เพลงชาติไทยมีคําว่าไทยกี่คํา
ทุก ๆ เช้าก่อนเข้าห้องเรียน นักเรียนประถมทุกชั้น จะยืนเรียงแถวหน้าเสาธง
นักเรียนที่ตัวเล็กสุดของชั้นจะยืนอยู่ด้านหน้า แล้วไล่เรียงลำดับความสูงขึ้นไปเรื่อย
ๆ จนปลายแถว
บางครั้งครูจะให้นักเรียนทุกคนนั่งลง เพื่อให้เราคุณครูที่ยืนพูดอยู่หน้าเสาธงได้ถนัด
เรื่องที่พูดคุยก็เป็นเรื่องทั่วไป การรักษาความสะอาด การมาสาย แล้วแต่ว่าช่วงนั้นมีเรื่องอะไรน่าสนในอยู่
บางครั้งคุณครูพูดนานเกินไปจนพวกเราร้อนกันไปหมด ยกเว้นในฤดูหนาวที่พวกเราอยากจะนั่งฟังคุณครูพูดนาน
ๆ
ทุกเช้าของโรงเรียนที่ผู้เขียนเคยเรียนเมื่อตอนเด็ก ช่วงเช้าบางวันก็เป็นสิ่งน่ากลัวสำหรับเด็ก
ๆ อย่างเรา เพราะหากมีคนโดดเรียน แกล้งเพื่อน หรือทำผิดบางอย่าง ก็จะถูกเรียกมายืนให้คุณครูตีก้นหน้าเสาธง
ทั้งเจ็บทั้งอายเด็กนักเรียนหญิง นี่แหละเป็นสิ่งหนึ่งที่บางวันเราไม่อยากจะไปโรงเรียน
หลังจากนั้นเราก็จะร้องเพลงชาติกัน ตอนเด็ก ๆ ผู้เขียนใฝ่ฝันอยากจะเป็นคนยืนเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสา
เพราะจะเป็นเด็กผู้ชายคนหนึ่ง กับเด็กผู้หญิงคนหนึ่งทำหน้าที่ทุกวัน บางครั้งก็เปลี่ยนคน
แต่ก็จะมีอยู่ไม่กี่คนที่เวียนซ้ำ ๆ กัน
การค่อย ๆ เชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาพร้อม ๆ กับธงที่สุดพอดีกลับเพลงที่ร้องจนจบ
เป็นอะไรที่เครียดมากสำหรับเด็ก ๆ เพราะเมื่อเราไปยืนอยู่ใต้เสาธงจริง ๆ เราจะมองไม่ค่อยเห็นว่าธงขึ้นถึงระดับไหนแล้ว
ต้องกะ ๆ เอา บางครั้งเพลงชาติร้องจบแล้ว แต่ธงยังไม่ถึงยอดเสาก็มี ในบางวันเมื่อมีเหตุการณ์ไว้อาลัยต่าง
ๆ คุณครูก็จะให้เราเชิญธงเพียงแต่ครึ่งเสาเท่านั้น
คำถามที่สะกิดใจเมื่อเราโตขึ้นก็คือ
เราร้องเพลงชาติไทยมาตั้งแต่เด็ก ๆ แต่เราส่วนใหญ่ก็ไม่เคยนับกันสักทีว่า
เพลงชาติไทย มีคำว่าไทยกี่คำ ถ้าอย่างนั้นวันนี้เรามาช่วยกันนับพร้อมกันดีกว่า ว่าเพลงชาติไทยที่เราร้องกันอยู่ทุกวัน
ฟังกันทุกแปดโมงเช้า และ หกโมงเย็น มีคำว่าไทยกี่คำกันแน่
ผู้เขียนได้ทำการมาร์คสีแดงในส่วนที่เป็นคำว่าไทย
ในเนื้อเพลงชาติไทยเพื่อที่จะได้นับกันง่าย ๆ สรุปออกมาแล้วว่าเพลงชาติไทยมีคำว่าไทยทั้งหมด
6 คำ ส่วนสำหรับบางคนอาจจะแย้งว่า คำว่า "ผไท"
ก็ออกเสียงคำว่า "ไทย" เหมือนกันนะ ประเด็นนี้ผู้เขียนก็เห็นด้วย
ดังนั้นจึงขอสรุปง่าย ๆ ดังนี้
เพลงชาติไทยมีคำที่เขียนว่า "ไทย" ทั้งหมด 6 คำ
เพลงชาติไทยมีคำที่ออกเสียงคำว่า "ไทย" ทั้งหมด 7 คำ โดยรวมคำว่า "ผไท" ไว้ด้วย
ส่วนผู้อ่านจะคิดว่ามีกี่คำก็สุดแล้วแต่ว่าชอบแบบไหนนะครับ
ประวัติเพลงชาติไทยโดยย่อ
ในหลากหลายประเทศทั่วโลกต่างก็มีเพลงประจำชาติเป็นของตนเอง
ไม่เว้นแม้แต่บ้านเราที่ก็มี “เพลงชาติไทย ” มาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ซึ่งในสมัยที่ชาติสยามยังปกครองด้วยระบอบ “สมบูรณาญาสิทธิราช”
ได้มีการใช้ “เพลงสรรเสริญพระบารมี” เป็นเพลงเพื่อถวายความเคารพกษัตริย์ต่างชาติที่เสด็จเยี่ยมประเทศสยามตามธรรมเนียมสากล
จนมาถึงปีพุทธศักราช 2482 รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศ
จาก “สยาม” เป็น “ประเทศไทย” จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพลงประจำชาติไทยใหม่
โดยเปิดให้มีการส่งเนื้อเพลงชาติเข้าประกวด
มีหลักการอยู่ว่าต้องแต่งให้เข้าทำนองของเพลงชาติฉบับเดิม ซึ่งในการยื่นประกวดแต่งเนื้อร้องครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
จนในที่สุดคณะกรรมการได้ตัดสินคัดเลือกเนื้อร้องของ “หลวงสารานุประพันธ์”
นำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัย
ไม่นานจึงมีมติรับเนื้อเพลงใหม่นี้ และได้รับแก้ไขบ้างในบางช่วงตามความเหมาะสม
ในวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2482 รัฐบาลได้ออกประกาศ “รัฐนิยมฉบับที่ 6” ให้ใช้ทำนองเพลงชาติของ “พระเจนดุริยางค์”
ตามแบบฉบับเดิมที่กรมศิลปากร ส่วนเนื้อร้องให้ใช้ของ “หลวงสารานุประพันธ์” ซึ่งประพันธ์ทั้งหมดขึ้นใหม่ในนามของ
“กองทัพบก” จึงกลายมาเป็นแบบฉบับที่เราได้ฟัง
ได้ร้องกันอยู่ในทุกวันนี้ ..
เพลงชาติไทย
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงค งไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย
เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงค งไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย
ที่มาเนื้อหาบางส่วน : http://campus.sanook.com/1380493/