วันศุกร์, พฤษภาคม 07, 2564

ความเป็นมาของพระประจำวันเกิด

 ความเป็นมาของพระประจำวันเกิด

พระประจําวันอาทิตย์ ได้แก่ ปางถวายเนตร

เมื่อครั้งพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิ ญาณแล้ว ก็ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดจากความสงบ) อยู่ใต้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นระยะเวลา 7 วัน จากนั้นได้เสด็จไปประทับยืน ณ ที่กลางแจ้งทางทิศอีสานของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทอดพระเนตรต้น พระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรเลยตลอดระยะเวลา 7 วัน ซึ่งเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้เรียกว่า ปางถวายเนตร


ความเป็นมาพระประจําวันจันทร์ ได้แก่ ปางห้ามญาติ หรือ ห้ามสมุทรปางห้ามญาติ

เกิดขึ้นเนื่องจากพระญาติฝ่ายพุทธบิดาคือกรุงกบิลพัสดุ และพระญาติฝ่ายพุทธมารดา คือ กรุงเทวทหะ ซึ่งอาศัยอยู่บน คนละฝั่งของแม่น้ําโรหิณี เกิดทะเลาะวิวาทแย่งน้ําเพื่อไปเพาะปลูกกันขึ้น ถึงขนาดจะยกทัพทําสงครามกันเลยทีเดียว พระพุทธองค์จึงต้องเสด็จไป เจรจาห้ามทัพ คือ ห้ามพระญาติมิให้ฆ่าฟันกัน


ความเป็นมาพระประจําวันจันทร์ห้ามสมุทร

ส่วนปางห้ามสมุทรเป็นพุทธประวัติ ตอนเสด็จไปโปรดพวก ชฏิล (นักบวชประเภทหนึ่งที่นุ่งห่มหนังเสือ และนิยมบูชาไฟ) 3 พี่น้องได้แก่ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ริมฝั่งแม่น้ํา เนรัญชราพร้อมบริวาร 1,000 คน โดยได้แสดงพุทธปาฏิหารย์หลายอย่าง เพื่อทําลายทิฏฐิมานะของชฏิลทั้งหลาย เช่น ห้ามลม ห้ามฝน ห้ามพายุ และห้ามน้ําท่วมที่เพิ่งนองตลิ่งมิให้มาต้องพระวรกายได้ อีกทั้งยังสามารถเดิน จงกรมอยู่ใต้พื้นน้ําได้ ทําให้พวกชฏิลเห็นเป็นที่อัศจรรย์ และยอมบวชเป็นพุทธสาวก


พระประจําวันอังคาร ได้แก่ ปางโปรดอสุรินทปางไสยาสน์ หรือบางทีก็เรียก ปางปรินิพพาน

เป็นพุทธประวัติตอนที่พระพุทธองค์ได้รับสั่งให้พระจุนทะเถระปูอาสนะลงที่ ระหว่างต้นรังคู่หนึ่ง แล้วทรงประทับบรรมทมแบบสีหไสยา ตั้งพระทัยสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายพากัน เศร้าโศก ร่ําไห้ คร่ําครวญถึงพระองค์ พระอานนท์และพระอนุรุทธเถระ ได้แสดงธรรมเพื่อปลอบโยนมหาชน พุทธศาสนิกชนเมื่อรําลึกถึงการ เสด็จปรินิพพานของพระองค์ จึงได้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้น เพื่อบูชา พระพุทธองค์


ความเป็นมาพระประจําวันพุธ (กลางวัน) ได้แก่ ปางอุ้มบาตร

เมื่อพระพุทธเจ้าได้สําแดงอิทธิปาฏิหารย์ เหาะขึ้นไปในอากาศต่อ หน้าพระประยูรญาติทั้งหลาย เพื่อให้พระญาติผู้ใหญ่ได้เห็น และละทิฐิถวาย บังคมแล้ว จึงได้ตรัสเทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก ครั้นแล้วพระญาติ ทั้งหลายก็แยกย้ายกันกลับโดยไม่มีใครทูลอาราธนาฉันพระกระยาหารเช้าในฉันภัตตาหารที่จัดเตรียมไว้ในพระราชนิเวศน์เอง แต่พระพุทธองค์กลับพา พระภิกษุสงฆ์สาวกเสด็จจาริกไปตามถนนหลวงในเมือง เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ (ผู้ที่พึงสั่งสอนได้)อันเป็นกิจของสงฆ์


พระประจําวันพุธ (กลางวัน) ได้แก่ ปางอุ้มบาตร (ต่อ)

และนับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุได้มีโอกาสชมพระ พุทธจริยาวัตรขณะทรงอุ้มบาตรโปรดสัตว์ ประชาชนจึงต่างแซ่ซ้อง อภิวาทอย่างสุดซึ้ง แต่ปรากฏว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พุทธบิดาทรงทราบ เข้า ก็เข้าใจผิดและโกรธพระพุทธองค์ หาว่าออกไปขอทานชาวบ้าน ไม่ ฉันภัตตาหารที่เตรียมไว้ พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงอธิบายว่า การออก บิณฑบาตรเป็นการไปโปรดสัตว์ มิใช่การขอทาน จึงเป็นที่เข้าใจกันในที่สุด


พระประจําวันพุธ (กลางคืน) ได้แก่ ปางป่าเลไลยก์

สําหรับปางนี้กล่าวถึงเมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เมืองโกสัมพี ครั้นนั้นพระภิกษุมีมากรูปด้วยกัน และไม่สามัคคีปรองดอง ไม่อยู่ในพุทธ โอวาท ประพฤติตามใจตัว พระองค์จึงเสด็จจาริกไปอยู่ตามลําพังพระองค์ เดียวในป่าที่ชื่อว่าปาลิไลยกะ โดยมีมีพญาช้างเชือกหนึ่งชื่อ "ปาลิไลย กะ" เช่นเดียวกัน มีความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ มาคอยปฏิบัติบํารุงและคอย พิทักษ์รักษามิให้สัตว์ร้ายมากล้ํากราย ทําให้พระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ใน ป่านั้นด้วยความสงบสุข และป่านั้นต่อมาก็ได้ชื่อว่า "รักขิตวัน" ครั้นพญาลิง เห็นพญาช้างทํางานปรนนิบัติ


ความเป็นมาพระประจําวันพฤหัสบดี ได้แก่ ปางสมาธิ หรือ ปางตรัสรู้

ปางตรัสรู้ คือ ปางที่เจ้าชายสิทธัตถะหรือพระโพธิสัตว์ทรงประทับ ขัดสมาธิบนบัลลังก์หญ้าคาใต้ต้นมหาโพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ําเนรัญชรา และได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันเพ็ญขึ้น  15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ซึ่งก็ตรงกับวันวิสาขบูชานั่นเอง


ความเป็นมา พระประจําวันศุกร์ ได้แก่ ปางรําพึง

ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้นไทร (อช ปาลนโครธ) ก็ได้ทรงรําพึงพิจารณาถึงธรรมที่ตรัสรู้ว่าเป็นธรรมที่มีความละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่มนุษย์ปุถุชนจะรู้ตามได้ จึงเกิดความท้อพระทัยที่จะไม่สั่งสอนชาวโลก ด้วยรําพึงว่าจะมีใครสักกี่คนที่ฟังธรรมะของพระองค์เข้าใจ ร้อนถึงท้าวสหัมบดีพรหม ได้มากราบทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรมว่าในโลกนี้บุคคลที่มีกิเลสเบาบางพอฟังธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อน ว่าตรัสรู้แล้วก็ย่อมแสดงธรรมโปรดสัตว์โลกเพื่อ ประโยชน์สุขแก่ชนทั้งปวง จึงได้น้อมพระทัยในอันที่จะแสดงธรรมต่อชาวโลกตามคําอาราธนานั้น และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดํารงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้ประกาศ พระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายประดิษฐานให้มั่นคง


ความเป็นมาพระประจําวันเสาร์ ได้แก่ ปางนาคปรก

เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ และประทับบําเพ็ญสมาบัติเสวยวิมุตติสุขอันเกิด จากความพ้นกิเลสอยู่ ณ อาณาบริเวณที่ไม่ไกลจากต้นพระศรีมหาโพธิ์แห่งละ 7 วัน นั้น ในสัปดาห์ที่ 3 นี้เอง ก็ได้ไปประทับใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ขณะนั้นฝนได้ตกลง มาไม่หยุด พญานาคตนหนึ่งชื่อ "มุจลินท์นาคราช" ก็ได้ขึ้นมาแสดงอิทธิฤทธิ์เข้าไป วงขนด 7 รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าไว้มิให้ฝนตกต้องพระวรกาย เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาว สาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง รุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวล ด้วย จนฝนหาย จึงได้แปลงร่างเป็นมาณพเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์



พระประจําวันเกิด

 พระประจําวันเกิด

พระประจําวันอาทิตย์ ได้แก่ ปางถวายเนตร

ลักษณะพระพุทธรูป : พระพุทธรูปที่อยู่ใน พระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระ เพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหา โพธิ์


พระประจําวันเกิด

พระประจําวันจันทร์ ได้แก่ ปางห้ามญาติ หรือ ห้ามสมุทร

ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระ อริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร ต่างกันตรงที่ปาง ห้ามญาติจะยกมือขวาขึ้นห้ามเพียงมือเดียว ส่วนปาง ห้ามสมุทร จะยกมือทั้งสองขึ้นห้าม แต่ส่วนใหญ่มักจะ นิยมสร้างเป็นปางห้ามญาติ และนิยมทําเป็นแบบพระ ทรงเครื่อง


พระประจําวันเกิด

พระประจําวันอังคาร ได้แก่ ปางโปรดอสุรินทราหู

หรือ ปางไสยาสน์ หรือ ปางปรินิพพาน

ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูป อยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมี พระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบ พระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)


พระประจําวันเกิด

พระประจําวันพุธ (กลางวัน) ได้แก่ ปางอุ้มบาตร

ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระ อริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว


พระประจําวันเกิด

พระประจําวันพุธ (กลางคืน) ได้แก่ ปางป่าเลไลยก์

ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระ อริยาบถประทับ (นั่ง) บนก้อนศิลา พระบาททั้งสอง วางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ําบนพระขนุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงาย นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับ กระบอกน้ํา อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย


พระประจําวันเกิด

พระประจําวันพฤหัสบดี ได้แก่ ปางสมาธิ หรือ ปางตรัสรู้

ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระ อริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวาง หงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระ หัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย


พระประจําวันเกิด

พระประจําวันศุกร์ ได้แก่ ปางรําพึง

ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระ อริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับ ที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย


พระประจําวันเกิด

พระประจําวันเสาร์ ได้แก่ ปางนาคปรก

ลักษณะพระพุทธรูป : พระพุทธรูปอยู่ใน พระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระ หัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระ หัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธ บัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร


Pages