กำเนิดของเพลงชาติไทย
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
|
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นเพลงชาติอยู่ 7 วัน (ใช้ชั่วคราว ระหว่างรอพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติใหม่) แต่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ผ่านไปได้ประมาณ 5 วันแล้ว หลวงนิเทศกลกิจ ซึ่งพระเจนดุริยางค์รู้ภายหลังว่าเป็น 1 ในสมาชิกคณะราษฎรด้วย ได้กลับมาขอร้องให้ท่านช่วยแต่งเพลงชาติอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของคณะผู้ก่อการ ท่านเห็นว่าคราวนี้หมดทางที่จะบ่ายเบี่ยง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ จึงขอเวลาในการแต่งเพลงนี้ 7 วัน และแต่งสำเร็จในวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ตนได้กำหนดนัดหมายวันแต่งเพลงชาติไว้ ขณะที่นั่งบนรถรางสายบางขุนพรหม-ท่าเตียน เพื่อไปปฏิบัติราชการที่สวนมิสกวัน จากนั้นจึงได้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับให้วงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลง โดยได้เลือกใช้ทำนองคล้ายคลึงกับเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอและมอบโน้ตเพลงนี้ให้หลวงนิเทศกลกิจนำไปบรรเลง ในการบรรเลงตนตรีประจำสัปดาห์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันพฤหัสบดีถัดมา พร้อมทั้งกำชับว่าให้ปิดบังชื่อผู้แต่งเพลงเอาไว้ด้วย[2]
อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ศรีกรุงก็ได้ลงข่าวเรื่องการประพันธ์เพลงชาติใหม่โดยเปิดเผยว่า พระเจนดุริยางค์เป็นผู้แต่งทำนองเพลงนี้ ทำให้พระเจนดุริยางค์ถูกเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวัง ตำหนิอย่างรุนแรงในเรื่องนี้ แม้ภายหลังพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี จะได้ชี้แจงว่าท่านและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คิดการแต่งเพลงนี้ และเพลงนี้ก็ยังไม่ได้รับรองว่าเป็นเพลงชาติเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการทดลองก็ตาม แต่พระเจนดุริยางค์ก็ได้รับคำสั่งปลดจากทางราชการให้รับเบี้ยบำนาญ ฐานรับราชการครบ 30 ปี และหักเงินเดือนครึ่งหนึ่งเป็นบำนาญ อีกครึ่งที่เหลือเป็นเงินเดือน โดยให้รับราชการต่อไปในอัตราเงินเดือนใหม่นี้ ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง[2]
เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุดแต่ไม่เป็นทางการ และ เป็นฉบับต้องห้าม ก่อนที่จะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ใน พ.ศ. 2476 มีดังนี้ (โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พ.ศ. 2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2475 และ พ.ศ. 2477)
แผ่นดินสยามนามประเทือง | ว่าเมืองทอง | |
ไทยเข้าครองตั้งประ | เทศเขตต์ แดนสง่า | |
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์ | บุราณ ลงมา | |
ร่วมรักษาเอก | ราษฎร์ชนชาติไทย |
เพลงชาติสยามฉบับราชการ พ.ศ. 2477
- 1. เพลงชาติแบบไทย
รัฐบาลได้ทดลองบรรเลงออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงอยู่ระยะหนึ่ง แต่ต่อมาเมื่อคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติจะเสนอผลการประกวดให้คณะรัฐมนตรีประกาศรับรองนั้น คณะกรรมการฯ ได้ประชุมกันและมีความเห็นว่า เพลงชาติมีลักษณะที่บ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์ หากมีการใช้อยู่ 2 เพลง จะทำให้คลายความศักดิ์สิทธิ์ลง จึงได้ตัดสินใจไม่เสนอเพลงชาติแบบไทยที่ได้คัดเลือกไว้ให้คณะรัฐมนตรีประกาศรับรองเป็นเพลงชาติในที่สุด[5]
- 2. เพลงชาติแบบสากล
บทร้องทั้งของขุนวิจิตรมาตราและนายฉันท์ ประพันธ์ในรูปฉันทลักษณ์แบบกลอนสุภาพ (กลอนแปด) ความยาว 4 บท แต่ละบทมี 4 วรรค ผลงานของแต่ละคนจึงมีความยาวของบทร้องเป็น 16 วรรค เมื่อนำมารวมกันแล้วจึงทำให้บทร้องเพลงชาติทั้งหมดมีความยาวถึง 32 วรรค ซึ่งนับว่ายาวมาก หากจะร้องเพลงชาติให้ครบทั้งสี่บทจะต้องใช้เวลาร้องถึง 3 นาที 52 วินาที (เฉลี่ยแต่ละท่อนรวมดนตรีนำด้วยทั้งเพลงตกที่ท่อนละ 35 วินาที) ในสมัยนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงนิยมร้องแต่เฉพาะบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา และต่อมาภายหลังจึงไม่มีการขับร้อง คงเหลือแต่เพียงทำนองเพลงบรรเลงเท่านั้น
เพลงชาติสยามฉบับสังเขป พ.ศ. 2478
ในปี พ.ศ. 2478 รัฐบาลของ พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ออกระเบียบการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติ ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 (มีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน) ระเบียบดังกล่าวนี้ได้มีการกำหนดให้แบ่งการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติออกเป็น 2 แบบ คือ การบรรเลงแบบพิสดาร (บรรเลงตามความยาวปกติเต็มเพลง) และการบรรเลงแบบสังเขป ในกรณีของเพลงชาตินั้น ได้กำหนดให้บรรเลงเพลงชาติฉบับสังเขปในการพิธีที่เกี่ยวข้องกับประชาชน สโมสรสันนิบาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีปกติ ส่วนการบรรเลงแบบเต็มเพลงนั้นให้ใช้ในงานพิธีใหญ่เท่านั้น[7]ท่อนของเพลงชาติที่ตัดมาใช้บรรเลงแบบสังเขปนั้น คือท่อนขึ้นต้น (Introduction) ของเพลงชาติ (เทียบกับเนื้อร้องเพลงชาติฉบับปัจจุบันก็คือตั้งแต่ท่อน สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี จนจบเพลง) ความยาวประมาณ 10 วินาที ไม่มีการขับร้องใดๆ ประกอบ[8]
เพลงชาติไทย พ.ศ. 2482 - ปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2482 "ประเทศสยาม" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ประเทศไทย" รัฐบาลจึงได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไขยังคงใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์อยู่เช่นเดิม แต่กำหนดให้มีเนื้อร้องความยาวเพียง 8 วรรคเท่านั้น และปรากฏคำว่า "ไทย" ซึ่งเป็นชื่อประเทศอยู่ในเพลงด้วย ผลการประกวดปรากฏว่าเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติไทย โดยแก้ไขคำร้องจากต้นฉบับที่ส่งประกวดเล็กน้อย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482[9] และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันเนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกไทยก่อนแก้ไขเป็นฉบับทางการมีดังนี้[10] (สำหรับเนื้อร้องฉบับประกาศใช้จริง ดูได้ในหัวข้อ เนื้อเพลง)
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย | เป็นประชาธิปไตยของไทยทุกส่วน |
อยู่ยืนยงดำรงไว้ได้ทั้งมวล | ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี |
ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด | เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ |
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี | เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย |
บทร้อง
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
คำร้อง: พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) บรรเลงและขับร้องโดย วงออร์เคสตราสี่เหล่าทัพ และวงดุริยางค์กรมศิลปากร จัดทำโดย คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
คำร้อง: ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) แผ่นเสียงโอเดียนตราตึก บรรเลงเครื่องสายฝรั่งวงใหญ่ทหารเรือ
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
คำร้อง: ฉันท์ ขำวิไล บรรเลงโดยวงดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์เหล่านี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ |
ฉบับปัจจุบัน
- ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
- คำร้อง: พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ในนามกองทัพบก
- ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
- เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
- อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
- ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
- ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
- เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
- สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
- เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย[9]
ฉบับ พ.ศ. 2477
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
|
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) คำร้อง: ขุนวิจิตรมาตรา (บทที่ 1 และบทที่ 2) แต่งเมื่อ พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 |
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) คำร้อง: ฉันท์ ขำวิไล (บทที่ 3 และบทที่ 4) แต่งเมื่อ พ.ศ. 2477 ประกาศใช้เพิ่มเติมจากเนื้อร้องเดิมในปีเดียวกัน |
|
|
การบรรเลง
ขั้นตอนการเทียบเวลา-เคารพธงชาติ ตอนเช้า
1.สปอตเชิญชวนเคารพธงชาติ 2.เพลงพม่าประเทศ (เพลงเทียบเวลา) 3.เสียงกดนาฬิกา 4.เวลา 07:59:55 น.เสียงต๊อด 1 ชุด (เสียงนาฬิกาดิจิตัล นับถอยหลังขึ้นชั่วโมงใหม่) 5.เวลา 08:00:00 น. (ตรง) เสียงนาฬิกาตี 8 ครั้ง 6.ขานว่า "เวลา 8 นาฬิกา" 7.เพลงชาติไทย
ขั้นตอนการเทียบเวลา-เคารพธงชาติ ตอนเย็น
1.ประกาศ "ที่นี่...สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย โปรดเตรียมเคารพธงชาติ" 2.เพลงพม่าประเทศ (เพลงเทียบเวลา) 4.เวลา 17:59:55 น.เสียงต๊อด 1 ชุด (เสียงนาฬิกาดิจิติล นับถอยหลังขึ้นชั่วโมงใหม่) 5.เวลา 18:00:00 น. (ตรง) ตีฆ้อง 1 ครั้ง และขานว่า "เวลา 18 นาฬิกา" 6.เพลงชาติไทย |
|
หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์เหล่านี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ |
แนวปฏิบัติสำหรับธงชาติไทยโดยทั่วไป ซึ่งบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศ ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 ได้ระบุไว้เช่นกันว่า เพลงชาตินับเนื่องเป็นหนึ่งอาณัติสัญญาณในการเคารพธงชาติ กล่าวคือ
- 1. เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นและลง ให้แสดงความเคารพโดยการยืนตรง หันไปทางเสาธง อาคาร หรือสถานที่ที่มีการชักธงชาติขึ้นและลง จนกว่าจะเสร็จการ
- 2. ในกรณีที่ได้ยินเพลงชาติหรือสัญญาณการชักธงชาติ จะเห็นหรือไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม ให้แสดงความเคารพโดยหยุดนิ่งในอาการสำรวม จนกว่าการชักธงชาติหรือเสียงเพลงชาติ หรือสัญญาณการชักธงชาติจะสิ้นสุดลง[12]
ในปัจจุบัน นอกจากการบรรเลงเพลงชาติ ในเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. ผ่านทางวิทยุกระจายเสียงเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์แล้ว ยังมีการแพร่ภาพวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยช่องต่างๆ อีกด้วย ซึ่งเดิมแต่ละสถานีฯ จะเป็นผู้จัดทำวีดิทัศน์ประกอบขึ้นเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 รัฐบาลไทยมีนโยบายให้สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำวีดิทัศน์กลางขึ้น เพื่อเผยแพร่โดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ไทยทุกแห่ง ในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยเริ่มใช้วีดิทัศน์ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป[ต้องการอ้างอิง] ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป ทางสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยช่องต่างๆ อีกด้วย ซึ่งแต่ละสถานี จะเป็นผู้จัดทำวิดีทัศน์ขึ้นเองทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย
ตามประกาศคณะการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตที่ใช้คลื่นความถี่ให้บริการทั่วไปต้องจัดให้ออกอากาศเพลงชาติไทยทุกวันในเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. [14]