วันจันทร์, เมษายน 19, 2564

หมวด ๑ สัตว์ป่า

 หมวด ๑ สัตว์ป่า สัตว์ป่า แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้

๑) สัตว์ป่าสงวน เป็นสัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์จําเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้ อย่างเข้มงวด มีจํานวน ๑๔ ชนิด ตามบัญชีสัตว์ป่าสงวนตามท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้แก่ กระซู่ กวางผา กูปรีหรือโคไพร เก้งหม้อ ควายป่า พะยุนหรือหมูน้ํา แมวลายหินอ่อน แรด ละองหรือละมั่ง เลียงผาหรือเยืองหรือกรําหรือโคร่ํา วาฬบรูด้า วาฬโอมูระ สมเสร็จ สมันหรือเนื้อสมัน นกกระเรียน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกแต้วแล้วท้องดํา เต่ามะเฟือง ปลาฉลามวาฬ (มาตรา ๔)

การกําหนดให้สัตว์ป่าชนิดใดเป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติมให้อธิบดีโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กระทําโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา ๖)

ในกรณีที่สัตว์ป่าสงวนชนิดใดมีจํานวนเพิ่มขึ้นจนไม่มีสภาพใกล้สูญพันธุ์และไม่จําเป็น ต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวดอีกต่อไป เพื่อให้สัตว์ป่าสงวนนั้นพ้นจากการเป็นสัตว์ป่าสงวน ให้อธิบดี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กระทําโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา ๖)

๒) สัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าชนิดที่มีความสําคัญต่อระบบนิเวศ หรือจํานวนประชากร ของสัตว์ป่าชนิดนั้นมีแนวโน้มลดลงอันอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ (มาตรา ๔)

การกําหนดให้สัตว์ป่าชนิดใดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ให้กําหนดในกฎกระทรวงโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (มาตรา ๗)

๓) สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ สมควรส่งเสริมให้มีการเพาะขยายพันธุ์เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ได้ (มาตรา ๔)

การกําหนดให้สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดใดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ ให้กําหนดโดย ประกาศของรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (มาตรา ๔)

๔) สัตว์ป่าควบคุม เป็นสัตว์ป่าชนิดที่ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญา CITES และสัตว์ป่าอื่น ที่ต้องมีมาตรการควบคุมที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการรักษาจํานวนประชากรของสัตว์ป่าอื่นนั้น (มาตรา ๔)

การกําหนดให้สัตว์ป่าชนิดใดเป็นสัตว์ป่าควบคุม ให้กําหนดโดยประกาศรัฐมนตรี (มาตรา ๔)

๕) กําหนดบทบัญญัติเพื่อรองรับสิทธิของบุคคลที่มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่า โดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งตรงกับชนิดของสัตว์ป่าสงวนที่กําหนดเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตาม ความในมาตรา ๖ วรรคสอง อยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ หรือตรงกับชนิดของสัตว์ป่า คุ้มครองที่กําหนดเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๗ อยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงดังกล่าว มีผลใช้บังคับ ให้มาแจ้งรายการเกี่ยวกับชนิดและจํานวนของสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่า ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในระยะเวลาที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประกาศกําหนด เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว หรือใบรับรองการครอบครองซากสัตว์ป่าสงวนหรือซากสัตว์ป่าคุ้มครองให้แก่บุคคลดังกล่าว หรือกรณี ไม่ประสงค์จะครอบครองให้จําหน่าย จ่าย โอน แก่ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ของรัฐ หรือเอกชน หากไม่สามารถดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ครอบครองยินยอม ให้ตกเป็นของแผ่นดิน (มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑)

 

การคุ้มครองสัตว์ป่า

๑) ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า กรณีกระทําด้วยความจําเป็นเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากอันตรายหรือเพื่อ สงวนหรือรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น และการล่านั้นได้กระทําพอสมควรแก่เหตุ ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ (มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓)

๒) ห้ามมิให้ผู้ใดเก็บ ทําอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่าสงวน เว้นแต่เป็น กรณีของผู้ที่มีสัตว์ป่าสงวนไว้ในครอบครองโดยถูกต้อง หรือรังของสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นรังของสัตว์ป่า คุ้มครองตามชนิดที่รัฐมนตรีกําหนดและโดยได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกรณีผู้ที่มีสัตว์ป่า คุ้มครองไว้ในครอบครองโดยถูกต้อง ข้อห้ามมิให้มีการเก็บ ทําอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่า สงวนและรังของสัตว์ป่าคุ้มครอง ไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตเก็บรังนกตามกฎหมายว่าด้วยอากรรังนก อีแอ่น (มาตรา ๑๔)

๓) ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือปล่อยเป็นอิสระซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือกระทําการใด ๆ ให้สัตว์ป่านั้นพ้นจากการดูแลของตน เว้นแต่ได้จําหน่าย จ่าย หรือโอนสัตว์ป่านั้นให้แก่ ผู้ที่สามารถครอบครองสัตว์ป่าดังกล่าวได้โดยชอบ หรือประสงค์จะส่งมอบให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมประมงดูแล โดยผู้ครอบครองต้องชําระค่าใช้จ่ายในการดูแลสัตว์ป่าแก่กรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมประมงแล้วแต่กรณี (มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖)

การครอบครองสัตว์ป่า

๑) ห้ามมีไว้ในครองครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว เว้นแต่ เป็นการครอบครองโดยผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ตามมาตรา ๓๓ หรือสวนสัตว์ ที่หน่วยงานของรัฐจัดตั้งตามหน้าที่ หรือเป็นการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ของผู้รับใบอนุญาต ดําเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าตามมาตรา ๒๘ ที่มีไว้เพื่อการเพาะพันธุ์หรือได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว (มาตรา ๑๗)

๒) การมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์หรือซาก สัตว์ป่าดังกล่าว ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี เว้นแต่เป็นการครอบครองตามใบอนุญาตค้าสัตว์ป่า โดยผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๐ เพื่อสร้างระบบตรวจสอบและติดตามว่าสัตว์ป่าดังกล่าวไม่ได้มาจากการล่า (มาตรา ๑๘)

๓) การมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าควบคุมเฉพาะชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดหรือซาก สัตว์ป่าดังกล่าว ให้แจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เว้นแต่เป็นการครอบครองตามใบอนุญาต ค้าสัตว์ป่าโดยผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๐ มาตรา ๑๙)

๔) กําหนดบทบัญญัติรองรับในกรณีที่มีการออกประกาศกําหนดชนิดสัตว์ป่าควบคุมที่ต้อง มีการแจ้งการครอบครองตามมาตรา ๑๔ ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กําหนดระยะเวลา ให้ผู้มีไว้ในครอบครองอยู่ก่อนวันที่ประกาศกําหนดชนิดสัตว์ป่าควบคุมจะมีผลใช้บังคับ แจ้งการครอบครอง ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อกําหนดให้บุคคลที่มีสัตว์ป่าควบคุมไว้ในครอบครองเข้าสู่ระบบกฎหมาย อย่างถูกต้อง (มาตรา ๒๐)

๕) มิให้นําความในมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ ใช้บังคับแก่การช่วยเหลือสัตว์ป่า ที่ถูกทอดทิ้ง บาดเจ็บ ป่วย หรืออ่อนแอ และได้แจ้งการช่วยเหลือสัตว์ป่านั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๒๑)

สรุปสาระสําคัญ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒


สรุปสาระสําคัญ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒

•••••••••••••••••••••••••••••••

๑. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้

โดยที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทําให้บทบัญญัติบางประการและมาตรการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในกฎหมายไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้อง กับสถานการณ์ปัจจุบันที่จะใช้เป็นเครื่องมือหรือเอื้ออํานวยต่อการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง ดูแลรักษา ฟื้นฟู สัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับ ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกในข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสัตว์ป่าและพืชป่าซึ่งมีผลทําให้ต้องปฏิบัติ ตามพันธกรณีภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศดังกล่าว เพื่อจัดให้มีมาตรการในการควบคุมการครอบครอง การค้า การนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า ตลอดจน การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่าให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 ๒. สาระสําคัญ

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ มีจํานวน ๑๒๑ มาตรา แบ่งออกเป็น ๙ หมวด ได้แก่ หมวด ๑ สัตว์ป่า (มาตรา ๖ - มาตรา ๓๒) หมวด ๒ สวนสัตว์ (มาตรา ๓๒ - ๓๘) หมวด ๓ คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (มาตรา ๓๙ - มาตรา ๔๖) หมวด ๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (มาตรา ๔๗ – ๕๗) หมวด ๕ เงินค่าบริการหรือเงินค่าตอบแทน (มาตรา ๕๘ – ๒๑) หมวด ๖ เขตห้ามล่า สัตว์ป่า (มาตรา ๖๒ – ๗๐) หมวด ๗ การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ (มาตรา ๗๑) หมวด ๘ การควบคุมและพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๗๒ - ๔๖) หมวด ๔ บทกําหนดโทษ (มาตรา ๘๗ - ๑๑๐) และบทเฉพาะกาล (มาตรา ๑๑๑ - ๑๒๑) โดยมีรายละเอียดที่สําคัญสรุปได้ ดังนี้

 

บทนิยาม (มาตรา ๔) กําหนดบทนิยามเพื่ออธิบายความหมายถ้อยคําที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น

“สัตว์ป่า” หมายความว่า สัตว์ทุกชนิดซึ่งโดยทั่วไปย่อมเกิดและดํารงชีวิตอยู่ในธรรมชาติ อย่างเป็นอิสระ และให้หมายความรวมถึงไข่และตัวอ่อนของสัตว์เหล่านั้นด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึง สัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ สัตว์ซึ่งได้รับการยอมรับในทางวิชาการว่าสายพันธุ์นั้น เป็นสัตว์บ้านไม่ใช่สัตว์ป่า และสัตว์ที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์ดังกล่าว

“ซากสัตว์ป่า” หมายความว่า ร่างกาย หรือส่วนของร่างของสัตว์ป่าที่ตายแล้วหรือเนื้อ ของสัตว์ป่า ไม่ว่าจะได้ปิ้ง ต้ม รม ย่าง ตากแห้ง หมัก ดอง หรือทําอย่างอื่นเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย และไม่ว่าจะ ชําแหละ แยกออก หรืออยู่ร่างของสัตว์ป่านั้น และให้หมายความรวมถึงเขา หนัง กระดูก กะโหลก ฟัน งา ขนาย นอ ขน เกล็ด เล็บ กระดอง เปลือก เลือด น้ําเหลือง น้ําเชื้อ หรือส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ป่าที่แยกออกจาก ร่างของสัตว์ป่าไม่ว่าจะยังมีชีวิตหรือตายแล้ว

“ผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า” ให้หมายความรวมถึงอนุพันธ์หรือสิ่งอื่นใดที่ได้มาจากสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าที่ตรวจสอบหรือจําแนกได้โดยเอกสารกํากับ บรรจุภัณฑ์ เครื่องหมาย ฉลาก หรืออื่น ๆ ว่าเป็นของสัตว์ป่าชนิดนั้น ๆ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

“เพาะพันธุ์” หมายความว่า ขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่นํามาเลี้ยงโดยวิธีผสมพันธุ์ และให้ หมายความรวมถึงขยายพันธุ์สัตว์ป่าด้วยวิธีผสมเทียม ย้ายฝากตัวอ่อน หรือโดยวิธีการอื่นใดซึ่งมีวัตถุประสงค์ ในการเพิ่มจํานวนสัตว์ป่าดังกล่าว

 “ค้า” หมายความว่า ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จําหน่าย จ่าย แจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงมีหรือแสดงไว้ซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์ จากซากสัตว์ป่าเพื่อการค้า การประกาศหรือโฆษณาหรือนําเสนอทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสื่อใด ๆ เพื่อการค้าด้วย

Pages