วันพุธ, ตุลาคม 24, 2555

การจัดการขยะ โครงการต้นแบบดี ๆ

การจัดการขยะ โครงการต้นแบบดี ๆ

             ยังจำได้เมื่อตอนอยู่โรงเรียนปฐมที่ต่างจังหวัด คุณครูมักจะสอนให้เก็บขยะไว้ในกระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋ากางเกง ถ้าหากยังหาที่ทิ้งไม่ได้ พอกลับมาถึงบ้าน ตอนที่แม่ซักผ้าให้ มักจะโดนบ่นเป็นประจำ เพราะเก็บเศษลูกอมไว้ในกระเป๋าแล้วไม่ได้ทิ้ง แต่นั่นคือสิ่งดี ๆ ที่ติดตัวมาจนถึงปัจจุบันนี้
การจัดการขยะ การแยกประเภทของขยะ ถังขยะ             กำลังคิดว่าหากคนไทยทุกคนเก็บขยะไว้กับตัวเองก่อนที่จะเจอถังขยะแล้วค่อยทิ้ง บ้านเมืองเราก็คงจะน่าอยู่มิใช่น้อย แต่เดี๋ยวนี้คนไทย มักจะทิ้งออกนอกรถบ้าง ไม่ทิ้งลงถังขยะบ้าง เพราะคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ทั้งที่มันเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคนไทยทุกคน ....มีใครยังจำโครงการตาวิเศษได้บ้างหรือไม่ หากจำได้ผู้เขียนก็อยากให้นำกลับมารณรงค์กันอีกครั้ง อย่างน้อยก็ปลุกจิตสำนึกคนไทยก่อนที่จะทิ้งสิ่งของเหลือใช้หรือไม่จำเป็นออกเป็นไปภาระของคนอื่น ให้กลับมาคิดอย่างละเอียดถี่ถ้วนอีกครั้งถึงความเหมาะสม
              เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา (วันปิยมหาราช ปี พ.ศ.2555) ผู้เขียนได้ขับรถผ่านจังหวัดสระบุรี พักกินข้าวที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง รู้สึกสะดุดตากับถังขยะที่เรียงรายอย่างเป็นระเบียบ พร้อมกับติดป้ายความหมายของประเภทขยะต่าง ๆ ...คิดว่าทุกคนคงเคยเห็นถังขยะกันมาแล้วอย่างแน่นอน และก็เคยมีการรณรงค์ให้ช่วยกันทิ้งขยะให้ถูกประเภท แต่ก็คงมีหลายคนที่สงสัยเหมือนกันว่า ขยะที่เรากำลังจะทิ้ง มันอยู่ในประเภทไหนหว่า....(รวมถึงผู้เขียนด้วย...อิอิ.)
การจัดการขยะ ประเภทของขยะ ถังขยะ              การติดป้ายบอกประเภทและคำอธิบายสั้น ๆ เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ทำให้ทั้งผู้ทิ้งและผู้เก็บลดภาระในการแยกขยะอีกครั้ง อีกทั้งยังสามารถนำขยะนั้น ๆ ไปทำลายหรือไปรีไซเคิล (Recycle) ได้อย่างถูกวิธี นับว่าเป็นการปลูกจิตสำนึกของคนไทยไปในตัว อาจจะเป็นมุมเล็ก ๆ ที่คนทั่วไปไม่ได้สังเกต แต่ผู้เขียนอยากจะขอบคุณจุดเล็ก ๆ ของความคิดดี ๆ อันนี้....เพราะเราทุกคนต่างก็คงเห็นด้วยกันว่า "จุดเล็ก ๆ นี่แหละที่ทำให้ภาพใหญ่ ๆ สวยงาม"............ขอบคุณจริง ๆ ครับ


               ประเภทของขยะ

               ขยะย่อยสลายได้ คือ ขยะอินทรีย์ ได้แก่ เศษผัก เศษอาหาร และเปลือกผลไม้ หากทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทน(ก๊าซมีเทน เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความรุนแรงมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 23 เท่าตัวเลยทีเดียว และก็เป็นก๊าซที่มีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอยู่ในตอนนี้)
               
               ขยะรีไซเคิล คือ ขยะที่ขายได้ เพราะสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ได้แก่ กระดาษ พลาสติก โลหะขวดแก้วต่าง ๆ  (ข้อดีของแก้วคือสามารถใช้หลอมกี่รอบก็ได้โดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยน แทนที่จะหลอมเม็ดทรายก็หลอมแก้วแทน)

               ขยะอันตราย คือ ขยะที่ใช้แล้วต้องทิ้ง ได้แก่ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ เข็มฉีดยา หลอดไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ ซึ่งต้องกำจัดอย่างถูกวิธี

               ขยะทั่วไป คือ ขยะที่ใช้ประโยชน์ต่อไม่ได้ ได้แก่ เปลือกลูกอม ถุงขนม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติกที่เปื้อนอาหาร
             
ข้อสังเกต 
          หากไม่แน่ใจว่าขยะหรือบรรจุภัณฑ์ที่คุณถืออยู่เป็นขยะประเภทใด ให้มองรอบ ๆ หีบห่อบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เราจะทำการทิ้ง เพราะบางผลิตภัณฑ์จะมีสัญลักษณ์บ่งบอกประเภทขยะ ให้คุณแยกก่อนทิ้งได้ง่ายขึ้น
               

วันจันทร์, ตุลาคม 22, 2555

พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

    พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ


พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ


พระมงคลมิ่งเมือง ประดิษฐาน ณ พุทธอุทยาน (เขาดานพระบาท)
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ               ระมงคลมิ่งเมือง เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ต่อจากองค์เดิมที่คณะฆ์และประชาชนได้ก่อเค้าโครงด้วยอิฐและหิน ประดิษฐานบนแท่นหินสูง ๔.๕๘ เมตร กว้าง ๕.๒๕ เมตร ยาว ๑๐.๑๐ เมตร และมติคณะกรรมการ โดยได้ออกแบบโครงสร้างใหม่ครอบองค์พระเดิม โดยขยายองค์พระให้ใหญ่ขึ้นเป็นแบบ ซึ่งได้อิทธิพลของสกุลศิลปะอินเดียเหนือปาละและแผ่มายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๖ และถือเป็นต้นแบบของสกุลศิลปะพระพุทธรูปแบบล้านช้าง และขานนามว่าเป็น "พระพุทธรูปปางมารวิชัย" นาม " พระมลคลมิ่งเมือง" ภายในพระอุระมีพระบรมสารีริกธาตุและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บรรจุไว้ พระมงคลมิ่งเมืองมีพระพักตร์ขนาด กว้าง ๒ เมตร วัดจากพระหนุ (หนุ แปลว่า คาง) ถึงยอดเปลวพระรัศมี ๖ เมตร ส่วนสูงวัดจากพื้นดินระดับที่ต่ำที่สุดถึงยอดเปลวพระรัศมี สูง ๒๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๑๑ เมตร ฐานกว้าง ๘.๔๐ เมตร ความยาวฐาน ๑๒.๖๐ เมตร ความสูงวัดระดับพื้นดินต่ำสุด ๕.๒๐ เมตร มีโครงสร้างองค์พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยตลอดผิวนอกฉาบปูนบุด้วยกระเบื้องเสกสีทอง ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๗ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๗ คณะกรรมการมีมติให้ต่อเติมชานรอบฐานองค์พระ  ชานรอบฐานโดยรอบ ๓ ด้าน กว้างด้านละ ๔ เมตร ชานตรงบันไดด้านหน้ากว้าง ๖ เมตร ประกอบด้วย พุ่มและกระถางธูป บุด้วยกระเบื้องโมเสก ฐานด้านล่างเป็นหินอ่อนสีเทาและดำ
             ด้านหลัง พระมงคลมิ่งเมือง เป็นที่ประดิษฐานของ "พระละฮาย" พระพุทธรูปสลักด้วยหินทรายแดง ๒ องค์ แต่การสลักยังไม่แล้วเสร็จ มีพุทธลักษณะที่ประดิษฐ์ขึ้นในระยะตรงกับ สมัยทวาราวดีรุ่นหลัง อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๒ ทำการขุดค้นได้จากอ่างเก็บน้ำห้วยปลาแดก รวมทั้งใบเสมาหินทรายแดงใหญ่ ดังปรากฏในปัจจุบัน


พิธีมหาพุทธาภิเษก
         พระมงคลมิ่งเมือง ได้ก่อสร้างขึ้นจากคณะผู้ศรัทธาอันเป็นกุศลเจตนา โดยมี ฯพณฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นผู้อุปการระ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรงและสวยงามถูกต้องตามแบบวิชาการ และมุ่งหมายให้พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพุทธศิลปะประจำภาค ถูกต้องตามสายวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงเป็นที่บำเพ็ญธรรมของฝ่ายวิปัสสนาธุระและแหล่งทัศนาจร

         พระมงคลมิ่งเมือง ออกแบบโดย นายจิตร บัวบุศย์ ศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษา (สมัยนั้น)

         พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่  ๑ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๘ เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๔๖ นาฬิกา โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฐฎายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นประธาน ฝ่ายบรรพชิตและ ฯพณฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ "(คฤหัสถ์ (อ่านว่า คะรึหัด) แปลว่า ผู้มีเรือน, ผู้ครองเรือน, ผู้อยู่ในเรือน เรียกรวมทั้งชายและหญิง) ในครั้งนี้ได้จำลองพระมงคลมิ่งเมืองเป็นพระบูชาขนาดหน้าตัก ๖ นิ้วและ ๔ นิ้ว และเหรียญเข้าร่วมพิธีด้วย
             
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
   พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่  ๒ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๙ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา เป็นผลจากการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฉลองครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ประกอบกับโดยรอบองค์พระชำรุด กระเบื้องโมเสกผุกร่อน คณะกรรมการพัฒนาพระมงคลมิ่งเมืองและมูลนิธิพระมงคลมิ่งเมือง จึงมีมติบูรณะเพื่อเปลี่ยนกระเบื้องโมเสกใหม่และนำกระเบื้องโมเสกจัดสร้างพระพุทธรูปบูชามีขนาด ๙ นิ้ว ๗ นิ้ว ๕ นิ้ว ๓ นิ้ว และพระเครื่องขนาด ๑ นิ้ว ให้เช่าบูชา โดยเริ่มบูรณะเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๗ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๙ โดยมี  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรมหาเถระ) กรรมการมหาเถระสมาคม วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานครเป็นประธานฝ่ายบรรพชิต (บรรพชิต หมายถึง ผู้เว้นทั่ว, เว้นจากอกุศลโดยประการทั้งปวง)  และ นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์


คาถาบูชา พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
              คาถาบูชา พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ


Pages