วันอาทิตย์, พฤษภาคม 13, 2555

สัตว์ป่าที่ต้องสงวนและคุ้มครอง 15 ชนิด

สัตว์ป่าที่ต้องสงวนและคุ้มครองมี 15 ชนิด

       โลกเรานี้ไม่ใช่เป็นเพียงที่อยู่ของคนแต่ที่จริงมันเป็นของสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลายตั้งแต่เชื้อจุลชีพ กระทั่งพืช และสัตว์ใหญ่น้อย
และเราก็ปฏิเสธมันเพื่อที่จะครอบครองโลกเพียงลำพังมนุษย์นั้นไม่ได้ด้วย สัตว์ป่าทุกชนิดล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของป่า ป่าเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมบนผิวโลกที่คนเราใช้อาศัยอยู่ ทุกอย่างเกื้อกูลกันตามธรรมชาติ
          สำหรับประเทศไทยเรามีกฎหมายเพื่อสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าหายาก เรียกว่า สัตว์ป่าสงวน
          สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย
          สัตว์ป่าสงวนของไทยเรามีทั้งสิ้นรวมเป็น ๑๕ ชนิด ได้แก่
          นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ชื่ออื่น นกตาพอง เป็นนกนางแอ่นชนิดหนึ่ง ขนาดวัดจากปลายจะงอยปากถึงโคนหางยาวประมาณ ๑๕ ซม. พบบริเวณบึงบรเพ็ด จ.นครสวรรค์ เพียงแห่งเดียวในโลก
          แรด ชื่ออื่น แรดชวา ในอดีตแรดเคยหากินอยู่ทั่วพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่เบงกอลมาทางตะวันออกจนถึงพม่า ไทย กัมพูชา ลาว เรื่อยไปจนถึงเวียดนาม ทางใต้ก็แผ่คลุมพื้นที่ตลอดคาบสมุทรมลายู รวมถึงเกาะสุมาตราและชวา ทางเหนือก็มีเขตหากินไปไกลถึงมณฑลหูหนานและเสฉวน
           กระซู่ ชื่ออื่น แรดสุมาตรา เป็นแรดพันธุ์เล็กที่สุดในบรรดาแรด ๕ ชนิดของโลก มี ๒ นอ ความสูงที่ระดับไหล่ ๑.๐-๑.๔ เมตร น้ำหนัก ๙๐๐ – ๑๐๐๐ กิโลกรัม มีขนปกคลุมทั้งตัว ปีนเขาเก่ง
           เลียงผา เป็นสัตว์กีบคู่ มีเขาจำพวกแพะ อาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผาหรือถ้ำ สามารถเคลื่อนที่ในที่สูงชันอย่างว่องไวและปราดเปรียวมาก สามารถว่ายน้ำข้ามระหว่างเกาะกับแผ่นดินได้
            สมัน ชื่ออื่น เนื้อสมัน  เป็นกวางขนาดกลาง ความสูงระดับไหล่ ๑ เมตร ได้ชื่อว่ามีเขาสวยที่สุด การแตกแขนงของเขาเมื่อโตเต็มวัยจะมีลักษณะคล้ายสุ่มที่หงายขึ้น จึงเรียกว่า “กวางเขาสุ่ม”
             กูปรี ชื่ออื่น วัวเขาเกลียว,โคไพร เป็นสัตว์ป่าตระกูลเดียวกับกระทิงและวัวแดง น้ำหนักประมาณ ๗๐๐ – ๙๐๐ กิโลกรัม อยู่รวมกันเป็นฝูง ๒ – ๒๐ ตัว มีลักษณะพิเศษคือ ตัวผู้ที่โตเต็มที่มักจะมีปลายเขาที่แตกเป็นพู่
             นกแต้วแล้วท้องดำ ขนาดลำตัววัดจากจะงอยปากถึงโคนหางยาว ๒๑ เซนติเมตร ชอบกินไส้เดือน ส่งเสียงร้อง “วัก วัก” เพื่อประกาศอาณาเขตและร้องหาคู่ ส่งเสียงร้อง “แต้ว แต้ว” ขณะตกใจ
             ควายป่า ชื่ออื่น มหิงสา เป็นบรรพบุรุษของควายบ้าน ขนาดของลำตัวใหญ่กว่าควายบ้าน รอบคอด้านหน้ามีรอยสีขาว เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวหงายอยู่  เรียกว่า “รอยเชียดคอ” ขาทั้งสี่มีสีขาวเหมือนใส่ถุงเท้า
             แมวลายหินอ่อน เป็นแมวป่าขนาดกลาง น้ำหนักประมาณ ๔-๕ กิโลกรัม อยู่ในป่าดงดิบและป่าดิบชื้น ชอบอยู่บนต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ แมลง งู นกหนู และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก
              กวางผา ชื่ออื่น ม้าเทวดา มีลักษณะคล้ายแพะ น้ำหนักประมาณ ๒๐-๓๒ กิโลกรัม มีขาแข็งแรงสามารถกระโดดตามชะง่อนผมได้อย่างว่องไว และแม่นยำ พบตามยอดเขาสูงชัน สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า ๑,๐๐๐ เมตร ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปี
               เก้งหม้อ ชื่ออื่น เก้งดำ, กวางจุก เป็นเก้งที่มีสีคล้ำกว่าเก้งธรรมดา ทางด้านบนสีดำตัดกับสีขาวด้านล่างชัดเจน บริเวณโคนเขามีขนยาวแน่นและฟูเป็นกระจุก ชอบอาศัยอยู่เดี่ยว ๆ ในป่าดงดิบตามลาดเขา
               สมเสร็จ ชื่ออื่น ผสมเสร็จ เป็นสัตว์หากินกลางคืน น้ำหนักประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ กิโลกรัม มีประสาทสัมผัสทางกลิ่นและเสียงดีมาก มีจมูกเหมือนงวงช้าง รูปร่างเหมือนหมู เท้าเหมือนแรด จึงเรียกว่าผสมเสร็จหรือสมเสร็จ
                พะยูน ชื่ออื่น หมูน้ำ, ปลาพะยูน สัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม น้ำหนักประมาณ ๓๐๐ กิโลกรัม ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง กินหญ้าทะเลตามบริเวณน้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง
ละอง ละมั่ง  ละอง เป็นชื่อเรียกตัวผู้ ส่วนละมั่งเป็นชื่อเรียกตัวเมีย ความสูงที่ระดับไหล่ ๑.๒-๑.๓ เมตร น้ำหนักประมาณ ๙๕-๑๕๐ กิโลกรัม ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ  

                      ทั้ง ๑๕ ชนิด ใครได้เห็นก็เรียกว่า นับเป็นบุญโขแล้ว

ที่มา : จากคอลัมน์ Living Together , นิตยสาร Together magazine ฉบับที่ 30 เมษายน 2012
   

วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 03, 2555

ความสำคัญในนาม ปรีดี พนมยงค์


ความสำคัญในนาม ปรีดี พนมยงค์ 

    วันปรีดี พนมยงค์ ตรงกับวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ของทุกปี ตรงกับวันคล้ายวันเกิด ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ชาตกาล เมือ ค.ศ. ๒๐๐๐ ได้รับการประกาศยกย่องจากยุเสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกและได้มีการบรรจุชื่อไว้ในปฏิทินเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญของยูเนสโก
   ถนนประดิษฐ์มนูธรรม  เป็นถนนเลียบทางพิเศษฉลองรัช กรุงเทพฯ มีความยาว ๑๒ กิโลเมตร
   ถนนปรีดี พนมยงค์ มีอยู่ ๓ สาย คือที่ถนนสุขุมวิท ๗๑  ถนนใจกลางเมืองพระนครศรีอยุธยา และภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
    สะพานปรีดี – ธำรง สะพานข้ามแม่น้ำป่าสักอันเป็นทางเข้าออกหลักของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ตั้งตามชื่อนาย ปรีดี พนมยงค์ และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์
     อนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ ตั้งอยู่ ๒ แห่ง คือ บริเวณลานหน้าตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ และหน้าอาคารยิมเนเซียม ๒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
     อนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ มีอยู่ ๒ ที่คือบริเวณที่ดินถิ่นกำเนิดของนายปรีดี จ. พระนครศรีอยุธยาและห้องอนุสรณ์สถานบนตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
     สถาบันปรีดี พนมยงค์ มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ ถนนสุขุมวิท ๕๕
     หอสมุดปรีดี พนมยงค์ เป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
     ปรีดีคีตานุสรณ์ คือ บทเพลงซิมโฟนีหมายเลข ๔ ประพันธ์โดยคีตกวี สมเถา สุจริตกุล ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาล ปรีดี พนมยงค์
      วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ คณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
       นกปรีดี (Chloropsis Aurifrons Pridii) เป็นชื่อนกชนิดย่อยของนกเขียวก้านทองหน้าผากสีทอง ที่สถาบันสมิธโซเนียนแห่งสหรัฐอเมริกาตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติในฐานะหัวหน้าขบวนการเสรีไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙
          ปลาปล้องทองปรีดี (Schistura Pridii) เป็นปลาที่ถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ พบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

ที่มา : จากคอลัมน์ Someone Special  ของ Together MagaZine  ปีที่ 3 ฉบับที่ 30 เมษายน 2555

Pages