แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระน่ารู้ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระน่ารู้ แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์, เมษายน 19, 2564

การนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านซึ่งสัตว์ป่า และด่านตรวจสัตว์ป่า

 การนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านซึ่งสัตว์ป่า และด่านตรวจสัตว์ป่า

๑) ห้ามมิให้ผู้ใดนําเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าสงวน ซากสัตว์ป่าสงวน หรือผลิตภัณฑ์จาก ซากสัตว์ป่าสงวน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี และเป็นการกระทําเพื่อกิจการสวนสัตว์ของผู้รับใบอนุญาต จัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ตามมาตรา ๓๓ หรือสวนสัตว์ที่หน่วยงานของรัฐจัดตั้งตามหน้าที่ (มาตรา ๒๒)

๒) การนําเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุม ซากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์ของซากสัตว์ป่าดังกล่าว ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี เว้นแต่เป็น ของใช้สอยส่วนตัวตามชนิด ประเภท และจํานวนที่อธิบดีกําหนด และการนําเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง จะกระทําได้เฉพาะกิจการสวนสัตว์ของผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการ สวนสัตว์ตามมาตรา ๓๓ หรือสวนสัตว์ที่หน่วยงานของรัฐจัดตั้งตามหน้าที่เท่านั้น (มาตรา ๒๓)

๓) การส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าที่มิใช่สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง และสัตว์ป่าควบคุม จะต้องมีใบรับรองการส่งออกตามความต้องการของประเทศปลายทาง หรือผู้นําเข้าหรือผู้ส่งออกผู้ใดประสงค์จะได้ใบรับรองการนําเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์ จากซากสัตว์ป่า อาจยื่นคําขอรับใบรับรองการนําเข้าหรือส่งออกต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ (มาตรา ๒๔)

๔) การนําผ่านซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุม ซากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว ต้องแจ้งการนําผ่านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจํา ด่านตรวจสัตว์ป่า รวมทั้งกําหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนําเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุม ซากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว เมื่อมีการนําเข้าหรือส่งออกแล้วให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจําด่านตรวจสัตว์ป่า โดยแสดงใบอนุญาต นําเข้าหรือส่งออก เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วจึงให้นําเคลื่อนที่ต่อไปได้ (มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๗)

๕) การตั้งด่านตรวจสัตว์ป่าและเขตความรับผิดชอบให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด (มาตรา ๒๖)

 

การดําเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า และการค้าสัตว์ป่า

๑) การดําเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ตามมาตรา ๘ หรือสัตว์ป่า ควบคุมตามมาตรา ๙ เฉพาะชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี (มาตรา ๒๘)

๒) ห้ามมิให้ผู้ใดค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากซาก สัตว์ป่าดังกล่าว (มาตรา ๒๙)

๓) การค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ตามมาตรา 4 สัตว์ป่าควบคุมตามมาตรา ๙ เฉพาะชนิด ที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ซากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว ต้องได้รับใบอนุญาต จากอธิบดี และในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตดําเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าตามมาตรา ๒๘ ประสงค์จะค้าสัตว์ป่า ดังกล่าวไม่ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตค้าสัตว์ป่าตามมาตรา ๓๐ แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของผู้รับใบอนุญาตค้า ที่กําหนดในกฎกระทรวง หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ถือเป็นเหตุพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ดําเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าตามมาตรา ๒๘ ด้วย (มาตรา ๓๐)

๔) กําหนดบทบัญญัติรองรับให้กรณีที่มีการออกประกาศกําหนดชนิดสัตว์ป่าควบคุมที่ต้อง ขอรับใบอนุญาตดําเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าตามมาตรา ๒๘ หรือขอใบอนุญาตค้าสัตว์ป่าตามมาตรา ๓๐ ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประกาศกําหนดระยะเวลาให้ผู้ดําเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า ควบคุม หรือค้าสัตว์ป่าควบคุม ซากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าวอยู่ก่อนวันที่ ประกาศกําหนดชนิดสัตว์ป่าควบคุมจะมีผลใช้บังคับ ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตดําเนินกิจการเพาะพันธุ์ หรือยื่นคําของรับใบอนุญาตค้าแล้วแต่กรณี (มาตรา ๓๑)

 

การดําเนินการต่อสัตว์ป่าอันตรายและซากสัตว์ป่าอันตราย

๑) สัตว์ป่าอันตราย เป็นสัตว์ป่าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือเป็นพิษต่อมนุษย์หรือสัตว์ป่าอื่น หรือมีผลคุกคามให้สัตว์ป่า พืชป่า สิ่งแวดล้อม หรือระบบนิเวศ เปลี่ยนแปลงเสียหายอย่างรวดเร็ว หรือเป็น พาหะนําโรคหรือแมลงศัตรูพืช (มาตรา ๔)

การกําหนดให้สัตว์ป่า ชนิด ประเภท หรือจํานวนใด เป็นสัตว์ป่าอันตรายให้กําหนด โดยประกาศของรัฐมนตรี (มาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง)

๒) ผู้ใดมีสัตว์ป่าอันตรายหรือซากสัตว์ป่าดังกล่าวไว้ในครอบครองต้องแจ้งต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่และปฏิบัติตามมาตรการควบคุมสัตว์ป่าอันตรายหรือซากสัตว์ป่าอันตรายตามระเบียบที่อธิบดีกําหนด กรณีมีความจําเป็นเพื่อคุ้มครองมนุษย์ สัตว์ป่า พืชป่า สิ่งแวดล้อม หรือระบบนิเวศ พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อาจมีคําสั่งให้ผู้ครอบครองกําจัด หรือทําลายสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่านั้น หรือส่งมอบสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่านั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อกําจัด หรือทําลายต่อไปโดยเร็ว (มาตรา ๓๒ วรรคสอง)

หมวด ๑ สัตว์ป่า

 หมวด ๑ สัตว์ป่า สัตว์ป่า แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้

๑) สัตว์ป่าสงวน เป็นสัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์จําเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้ อย่างเข้มงวด มีจํานวน ๑๔ ชนิด ตามบัญชีสัตว์ป่าสงวนตามท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้แก่ กระซู่ กวางผา กูปรีหรือโคไพร เก้งหม้อ ควายป่า พะยุนหรือหมูน้ํา แมวลายหินอ่อน แรด ละองหรือละมั่ง เลียงผาหรือเยืองหรือกรําหรือโคร่ํา วาฬบรูด้า วาฬโอมูระ สมเสร็จ สมันหรือเนื้อสมัน นกกระเรียน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกแต้วแล้วท้องดํา เต่ามะเฟือง ปลาฉลามวาฬ (มาตรา ๔)

การกําหนดให้สัตว์ป่าชนิดใดเป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติมให้อธิบดีโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กระทําโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา ๖)

ในกรณีที่สัตว์ป่าสงวนชนิดใดมีจํานวนเพิ่มขึ้นจนไม่มีสภาพใกล้สูญพันธุ์และไม่จําเป็น ต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวดอีกต่อไป เพื่อให้สัตว์ป่าสงวนนั้นพ้นจากการเป็นสัตว์ป่าสงวน ให้อธิบดี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กระทําโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา ๖)

๒) สัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าชนิดที่มีความสําคัญต่อระบบนิเวศ หรือจํานวนประชากร ของสัตว์ป่าชนิดนั้นมีแนวโน้มลดลงอันอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ (มาตรา ๔)

การกําหนดให้สัตว์ป่าชนิดใดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ให้กําหนดในกฎกระทรวงโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (มาตรา ๗)

๓) สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ สมควรส่งเสริมให้มีการเพาะขยายพันธุ์เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ได้ (มาตรา ๔)

การกําหนดให้สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดใดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ ให้กําหนดโดย ประกาศของรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (มาตรา ๔)

๔) สัตว์ป่าควบคุม เป็นสัตว์ป่าชนิดที่ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญา CITES และสัตว์ป่าอื่น ที่ต้องมีมาตรการควบคุมที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการรักษาจํานวนประชากรของสัตว์ป่าอื่นนั้น (มาตรา ๔)

การกําหนดให้สัตว์ป่าชนิดใดเป็นสัตว์ป่าควบคุม ให้กําหนดโดยประกาศรัฐมนตรี (มาตรา ๔)

๕) กําหนดบทบัญญัติเพื่อรองรับสิทธิของบุคคลที่มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่า โดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งตรงกับชนิดของสัตว์ป่าสงวนที่กําหนดเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตาม ความในมาตรา ๖ วรรคสอง อยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ หรือตรงกับชนิดของสัตว์ป่า คุ้มครองที่กําหนดเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๗ อยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงดังกล่าว มีผลใช้บังคับ ให้มาแจ้งรายการเกี่ยวกับชนิดและจํานวนของสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่า ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในระยะเวลาที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประกาศกําหนด เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว หรือใบรับรองการครอบครองซากสัตว์ป่าสงวนหรือซากสัตว์ป่าคุ้มครองให้แก่บุคคลดังกล่าว หรือกรณี ไม่ประสงค์จะครอบครองให้จําหน่าย จ่าย โอน แก่ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ของรัฐ หรือเอกชน หากไม่สามารถดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ครอบครองยินยอม ให้ตกเป็นของแผ่นดิน (มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑)

 

การคุ้มครองสัตว์ป่า

๑) ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า กรณีกระทําด้วยความจําเป็นเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากอันตรายหรือเพื่อ สงวนหรือรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น และการล่านั้นได้กระทําพอสมควรแก่เหตุ ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ (มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓)

๒) ห้ามมิให้ผู้ใดเก็บ ทําอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่าสงวน เว้นแต่เป็น กรณีของผู้ที่มีสัตว์ป่าสงวนไว้ในครอบครองโดยถูกต้อง หรือรังของสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นรังของสัตว์ป่า คุ้มครองตามชนิดที่รัฐมนตรีกําหนดและโดยได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกรณีผู้ที่มีสัตว์ป่า คุ้มครองไว้ในครอบครองโดยถูกต้อง ข้อห้ามมิให้มีการเก็บ ทําอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่า สงวนและรังของสัตว์ป่าคุ้มครอง ไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตเก็บรังนกตามกฎหมายว่าด้วยอากรรังนก อีแอ่น (มาตรา ๑๔)

๓) ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือปล่อยเป็นอิสระซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือกระทําการใด ๆ ให้สัตว์ป่านั้นพ้นจากการดูแลของตน เว้นแต่ได้จําหน่าย จ่าย หรือโอนสัตว์ป่านั้นให้แก่ ผู้ที่สามารถครอบครองสัตว์ป่าดังกล่าวได้โดยชอบ หรือประสงค์จะส่งมอบให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมประมงดูแล โดยผู้ครอบครองต้องชําระค่าใช้จ่ายในการดูแลสัตว์ป่าแก่กรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมประมงแล้วแต่กรณี (มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖)

การครอบครองสัตว์ป่า

๑) ห้ามมีไว้ในครองครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว เว้นแต่ เป็นการครอบครองโดยผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ตามมาตรา ๓๓ หรือสวนสัตว์ ที่หน่วยงานของรัฐจัดตั้งตามหน้าที่ หรือเป็นการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ของผู้รับใบอนุญาต ดําเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าตามมาตรา ๒๘ ที่มีไว้เพื่อการเพาะพันธุ์หรือได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว (มาตรา ๑๗)

๒) การมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์หรือซาก สัตว์ป่าดังกล่าว ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี เว้นแต่เป็นการครอบครองตามใบอนุญาตค้าสัตว์ป่า โดยผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๐ เพื่อสร้างระบบตรวจสอบและติดตามว่าสัตว์ป่าดังกล่าวไม่ได้มาจากการล่า (มาตรา ๑๘)

๓) การมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าควบคุมเฉพาะชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดหรือซาก สัตว์ป่าดังกล่าว ให้แจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เว้นแต่เป็นการครอบครองตามใบอนุญาต ค้าสัตว์ป่าโดยผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๐ มาตรา ๑๙)

๔) กําหนดบทบัญญัติรองรับในกรณีที่มีการออกประกาศกําหนดชนิดสัตว์ป่าควบคุมที่ต้อง มีการแจ้งการครอบครองตามมาตรา ๑๔ ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กําหนดระยะเวลา ให้ผู้มีไว้ในครอบครองอยู่ก่อนวันที่ประกาศกําหนดชนิดสัตว์ป่าควบคุมจะมีผลใช้บังคับ แจ้งการครอบครอง ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อกําหนดให้บุคคลที่มีสัตว์ป่าควบคุมไว้ในครอบครองเข้าสู่ระบบกฎหมาย อย่างถูกต้อง (มาตรา ๒๐)

๕) มิให้นําความในมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ ใช้บังคับแก่การช่วยเหลือสัตว์ป่า ที่ถูกทอดทิ้ง บาดเจ็บ ป่วย หรืออ่อนแอ และได้แจ้งการช่วยเหลือสัตว์ป่านั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๒๑)

สรุปสาระสําคัญ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒


สรุปสาระสําคัญ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒

•••••••••••••••••••••••••••••••

๑. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้

โดยที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทําให้บทบัญญัติบางประการและมาตรการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในกฎหมายไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้อง กับสถานการณ์ปัจจุบันที่จะใช้เป็นเครื่องมือหรือเอื้ออํานวยต่อการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง ดูแลรักษา ฟื้นฟู สัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับ ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกในข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสัตว์ป่าและพืชป่าซึ่งมีผลทําให้ต้องปฏิบัติ ตามพันธกรณีภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศดังกล่าว เพื่อจัดให้มีมาตรการในการควบคุมการครอบครอง การค้า การนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า ตลอดจน การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่าให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 ๒. สาระสําคัญ

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ มีจํานวน ๑๒๑ มาตรา แบ่งออกเป็น ๙ หมวด ได้แก่ หมวด ๑ สัตว์ป่า (มาตรา ๖ - มาตรา ๓๒) หมวด ๒ สวนสัตว์ (มาตรา ๓๒ - ๓๘) หมวด ๓ คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (มาตรา ๓๙ - มาตรา ๔๖) หมวด ๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (มาตรา ๔๗ – ๕๗) หมวด ๕ เงินค่าบริการหรือเงินค่าตอบแทน (มาตรา ๕๘ – ๒๑) หมวด ๖ เขตห้ามล่า สัตว์ป่า (มาตรา ๖๒ – ๗๐) หมวด ๗ การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ (มาตรา ๗๑) หมวด ๘ การควบคุมและพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๗๒ - ๔๖) หมวด ๔ บทกําหนดโทษ (มาตรา ๘๗ - ๑๑๐) และบทเฉพาะกาล (มาตรา ๑๑๑ - ๑๒๑) โดยมีรายละเอียดที่สําคัญสรุปได้ ดังนี้

 

บทนิยาม (มาตรา ๔) กําหนดบทนิยามเพื่ออธิบายความหมายถ้อยคําที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น

“สัตว์ป่า” หมายความว่า สัตว์ทุกชนิดซึ่งโดยทั่วไปย่อมเกิดและดํารงชีวิตอยู่ในธรรมชาติ อย่างเป็นอิสระ และให้หมายความรวมถึงไข่และตัวอ่อนของสัตว์เหล่านั้นด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึง สัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ สัตว์ซึ่งได้รับการยอมรับในทางวิชาการว่าสายพันธุ์นั้น เป็นสัตว์บ้านไม่ใช่สัตว์ป่า และสัตว์ที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์ดังกล่าว

“ซากสัตว์ป่า” หมายความว่า ร่างกาย หรือส่วนของร่างของสัตว์ป่าที่ตายแล้วหรือเนื้อ ของสัตว์ป่า ไม่ว่าจะได้ปิ้ง ต้ม รม ย่าง ตากแห้ง หมัก ดอง หรือทําอย่างอื่นเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย และไม่ว่าจะ ชําแหละ แยกออก หรืออยู่ร่างของสัตว์ป่านั้น และให้หมายความรวมถึงเขา หนัง กระดูก กะโหลก ฟัน งา ขนาย นอ ขน เกล็ด เล็บ กระดอง เปลือก เลือด น้ําเหลือง น้ําเชื้อ หรือส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ป่าที่แยกออกจาก ร่างของสัตว์ป่าไม่ว่าจะยังมีชีวิตหรือตายแล้ว

“ผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า” ให้หมายความรวมถึงอนุพันธ์หรือสิ่งอื่นใดที่ได้มาจากสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าที่ตรวจสอบหรือจําแนกได้โดยเอกสารกํากับ บรรจุภัณฑ์ เครื่องหมาย ฉลาก หรืออื่น ๆ ว่าเป็นของสัตว์ป่าชนิดนั้น ๆ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

“เพาะพันธุ์” หมายความว่า ขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่นํามาเลี้ยงโดยวิธีผสมพันธุ์ และให้ หมายความรวมถึงขยายพันธุ์สัตว์ป่าด้วยวิธีผสมเทียม ย้ายฝากตัวอ่อน หรือโดยวิธีการอื่นใดซึ่งมีวัตถุประสงค์ ในการเพิ่มจํานวนสัตว์ป่าดังกล่าว

 “ค้า” หมายความว่า ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จําหน่าย จ่าย แจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงมีหรือแสดงไว้ซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์ จากซากสัตว์ป่าเพื่อการค้า การประกาศหรือโฆษณาหรือนําเสนอทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสื่อใด ๆ เพื่อการค้าด้วย

วันพุธ, พฤษภาคม 02, 2561

การเปลี่ยนหลอดไฟตู้เย็น HITACHI รุ่น R-64S-1 (ภาคแรก)


การเปลี่ยนหลอดไฟตู้เย็น   HITACHI รุ่น R-64S-1 (ภาคแรก)

      เป็นเรื่องน่าปวดหัวอยู่ไม่น้อย เมื่ออยู่ ๆ ตู้เย็นที่บ้านก็มืดสนิทตอนเปิดเพื่อที่จะหยิบน้ำขึ้นมาดื่ม ตอนแรกเข้าใจว่าปลั๊กหลวมหรือหลุดจากเต้าเสียบ ..แต่ความเย็นก็ยังเย็นปกตินี่นา... คิดอย่างนั้นจีงเริ่มเช็คจากส่วนที่ง่ายที่สุดก่อนดีกว่า
“หลอดไฟตู้เย็น”
       เอาของที่วางเกะกะมือออก แล้วค่อย ๆ ล้วงเข้าไปบิดหลอดไฟออก จนหลอดไฟตู้เย็นค่อย ๆ คลายออกมา หน้าตาก็เป็นแบบที่เห็นนี่แหละ มีคราบสีดำติดอยู่โดยรอบหลอดแก้ว เมื่อส่องดูภายในกับแสงสว่าง ก็พบว่าไส้หลอดขาดเรียบร้อย คงต้องถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้วละ
หลอดไฟตู้เย็น  HITACHI รุ่น R-64S-1
หลอดไฟตู้เย็น  HITACHI รุ่น R-64S-1
      โดยปกติเราก็จะหยิบหลอดไฟตู้เย็นไปที่ร้านขายอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ หรือตามร้านขายอะไหล่ตู้เย็น แล้วถ้าวันหนึ่งเราไม่ได้ถือหลอดไฟตู้เย็นไปด้วย เราจะบอกกับคนขายว่าอย่างไรนะ?
คิดว่าหลายคนคงเคยพบกับปัญหาแบบนี้กันมาบ้าง  แน่นอนว่าหลอดไฟตู้เย็นจะมีขนาดแรงดันและกำลังไฟบอกอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ที่ว่าขนาดของเกลียวมันเท่าไหร่กันหล่ะ?
        อย่างหลอดตู้เย็นที่ขาด จะพิมพ์ที่ฐานหลอดว่า 230V/15W  แต่หลอดไฟขนาด 15 W. เอง ก็มีหลายขนาด ลองเอาไม้บรรทัดวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดไฟตู้เย็นได้ประมาณ 13 มิลลิเมตร กว่า ๆ ลองค้นข้อมูลก็พบว่ามีเรื่องราวเกี่ยวกับหลอดไฟชนิดนี้อยู่ไม่น้อย เลยขอเอามาแชร์เป็นความรู้ดีกว่า
        ปกติถ้าเราสังเกต จะพบว่าหลอดไฟขั้วเกลียว มักจะมีรหัสหลอดตัวหน้าเป็นอักษรตัว E หรือบางครั้งก็ไม่มี... แล้วอักษรตัว E ที่ขั้วหลอดไฟหมายถึงอะไรกันนะ
การวัดขนาดหลอดไฟตู้เย็น  HITACHI รุ่น R-64S-1
การวัดขนาดหลอดไฟตู้เย็น  HITACHI รุ่น R-64S-1
        อักษรตัว E ที่เราเห็นที่ฐานของหลอดไฟ มาจากคำว่า Edison (ชื่อเต็ม คือ Thomas Alva Edison) ซึ่งเป็นชื่อของผู้คิดค้นและประดิษฐ์หลอดไฟขึ้นมาเพื่อให้ทั้งโลกได้สว่างไสว สำหรับประวัติของผู้ชายคนนี้ผู้เขียนจะหาข้อมูลมาเล่าให้ฟังกันอีกทีนะครับ
       ส่วนตัวเลขที่อยู่ข้างหลังตัวอักษรตัว E แสดงถึงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของขั้วหลอดไฟ (ฐานที่จะใส่ขั้วหลอดลงไป) โดยจะมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร โดยตามมาตรฐานที่กำหนด มีตั้งแต่ขนาด E5 ถึง E40 หมายความว่า เส้นผ่านศูนย์กลางของขนาดหลอดไฟมีตั้งแต่ขนาด 5 มิลลิเมตร ถึงขนาด 40 มิลลิเมตร ( 4 เซนติเมตร ) แต่ที่ใช้โดยทั่วไปเป็นสากลทั่วโลก ร้อยละ 80 จะเป็น E5, E12, E14, E27, E40 สำหรับประเทศไทยที่ผู้เขียนเห็นใช้บ่อย ๆ จะเป็น  E14 และ E27 เป็นส่วนใหญ่ โดยมีทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการจำว่า  ขั้ว E14 มีขนาดเท่ากับนิ้วก้อย ส่วน E27 มีขนาดเท่ากับนิ้วโป้ง
          สำหรับเส้นผ่านศูนย์กลางที่วัดได้ 13 มิลลิเมตรกว่า ๆ ก็จะได้ขนาดหลอดตู้เย็นเทียบเท่าเบอร์ E14 (เนื่องจากขนาดขั้วหลอดจะเล็กกว่าขั้วของฐานใส่หลอดเล็กน้อย มิฉะนั้นจะใส่ขั้วหลอดไม่เข้า)
         ครั้งต่อไปหากไม่อยากถือหลอดตู้เย็นไป หรือว่าลืมถือหลอดไฟตู้เย็นไปร้านขายอะไหล่ ก็ให้วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของขั้วหลอดไฟ ได้ค่าประมาณเท่าไหร่ ก็เท่ากับมาตรฐานที่เราต้องการ หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อหลอดไฟตู้เย็นในครั้งหน้ากันนะครับ

วันอังคาร, พฤษภาคม 01, 2561

เพลงชาติไทยมีคําว่าไทยกี่คํา

เพลงชาติไทยมีคําว่าไทยกี่คํา
     ทุก ๆ เช้าก่อนเข้าห้องเรียน นักเรียนประถมทุกชั้น จะยืนเรียงแถวหน้าเสาธง นักเรียนที่ตัวเล็กสุดของชั้นจะยืนอยู่ด้านหน้า แล้วไล่เรียงลำดับความสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนปลายแถว
     บางครั้งครูจะให้นักเรียนทุกคนนั่งลง เพื่อให้เราคุณครูที่ยืนพูดอยู่หน้าเสาธงได้ถนัด เรื่องที่พูดคุยก็เป็นเรื่องทั่วไป การรักษาความสะอาด การมาสาย แล้วแต่ว่าช่วงนั้นมีเรื่องอะไรน่าสนในอยู่ บางครั้งคุณครูพูดนานเกินไปจนพวกเราร้อนกันไปหมด ยกเว้นในฤดูหนาวที่พวกเราอยากจะนั่งฟังคุณครูพูดนาน ๆ 
     ทุกเช้าของโรงเรียนที่ผู้เขียนเคยเรียนเมื่อตอนเด็ก ช่วงเช้าบางวันก็เป็นสิ่งน่ากลัวสำหรับเด็ก ๆ อย่างเรา เพราะหากมีคนโดดเรียน แกล้งเพื่อน หรือทำผิดบางอย่าง ก็จะถูกเรียกมายืนให้คุณครูตีก้นหน้าเสาธง ทั้งเจ็บทั้งอายเด็กนักเรียนหญิง นี่แหละเป็นสิ่งหนึ่งที่บางวันเราไม่อยากจะไปโรงเรียน หลังจากนั้นเราก็จะร้องเพลงชาติกัน ตอนเด็ก ๆ ผู้เขียนใฝ่ฝันอยากจะเป็นคนยืนเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสา เพราะจะเป็นเด็กผู้ชายคนหนึ่ง กับเด็กผู้หญิงคนหนึ่งทำหน้าที่ทุกวัน บางครั้งก็เปลี่ยนคน แต่ก็จะมีอยู่ไม่กี่คนที่เวียนซ้ำ ๆ กัน 
     การค่อย ๆ เชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาพร้อม ๆ กับธงที่สุดพอดีกลับเพลงที่ร้องจนจบ เป็นอะไรที่เครียดมากสำหรับเด็ก ๆ เพราะเมื่อเราไปยืนอยู่ใต้เสาธงจริง ๆ เราจะมองไม่ค่อยเห็นว่าธงขึ้นถึงระดับไหนแล้ว ต้องกะ ๆ เอา บางครั้งเพลงชาติร้องจบแล้ว แต่ธงยังไม่ถึงยอดเสาก็มี ในบางวันเมื่อมีเหตุการณ์ไว้อาลัยต่าง ๆ คุณครูก็จะให้เราเชิญธงเพียงแต่ครึ่งเสาเท่านั้น 
     คำถามที่สะกิดใจเมื่อเราโตขึ้นก็คือ เราร้องเพลงชาติไทยมาตั้งแต่เด็ก ๆ แต่เราส่วนใหญ่ก็ไม่เคยนับกันสักทีว่า เพลงชาติไทย มีคำว่าไทยกี่คำ ถ้าอย่างนั้นวันนี้เรามาช่วยกันนับพร้อมกันดีกว่า ว่าเพลงชาติไทยที่เราร้องกันอยู่ทุกวัน ฟังกันทุกแปดโมงเช้า และ หกโมงเย็น มีคำว่าไทยกี่คำกันแน่
    ผู้เขียนได้ทำการมาร์คสีแดงในส่วนที่เป็นคำว่าไทย ในเนื้อเพลงชาติไทยเพื่อที่จะได้นับกันง่าย ๆ สรุปออกมาแล้วว่าเพลงชาติไทยมีคำว่าไทยทั้งหมด 6 คำ ส่วนสำหรับบางคนอาจจะแย้งว่า คำว่า "ผไท" ก็ออกเสียงคำว่า "ไทย" เหมือนกันนะ ประเด็นนี้ผู้เขียนก็เห็นด้วย ดังนั้นจึงขอสรุปง่าย ๆ ดังนี้
       เพลงชาติไทยมีคำที่เขียนว่า "ไทย" ทั้งหมด 6 คำ
       เพลงชาติไทยมีคำที่ออกเสียงคำว่า "ไทย" ทั้งหมด 7 คำ โดยรวมคำว่า "ผไท" ไว้ด้วย
ส่วนผู้อ่านจะคิดว่ามีกี่คำก็สุดแล้วแต่ว่าชอบแบบไหนนะครับ
      
   ประวัติเพลงชาติไทยโดยย่อ 
          ในหลากหลายประเทศทั่วโลกต่างก็มีเพลงประจำชาติเป็นของตนเอง ไม่เว้นแม้แต่บ้านเราที่ก็มี เพลงชาติไทยมาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งในสมัยที่ชาติสยามยังปกครองด้วยระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชได้มีการใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงเพื่อถวายความเคารพกษัตริย์ต่างชาติที่เสด็จเยี่ยมประเทศสยามตามธรรมเนียมสากล จนมาถึงปีพุทธศักราช 2482 รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศ จาก สยามเป็น ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพลงประจำชาติไทยใหม่ โดยเปิดให้มีการส่งเนื้อเพลงชาติเข้าประกวด มีหลักการอยู่ว่าต้องแต่งให้เข้าทำนองของเพลงชาติฉบับเดิม ซึ่งในการยื่นประกวดแต่งเนื้อร้องครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดคณะกรรมการได้ตัดสินคัดเลือกเนื้อร้องของ หลวงสารานุประพันธ์นำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัย ไม่นานจึงมีมติรับเนื้อเพลงใหม่นี้ และได้รับแก้ไขบ้างในบางช่วงตามความเหมาะสม
ในวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2482 รัฐบาลได้ออกประกาศ รัฐนิยมฉบับที่ 6” ให้ใช้ทำนองเพลงชาติของ พระเจนดุริยางค์ ตามแบบฉบับเดิมที่กรมศิลปากร ส่วนเนื้อร้องให้ใช้ของ หลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งประพันธ์ทั้งหมดขึ้นใหม่ในนามของ กองทัพบกจึงกลายมาเป็นแบบฉบับที่เราได้ฟัง ได้ร้องกันอยู่ในทุกวันนี้ ..
เพลงชาติไทย
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย

เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน

อยู่ดำรงค งไว้ได้ทั้งมวล

ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี

ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด

เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่

สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี

เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย


ที่มาเนื้อหาบางส่วน : http://campus.sanook.com/1380493/

Pages