กําหนด โดยอย่างน้อยต้องประกอบ ด้วยการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน แนวทาง การอนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่า การดูแลและฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งหากินของสัตว์ป่า การคุ้มครอง และดูแลรักษาสภาพธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ และความหลากหลาย ทางชีวภาพในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น

ข้อห้ามเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (มาตรา ๕๓) ข้อห้ามล่าสัตว์ป่า เก็บหรือทําอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า หรือล่อหรือนําสัตว์ป่า ล่าสัตว์ป่า เก็บหรือทําอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า หรือล่อหรือนําสัตว์ป่าออกไป (มาตรา ๕๔) ข้อห้ามกระทําการในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

๑) กระทําให้หลักเขต ป้าย เครื่องหมายแสดงแนวเขต หรือเครื่องหมายอื่น ซึ่งพนักงาน เจ้าหน้าที่จัดให้มีตามพระราชบัญญัตินี้เคลื่อนที่ ลบเลือน เสียหาย สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ (มาตรา ๕๕ (๑))

๒) ยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือทําด้วยประการใดให้เสื่อมสภาพ หรือเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติเดิม (มาตรา ๕๕ (๒))

๓) เปลี่ยนแปลงทางน้ําหรือทําให้น้ําในลําน้ํา ลําห้วย หนอง บึง ท่วมท้น เดือดแห้ง เน่าเสีย หรือเป็นพิษ (มาตรา ๕๕ (๓))

๔) ปิดกั้นหรือทําให้กีดขวางแก่ทางน้ําหรือทางบก (มาตรา ๕๕ (๔))

๕) เก็บหา นําออกไป กระทําด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทําให้เสื่อมสภาพ ซึ่งไม้ ดิน หิน กรวด ทราย แร่ ปิโตรเลียม หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น หรือกระทําการอื่นใด อันส่งผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ หรือความหลากหลายทางชีวภาพ (มาตรา ๕๕ (๕))

๖) ปลูกต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น ๆ หรือนําหรือปล่อยสัตว์ทุกชนิดเข้าไป (มาตรา ๕๕ (๖))

ทั้งนี้ ในการอนุญาตดังกล่าวให้กระทําได้เฉพาะเพื่อการสํารวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ การถ่ายทําภาพยนตร์ วีดิทัศน์หรือสารคดี การถ่ายภาพ การศึกษาธรรมชาติ การบํารุงรักษาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน หรือเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน ไม่รบกวนการดํารงชีวิต ตามธรรมชาติของสัตว์ป่าเกินสมควร และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วย

อํานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการอนุญาตให้บุคคลกระทําการในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (มาตรา ๕๕ วรรคสอง)

พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจอนุญาตให้บุคคลกระทําการใด ๆ ภายในบริเวณพื้นที่ที่กําหนด โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีดังต่อไปนี้

๑) ปิดกันหรือทําให้กีดขวางแก่ทางน้ําหรือทางบก (มาตรา ๕๕ (๔))

๒) เก็บหา นําออกไป กระทําด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทําให้เสื่อมสภาพ ซึ่งไม้ ดิน หิน กรวด ทราย แร่ ปิโตรเลียม หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น หรือกระทําการอื่นใด อันส่งผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ หรือความหลากหลายทางชีวภาพ (มาตรา ๕๕ (๕))

๓) ปลูกต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น ๆ หรือนําหรือปล่อยสัตว์ทุกชนิดเข้าไป (มาตรา ๕๕ (5)

อํานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกระทําการตามมาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๕ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (มาตรา ๕๖)

๑) ในกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนหรือมีเหตุฉุกเฉินที่เพื่อการป้องกันภยันตรายแก่บุคคล หรือชุมชน หรือเพื่อรักษาสภาพธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม หรือเพื่อป้องกันภัยพิบัติ อันเป็นสาธารณะ

๒) เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครอง ดูแลรักษา หรือบํารุงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือการสํารวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ หรือเพื่ออํานวยความสะดวกในการศึกษาธรรมชาติ หรือเพื่อ อํานวยความปลอดภัย หรือให้ความรู้แก่ประชาชนโดยทั่วไป

ในการนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจร้องขอให้เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือบุคคลอื่นช่วยเหลือในการ กระทําดังกล่าวก็ได้ โดยให้ถือว่าเป็นการกระทําของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒

การเก็บหาหรือใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดที่เกิดใหม่ทดแทน

เพื่อให้ประชาชนประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างสมดุลและยั่งยืนภายใต้วิธีการที่กฎหมายบัญญัติ จึงมีการเพิ่มเติม หลักการของพระราชบัญญัตินี้ให้ประชาชนสามารถเก็บหาหรือใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิด ที่เกิดใหม่ทดแทนได้โดยไม่กระทบต่อสภาพธรรมชาติและระบบนิเวศในพื้นที่เกินสมควร โดยหัวหน้าเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าจะต้องศึกษาข้อมูลทางวิชาการ วัฒนธรรม วิถีชุมชน และรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่ เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทําโครงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณา ให้ความเห็นชอบและได้รับอนุญาตจากอธิบดี (มาตรา ๕๗)

หมวด ๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การกําหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

หมวด ๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การกําหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

๑) การกําหนดพื้นที่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้มีแผนที่ แสดงแนวเขตซึ่งจัดทําด้วยระบบภูมิสารสนเทศหรือระบบอื่นซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันแนบท้ายพระราชกฤษฎีกา (มาตรา ๔๗ วรรคหนึ่ง)

๒) มาตรการบังคับหรือมาตรการคุ้มครองในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าให้เป็นไปตามที่ กําหนดในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ เว้นแต่กฎหมายอื่นจะได้กําหนดมาตรการ ในเรื่องดังกล่าวไว้ไม่ต่ํากว่ามาตรการที่กําหนดในพระราชบัญญัติ (มาตรา ๔๗ วรรคสอง)

ต) พื้นที่ที่จะกําหนดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จะต้องไม่เป็นที่ดินที่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมายของบุคคลใด เว้นแต่เป็นที่ดินของหน่วยงานของรัฐ (มาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง)

๔) การกําหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ดูแลรักษา หรือมี หน่วยงานของรัฐได้รับอนุญาตหรือให้มีการใช้หรือทําประโยชน์ ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขอความเห็นจากหน่วยงานของรัฐนั้นก่อน (มาตรา ๔๔ วรรคสอง)

๕) การขยายหรือเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ตราเป็น พระราชกฤษฎีกาและในกรณีที่เป็นการขยายหรือการเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบางส่วน ให้มีแผนที่ แสดงแนวเขตที่เปลี่ยนแปลงไปแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย (มาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง)

๖) ในการกําหนดให้พื้นที่บริเวณใดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาดําเนินการ (มาตรา ๔๔ วรรคสาม) และให้ใช้บังคับกับการขยาย หรือการเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยอนุโลม (มาตรา ๕๑ วรรคสอง)

พื้นที่เตรียมการกําหนดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ประกาศพื้นที่ที่ได้ ทําการสํารวจแล้วเห็นว่ามีความเหมาะสมจะกําหนดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นพื้นที่เตรียมการกําหนด เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้ (มาตรา ๔๔ วรรคสอง)

หลักเขต ป้าย เครื่องหมายแสดงแนวเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (มาตรา ๕๐)

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องจัดให้มีหลักเขต ป้าย เครื่องหมายแสดง แนวเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเครื่องหมายอื่นที่จําเป็น เพื่อให้ประชาชนทราบว่าเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอํานวยความสะดวกและให้ความรู้แก่ประชาชน

หมวด ๓ คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

หมวด ๓ คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

๑) องค์ประกอบคณะกรรมการของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มีจํานวน อย่างน้อย ๒๐ คน แต่ไม่เกิน ๒๒ คน ประกอบด้วย (มาตรา ๓๔)

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ - ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการ

- ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมศุลกากร เลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และผู้อํานวยการองค์การสวนสัตว์ เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนไม่น้อยกว่า ๕ คน แต่ไม่เกิน ๗ คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จากผู้ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ด้านสัตว์ป่า ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชุมชน หรือด้านกฎหมาย

- อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นกรรมการและเลขานุการ ๒) หน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มีดังนี้ (มาตรา ๔๕)

- พิจารณาให้ความเห็นชอบการกําหนดพื้นที่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า และการขยายหรือการเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

- เสนอแนะนโยบายและมาตรการที่จําเป็นเพื่อการคุ้มครองและดูแลรักษาสภาพธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า และพื้นที่ควบคุมเพื่อการ จัดการสัตว์ป่า

- ให้ความเห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการการอนุรักษ์สัตว์ป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

- กําหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อการอนุรักษ์และเพาะพันธุ์สัตว์ป่า การค้าสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า และการประกอบกิจการสวนสัตว์

- พิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการออกกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่พระราชบัญญัตินี้ กําหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

- ให้คําปรึกษาต่อรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับสัตว์ป่า และปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีมอบหมาย

- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นหน้าที่หรืออํานาจของคณะกรรมการสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า

- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางาน เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่มอบหมาย (มาตรา ๔๖)

หมวด ๒ สวนสัตว์

หมวด ๒ สวนสัตว์

 กระบวนการขอจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ และมาตรฐานการจัดการสวนสัตว์

๑) การจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี โดยยื่นเอกสาร โครงการจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ บัญชีรายการชนิดและจํานวนสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าที่มีหรือจะมี ไว้ในครอบครอง หลักฐานแสดงการได้มาซึ่งสัตว์ป่าดังกล่าว พร้อมด้วยแผนที่แบบแปลน และแผนผังของสวนสัตว์ โดยโครงการจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ และแบบแปลนและแผนผังของสวนสัตว์ต้องเป็นไปตาม มาตรฐานการจัดการสวนสัตว์ที่อธิบดีกําหนด ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าโครงการจัดตั้งและประกอบ กิจการสวนสัตว์ และแบบแปลนนั้นถูกต้องแล้ว ให้ออกหนังสือรับรองเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาขออนุญาต ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป (มาตรา ๓๓)

มาตรฐานการจัดการสวนสัตว์ อย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดการพื้นที่เลี้ยงและจัดแสดงสัตว์ (๒) การดูแลด้านโภชนาการ (๓) การสุขาภิบาล การบําบัดน้ําเสีย การกําจัดของเสีย และการควบคุมโรค (๔) การดูแลรักษาสัตว์ (๕) การจัดสวัสดิภาพสัตว์ (๖) ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย (๗) การปฏิบัติการและมาตรการฉุกเฉินต่าง ๆ (๘) แนวทางการให้ความรู้หรือการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์

๒) ในระหว่างการก่อสร้างสวนสัตว์ หากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมประมง หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ซึ่งสวนสัตว์นั้นตั้งอยู่ พบว่าการก่อสร้างไม่เป็นไปตามโครงการจัดตั้ง และประกอบกิจการสวนสัตว์ แบบแปลน และแผนผังที่ได้ยื่นประกอบการขอรับใบอนุญาต ให้กรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมประมง หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี สั่งให้ผู้ขอรับ ใบอนุญาตแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด เมื่อผู้ขอรับใบอนุญาตดําเนินการเสร็จแล้ว ให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องต่อไป ก่อนการเปิดให้บริการสวนสัตว์ ให้ผู้ขอรับ ใบอนุญาตแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการจัดตั้งสวนสัตว์ และแจ้งผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เมื่อเห็นว่าถูกต้องให้ออกใบอนุญาตแก่ผู้ขอรับใบอนุญาต หากพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ดําเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าอธิบดีมีคําสั่ง อนุญาตตามคําขอและต้องออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตนั้น (มาตรา ๓๔)

การควบคุมดูแลผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ในระหว่างประกอบ กิจการสวนสัตว์

๑) ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมประมง ควบคุมให้ผู้รับใบอนุญาต จัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดการสวนสัตว์ หากตรวจสอบพบว่า ผู้รับใบอนุญาตไม่ดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดการสวนสัตว์ หรือบริเวณภายในสวนสัตว์มีสภาพ ที่เป็นอันตรายหรือเดือดร้อนรําคาญแก่ประชาชนหรือก่อให้เกิดอันตรายหรือความทุกข์ทรมานแก่สัตว์ป่า ให้อธิบดีมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตปรับปรุงแก้ไขสภาพนั้นให้หมดไป ในกรณีสัตว์ป่า ที่อยู่ในครอบครองมีจํานวนเพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงหรือโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างสวนสัตว์ ให้ผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่แจ้งต่ออธิบดีเพื่อพิจารณาอนุญาตก่อนจึงจะดําเนินการได้ (มาตรา ๓๕)

๒) กรณีการประกอบกิจการสวนสัตว์แห่งใดได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ และผู้ได้รับใบอนุญาตถูกคําสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตฉบับใดฉบับหนึ่ง ให้มีผลเป็นการระงับการประกอบ กิจการสวนสัตว์ทั้งหมดเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ดําเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงให้เป็นไปตามที่อธิบดีกําหนด หรือให้มีผลเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตอีกฉบับหนึ่ง แล้วแต่กรณี (มาตรา ๓๖)

๓) การเลิกประกอบกิจการสวนสัตว์ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ แห่งใดประสงค์จะเลิกประกอบกิจการ ให้แจ้งเป็นหนังสือต่ออธิบดีทราบล่วงหน้าก่อนวันเลิกกิจการ ตามระเบียบที่อธิบดีกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และให้นําความใน มาตรา ๗๙ มาใช้บังคับแก่การดําเนินการกับสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าที่อยู่ในความครอบครองของผู้เลิกประกอบ กิจการสวนสัตว์ตามใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์แห่งนั้นให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วัน เลิกประกอบกิจการสวนสัตว์ โดยอนุโลม (มาตรา ๓๗)

๔) การดําเนินกิจการสวนสัตว์ที่หน่วยงานรัฐจัดตั้งตามหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าว แจ้งการจัดตั้งสวนสัตว์ต่ออธิบดีเพื่อให้มีการตรวจสอบก่อนการเปิดให้บริการสวนสัตว์ หากพบว่าการจัดตั้ง สวนสัตว์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดการสวนสัตว์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งหน่วยงานของรัฐแก้ไข หรือปรับปรุงภายในระยะเวลาที่กําหนด และเมื่อหน่วยงานของรัฐได้ดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน การจัดการสวนสัตว์แล้ว ให้มีหนังสือแจ้งให้หน่วยงานของรัฐดําเนินกิจการสวนสัตว์ได้ และเพื่อประโยชน์ ในการควบคุมและคุ้มครองสัตว์ป่า ให้สวนสัตว์ที่หน่วยงานของรัฐจัดตั้งตามหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ และจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าที่อยู่ในความครอบครองให้กรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมประมง ทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (มาตรา ๓๘)

 

Pages