วันจันทร์, เมษายน 19, 2564

หมวด ๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การกําหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

หมวด ๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การกําหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

๑) การกําหนดพื้นที่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้มีแผนที่ แสดงแนวเขตซึ่งจัดทําด้วยระบบภูมิสารสนเทศหรือระบบอื่นซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันแนบท้ายพระราชกฤษฎีกา (มาตรา ๔๗ วรรคหนึ่ง)

๒) มาตรการบังคับหรือมาตรการคุ้มครองในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าให้เป็นไปตามที่ กําหนดในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ เว้นแต่กฎหมายอื่นจะได้กําหนดมาตรการ ในเรื่องดังกล่าวไว้ไม่ต่ํากว่ามาตรการที่กําหนดในพระราชบัญญัติ (มาตรา ๔๗ วรรคสอง)

ต) พื้นที่ที่จะกําหนดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จะต้องไม่เป็นที่ดินที่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมายของบุคคลใด เว้นแต่เป็นที่ดินของหน่วยงานของรัฐ (มาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง)

๔) การกําหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ดูแลรักษา หรือมี หน่วยงานของรัฐได้รับอนุญาตหรือให้มีการใช้หรือทําประโยชน์ ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขอความเห็นจากหน่วยงานของรัฐนั้นก่อน (มาตรา ๔๔ วรรคสอง)

๕) การขยายหรือเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ตราเป็น พระราชกฤษฎีกาและในกรณีที่เป็นการขยายหรือการเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบางส่วน ให้มีแผนที่ แสดงแนวเขตที่เปลี่ยนแปลงไปแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย (มาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง)

๖) ในการกําหนดให้พื้นที่บริเวณใดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาดําเนินการ (มาตรา ๔๔ วรรคสาม) และให้ใช้บังคับกับการขยาย หรือการเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยอนุโลม (มาตรา ๕๑ วรรคสอง)

พื้นที่เตรียมการกําหนดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ประกาศพื้นที่ที่ได้ ทําการสํารวจแล้วเห็นว่ามีความเหมาะสมจะกําหนดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นพื้นที่เตรียมการกําหนด เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้ (มาตรา ๔๔ วรรคสอง)

หลักเขต ป้าย เครื่องหมายแสดงแนวเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (มาตรา ๕๐)

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องจัดให้มีหลักเขต ป้าย เครื่องหมายแสดง แนวเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเครื่องหมายอื่นที่จําเป็น เพื่อให้ประชาชนทราบว่าเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอํานวยความสะดวกและให้ความรู้แก่ประชาชน

หมวด ๓ คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

หมวด ๓ คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

๑) องค์ประกอบคณะกรรมการของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มีจํานวน อย่างน้อย ๒๐ คน แต่ไม่เกิน ๒๒ คน ประกอบด้วย (มาตรา ๓๔)

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ - ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการ

- ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมศุลกากร เลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และผู้อํานวยการองค์การสวนสัตว์ เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนไม่น้อยกว่า ๕ คน แต่ไม่เกิน ๗ คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จากผู้ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ด้านสัตว์ป่า ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชุมชน หรือด้านกฎหมาย

- อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นกรรมการและเลขานุการ ๒) หน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มีดังนี้ (มาตรา ๔๕)

- พิจารณาให้ความเห็นชอบการกําหนดพื้นที่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า และการขยายหรือการเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

- เสนอแนะนโยบายและมาตรการที่จําเป็นเพื่อการคุ้มครองและดูแลรักษาสภาพธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า และพื้นที่ควบคุมเพื่อการ จัดการสัตว์ป่า

- ให้ความเห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการการอนุรักษ์สัตว์ป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

- กําหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อการอนุรักษ์และเพาะพันธุ์สัตว์ป่า การค้าสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า และการประกอบกิจการสวนสัตว์

- พิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการออกกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่พระราชบัญญัตินี้ กําหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

- ให้คําปรึกษาต่อรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับสัตว์ป่า และปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีมอบหมาย

- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นหน้าที่หรืออํานาจของคณะกรรมการสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า

- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางาน เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่มอบหมาย (มาตรา ๔๖)

Pages