วันจันทร์, เมษายน 19, 2564

บทเฉพาะกาล

บทเฉพาะกาล

๑) กําหนดวาระเริ่มแรกของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า โดยให้กรรมการ โดยตําแหน่งปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๑๑๑)

๒) กําหนดบทเฉพาะกาลรองรับสัตว์ป่าคุ้มครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้และสัตว์ป่า ชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดห้ามนําเข้าหรือส่งออกเดิม ให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ และสัตว์ป่าควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎหมายลําดับรองตามพระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ รวมทั้งได้กําหนดรองรับให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเดิม เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย (มาตรา ๑๑๒ และมาตรา ๑๑๔)

๓) กําหนดรองรับให้ผู้ซึ่งครอบครองวาฬบรูด้า วาฬโอมูระ เต่ามะเฟือง และปลาฉลามวาฬ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว แจ้งรายการเกี่ยวกับชนิดและจํานวนของสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่านั้นต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และดําเนินการตามที่พระราชบัญญัตินี้กําหนด เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ดังกล่าวไว้สําหรับการตรวจสอบต่อไป (มาตรา ๑๑๓)

๔) กําหนดรองรับการดําเนินการเกี่ยวกับการเตรียมการเพื่อกําหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเดิมให้ใช้ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ และให้การดําเนินการต่อไปเป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้คําขอเดิมที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นคําขอ ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้อธิบดีเรียกเอกสารหรือหลักฐานประกอบคําขอตามที่พระราชบัญญัตินี้กําหนดได้ (มาตรา ๑๑๕ และมาตรา ๑๑๘)

๕) กําหนดรองรับกฎหมายลําดับรองที่มีอยู่เดิมให้เป็นอันใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีการออกกฎหมายลําดับรองใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มาตรา ๑๑๖)

๖) กําหนดรองรับสิทธิที่มีอยู่เดิม เช่น การอนุญาต ใบอนุญาต หนังสืออนุญาตต่าง ๆ อาชญาบัตร ประทานบัตร ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุ (มาตรา ๑๑๙)

๗) กําหนดให้โอนเงินรายได้เพื่อบํารุงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าที่มีอยู่เดิม มาเป็นเงินเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบํารุงรักษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือเพื่อ การอนุรักษ์และรักษาไว้ซึ่งแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งหากินของสัตว์ป่า (มาตรา ๑๒๐)

๘) กําหนดแนวทางการดําเนินการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีที่ดินทํากินและได้อยู่อาศัย หรือทํากินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าที่มีมาก่อนวันที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ใช้บังคับ โดยใช้แนวทางคัดกรองบุคคลภายใต้กรอบเวลาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ หรือตามคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๖/๒๕๕๗ เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงาน สําหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราว ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องสํารวจการถือครองที่ดินของประชาชนให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้

ใช้บังคับ ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่าจัดทําโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และบุคคลที่อยู่อาศัย หรือทํากินในเขตพื้นที่โครงการเพื่อการดํารงชีพอย่างเป็นปกติธุระผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ (มาตรา ๑๒๑) ๓. ผู้รักษาการตามกฎหมาย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๕) ๔. วันบังคับใช้

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๗๑ ก หน้า ๑๐๔ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อย แปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒) (มาตรา ๒)

กองนิติการ กลุ่มงานกฎหมาย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

 

หมวด ๙ บทกําหนดโทษ

หมวด ๙ บทกําหนดโทษ

๑) กรณีก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า

- ผู้ใดกระทําการหรืองดเว้นกระทําการไม่ว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยมิชอบด้วย กฎหมาย และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาตินั้น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพด้วย (มาตรา ๘๗)

- ผู้ใดล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่นอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือนอกเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า ต้องชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาตินั้นด้วย (มาตรา ๘๔)

๒) กรณีกระทําต่อสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือสัตว์ป่าสงวน

- ผู้ใดล่าหรือค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า คุ้มครอง ตามมาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง)

- ผู้ใดล่า นําเข้า ส่งออก หรือค้าสัตว์ป่าสงวน ซากสัตว์ป่าสงวน หรือผลิตภัณฑ์ จากซากสัตว์ป่าสงวน ตามมาตรา ๑๒ มาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปี ถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๘๙ วรรคสอง)

๓) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนมาตรการ ควบคุมหรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๐ วรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๐)

๔) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง มาตรา ๒๒ วรรคสาม มาตรา ๒๓ วรรคสี่ มาตรา ๒๘ วรรคสอง มาตรา ๓๐ วรรคสอง หรือมาตรา ๓๓ วรรคสี หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ออกตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๕ วรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ (มาตรา ๙๑)

๕) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๕ (๓) ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๒)

๖) กรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๓๒ วรรคสอง หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ วรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๔๓)

๗) กรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๔)

๘) กรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนมาตรา ๕๕ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๕)

๙) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๖)

๑๐) กรณีไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (มาตรา ๙๗)

๑๑) กรณีไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๘๑ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองหมื่นบาท (มาตรา ๙๔)

๑๒) กรณีทําให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่ไปจากเดิมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

- ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทําด้วยประการใด ๆ ให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติไปจากเดิมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา ๕๕ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี หรือปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๙ วรรคหนึ่ง)

- ถ้าได้กระทําในพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ ๑ หรือพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ ๒ ตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด หรือพื้นที่เปราะบางของระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้กระทําต้องระวางโทษหนักกว่าโทษ ที่กฎหมายบัญญัติไว้อีกกึ่งหนึ่ง คือ จําคุกสูงสุดสามสิบปี หรือปรับสูงสุดสามล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๙ วรรคสอง)

๑๓) กรณีเก็บหา นําออกไป กระทําด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทําให้เสื่อมสภาพ ทรัพยากรธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

- ผู้ใดเก็บหา นําออกไป กระทําด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทําให้เสื่อมสภาพ ซึ่งไม้ ดิน หิน กรวด ทราย แร่ ปิโตรเลียม หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น หรือกระทําการอื่นใดอันส่งผลกระทบ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ หรือความหลากหลายทางชีวภาพ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๕ (๕) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๐ วรรคหนึ่ง)

- ถ้าเป็นการกระทําแก่ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ตามฤดูกาล และมีมูลค่ารวมกันไม่เกินสองพันบาท ผู้กระทําต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท (มาตรา ๑๐๐ วรรคสอง)

ถ้าเป็นการกระทําที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ที่เป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใด อย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร ผู้กระทํา ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท (มาตรา ๑๐๐ วรรคสาม)

๑๔) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๕๕ (๕) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๑)

๑๕) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๕๕ (๖) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท (มาตรา ๑๐๒ วรรคหนึ่ง)

- ถ้าเป็นการนําหรือปล่อยสัตว์ที่เป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ อย่างรุนแรงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๒ วรรคสอง)

๑๖) กรณีฝ่าฝืนกระทําการในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

- กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๖๗ (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกิน เจ็ดแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๓ วรรคหนึ่ง)

- กรณีที่การฝ่าฝืนมาตรา ๖๗ (๒) เป็นการกระทําแก่ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถ เกิดใหม่ทดแทนได้ตามฤดูกาลและมีมูลค่ารวมกันไม่เกินสองพันบาท ผู้กระทําต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ห้าพันบาท (มาตรา ๑๐๓ วรรคสอง)

๑๗) กรณีไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๘๒ (๑) ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๔ วรรคหนึ่ง)

- นอกจากต้องระวางโทษดังกล่าวแล้ว ผู้นั้นยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง (มาตรา ๑๐๔ วรรคสอง)

๑๘) กรณีไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๘๒ (๒) ต้องระวางโทษจําคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๕ วรรคหนึ่ง)

- นอกจากต้องระวางโทษดังกล่าวแล้ว ผู้นั้นยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง (มาตรา ๑๐๕ วรรคสอง)

๑๙) ความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือจําคุกไม่เกินหนึ่งปี ให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบได้ (มาตรา ๑๐๖)

๒๐) เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ให้พนักงานอัยการเรียกค่าเสียหายตามมาตรา ๘๗ หรือมาตรา ๘๔ ไปในคราวเดียวกัน (มาตรา ๑๐๗)

๒๑) ให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาล และให้ศาลมีอํานาจพิพากษาให้จ่ายเงินสินบนนําจับ แก่ผู้นําจับเป็นจํานวนไม่เกินกึ่งหนึ่งของจํานวนเงินค่าปรับตามคําพิพากษา ในกรณีที่มีผู้นําจับหลายคนให้แบ่ง เงินสินบนนําจับให้คนละเท่า ๆ กัน โดยการจ่ายเงินสินบนนําจับนั้นจะจ่ายได้เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว (มาตรา ๑๐๘)

๒๒) การจัดการของกลาง

- การริบทรัพย์สินที่ใช้กระทําความผิด กําหนดให้บรรดาไม้ ซากสัตว์ป่า หรือทรัพยากร ธรรมชาติอื่นใดที่มีอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ที่บุคคลได้มาจากการกระทําความผิด หรือซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าที่ได้มาจากการกระทําความผิด อาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ สิ่งปลูกสร้าง อุปกรณ์ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่ได้ใช้ในการกระทําความผิด หรือมีไว้ เพื่อใช้กระทําความผิดตามมาตรา ๕๕ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๗) หรือ (5) หรือมาตรา ๖๗ (๑) หรือ (๒) พนักงานอัยการมีอํานาจร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้นได้ โดยไม่ต้องคํานึงว่าเป็นของผู้กระทําความผิดและมี ผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาของศาลหรือไม่ (มาตรา ๑๐๙)

- การจัดการสัตว์ป่าของกลาง หรือสัตว์ป่าที่ตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามคําพิพากษาของศาล หรือสัตว์ป่าที่มีผู้ทอดทิ้ง หรือสัตว์ป่าที่พิการ บาดเจ็บ ป่วย อ่อนแอ ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ช่วยเหลือ ดูแล รักษา จําหน่าย ปล่อยสู่ธรรมชาติ ส่งคืนถิ่นกําเนิด โอน ทําลาย เอาไว้ใช้ ในราชการ หรือจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดแก่สัตว์ป่านั้นก็ได้ (มาตรา ๘๖)

๒๓) กรณีผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําผิดนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทําการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทําการจนเป็น เหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทําความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้นด้วย (มาตรา ๑๑๐)

 

Pages