วันอาทิตย์, ตุลาคม 28, 2555

ผีเสื้อที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ผีเสื้อที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

         ผีเสื้อและแมลงอื่น ๆ ทุกชนิดจัดเป็น "สัตว์ป่า" นับตั้งแต่มีการประกาศพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕   ผีเสื้อหลายชนิดจัดเป็น "สัตว์ป่าคุ้มครอง" เนื่องจากอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์โดยห้ามซื้อขายและห้ามมีไว้ในครอบครอง ผีเสื้อที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองมีทั้งหมด
ผีเสื้อที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
๑. ผีเสื้อค้างคาว (Lyssa zampa) - เป็นผีเสื้อกลางคืน
๒. ผีเสื้อหางยาวตาเดียวปีกลายหยัก (Actias maenas) - เป็นผีเสื้อกลางคืน
๓. ผีเสื้อถุงทองธรรมดา (Troides aeacus) - เป็นผีเสื้อกลางวัน
๔. ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว (Papilio palinurus) - เป็นผีเสื้อกลางวัน
๕. ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ (Meandrusa sciron) - เป็นผีเสื้อกลางวัน
๖. ผีเสื้อนางพญาก็อดเฟรย์ (Stichophthalma godfreyi) - เป็นผีเสื้อกลางวัน
๗. ผีเสื้อสมิงเชียงดาว (Bhutanitis lidderdalel) - เป็นผีเสื้อกลางวัน
๘. ผีเสื้อรักแร้ขาว (Papilio protenor) - เป็นผีเสื้อกลางวัน
๙. ผีเสื้อมรกตผ้าห่มปก (Teinopalpus imperialis) - เป็นผีเสื้อกลางวัน

  ทั้งหมดมีอยู่ ๙ ชนิด
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับผีเสื้อทั้งหมดได้ที่ :
http://www.ist.cmu.ac.th/riseat/nl/2004/07/01.php

วันพุธ, ตุลาคม 24, 2555

การจัดการขยะ โครงการต้นแบบดี ๆ

การจัดการขยะ โครงการต้นแบบดี ๆ

             ยังจำได้เมื่อตอนอยู่โรงเรียนปฐมที่ต่างจังหวัด คุณครูมักจะสอนให้เก็บขยะไว้ในกระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋ากางเกง ถ้าหากยังหาที่ทิ้งไม่ได้ พอกลับมาถึงบ้าน ตอนที่แม่ซักผ้าให้ มักจะโดนบ่นเป็นประจำ เพราะเก็บเศษลูกอมไว้ในกระเป๋าแล้วไม่ได้ทิ้ง แต่นั่นคือสิ่งดี ๆ ที่ติดตัวมาจนถึงปัจจุบันนี้
การจัดการขยะ การแยกประเภทของขยะ ถังขยะ             กำลังคิดว่าหากคนไทยทุกคนเก็บขยะไว้กับตัวเองก่อนที่จะเจอถังขยะแล้วค่อยทิ้ง บ้านเมืองเราก็คงจะน่าอยู่มิใช่น้อย แต่เดี๋ยวนี้คนไทย มักจะทิ้งออกนอกรถบ้าง ไม่ทิ้งลงถังขยะบ้าง เพราะคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ทั้งที่มันเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคนไทยทุกคน ....มีใครยังจำโครงการตาวิเศษได้บ้างหรือไม่ หากจำได้ผู้เขียนก็อยากให้นำกลับมารณรงค์กันอีกครั้ง อย่างน้อยก็ปลุกจิตสำนึกคนไทยก่อนที่จะทิ้งสิ่งของเหลือใช้หรือไม่จำเป็นออกเป็นไปภาระของคนอื่น ให้กลับมาคิดอย่างละเอียดถี่ถ้วนอีกครั้งถึงความเหมาะสม
              เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา (วันปิยมหาราช ปี พ.ศ.2555) ผู้เขียนได้ขับรถผ่านจังหวัดสระบุรี พักกินข้าวที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง รู้สึกสะดุดตากับถังขยะที่เรียงรายอย่างเป็นระเบียบ พร้อมกับติดป้ายความหมายของประเภทขยะต่าง ๆ ...คิดว่าทุกคนคงเคยเห็นถังขยะกันมาแล้วอย่างแน่นอน และก็เคยมีการรณรงค์ให้ช่วยกันทิ้งขยะให้ถูกประเภท แต่ก็คงมีหลายคนที่สงสัยเหมือนกันว่า ขยะที่เรากำลังจะทิ้ง มันอยู่ในประเภทไหนหว่า....(รวมถึงผู้เขียนด้วย...อิอิ.)
การจัดการขยะ ประเภทของขยะ ถังขยะ              การติดป้ายบอกประเภทและคำอธิบายสั้น ๆ เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ทำให้ทั้งผู้ทิ้งและผู้เก็บลดภาระในการแยกขยะอีกครั้ง อีกทั้งยังสามารถนำขยะนั้น ๆ ไปทำลายหรือไปรีไซเคิล (Recycle) ได้อย่างถูกวิธี นับว่าเป็นการปลูกจิตสำนึกของคนไทยไปในตัว อาจจะเป็นมุมเล็ก ๆ ที่คนทั่วไปไม่ได้สังเกต แต่ผู้เขียนอยากจะขอบคุณจุดเล็ก ๆ ของความคิดดี ๆ อันนี้....เพราะเราทุกคนต่างก็คงเห็นด้วยกันว่า "จุดเล็ก ๆ นี่แหละที่ทำให้ภาพใหญ่ ๆ สวยงาม"............ขอบคุณจริง ๆ ครับ


               ประเภทของขยะ

               ขยะย่อยสลายได้ คือ ขยะอินทรีย์ ได้แก่ เศษผัก เศษอาหาร และเปลือกผลไม้ หากทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทน(ก๊าซมีเทน เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความรุนแรงมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 23 เท่าตัวเลยทีเดียว และก็เป็นก๊าซที่มีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอยู่ในตอนนี้)
               
               ขยะรีไซเคิล คือ ขยะที่ขายได้ เพราะสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ได้แก่ กระดาษ พลาสติก โลหะขวดแก้วต่าง ๆ  (ข้อดีของแก้วคือสามารถใช้หลอมกี่รอบก็ได้โดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยน แทนที่จะหลอมเม็ดทรายก็หลอมแก้วแทน)

               ขยะอันตราย คือ ขยะที่ใช้แล้วต้องทิ้ง ได้แก่ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ เข็มฉีดยา หลอดไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ ซึ่งต้องกำจัดอย่างถูกวิธี

               ขยะทั่วไป คือ ขยะที่ใช้ประโยชน์ต่อไม่ได้ ได้แก่ เปลือกลูกอม ถุงขนม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติกที่เปื้อนอาหาร
             
ข้อสังเกต 
          หากไม่แน่ใจว่าขยะหรือบรรจุภัณฑ์ที่คุณถืออยู่เป็นขยะประเภทใด ให้มองรอบ ๆ หีบห่อบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เราจะทำการทิ้ง เพราะบางผลิตภัณฑ์จะมีสัญลักษณ์บ่งบอกประเภทขยะ ให้คุณแยกก่อนทิ้งได้ง่ายขึ้น
               

Pages