วันอาทิตย์, พฤษภาคม 20, 2561

จุลศักราช

จุลศักราช (จ.ศ.; บาลี: Culāsakaraj; พม่า: ; เขมร: ចុល្លសករាជ) เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638) นับรอบปีตั้งแต่ 16 เมษายน ถึง 15 เมษายน เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ปรากฏอยู่ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้นเป็นเวลาก่อนปีที่พระเจ้าอโนรธามังช่อจะประสูติ สันนิษฐานว่าน่าจะตั้งขึ้นในปีที่กษัตริย์ปยูขึ้นครองราชย์ และใช้สืบต่อมาจนถึงอาณาจักรพุกาม[1] เมื่อสมัยอาณาจักรอโยธยารับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสมัยหลัง และอาณาจักรอยุธยา ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ทรงตัดปีจุลศักราช และใช้ปีศักราชจุฬามณีแทน เป็นผลทำให้ปีนักษัตรคลาดเคลื่อนไปสามปี ต่อมาจึงได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปีจุลศักราชตามเดิม และตกทอดมาถึงปัจจุบัน การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก 1181 ก็จะได้ปี พ.ศ. (เว้นแต่ในช่วงต้นปีตามปฏิทินสุริยคติที่ยังไม่เถลิงศกจุลศักราชใหม่)
ในเอกสารโบราณของไทยจำนวนไม่น้อย นิยมอ้างเวลา โดยใช้จุลศักราช โดยใช้ควบคู่กับปีนักษัตร หรือ ระบุเฉพาะเลขตัวท้ายของจุลศักราช และปีนักษัตร ทำให้สามารถระบุปี ได้ในช่วงกว้างถึงรอบละ 60 ปี (มาจาก ครน. ของรอบ 10 ปีจากเลขท้ายของจุลศักราช และรอบ 12 ปีของปีนักกษัตร)

การเรียกศกตามเลขท้ายปี

ในระบบการเรียกศกตามเลขท้ายปีจุลศักราช นิยมเรียกดังนี้
  1. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 1 เรียก "เอกศก"
  2. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 2 เรียก "โทศก"
  3. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 3 เรียก "ตรีศก"
  4. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 4 เรียก "จัตวาศก"
  5. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 5 เรียก "เบญจศก"
  6. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 6 เรียก "ฉศก"
  7. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 7 เรียก "สัปตศก"
  8. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 8 เรียก "อัฐศก"
  9. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 9 เรียก "นพศก"
  10. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 0 เรียก "สัมฤทธิศก"

วันศุกร์, พฤษภาคม 11, 2561

การเปลี่ยนหลอดไฟตู้เย็น HITACHI รุ่น R-64S-1 (ภาคต่อ)

การเปลี่ยนหลอดไฟตู้เย็น HITACHI รุ่น R-64S-1 (ภาคต่อ)    

การเปลี่ยนหลอดไฟส่องสว่างภายในตู้เย็น (ภาคต่อ)



ขนาดหลอดไฟตู้เย็น E14 แบบ LED เทียบขนาดกับ หลอดไส้
ขนาดหลอดไฟตู้เย็น E14 แบบ LED เทียบขนาดกับ หลอดไส้

      หลังจากลองนั่งคิดสักพักหนึ่ง ก็เลยลองไปหาข้อมูลต่อว่ามีหลอดใดที่จะนำมาเปลี่ยนแทนหลอดเดิมได้บ้าง ขนาดหลอดไฟนี่รู้แล้ว แต่ถ้าเป็นหลอดที่อายุการใช้งานยาวนานกว่านี้ล่ะ จะมีมั๊ย และที่สำคัญมันน่าจะประหยัดไฟหน่อยนะ (จริง ๆ  มันก็ไม่น่าเปลืองไฟหรอกนะ เพราะใช้กระแสแค่ตอนเปิดตู้เย็นเท่านั้น )
การใส่หลอดไฟตู้เย็น E14 แบบ LED
การใส่หลอดไฟตู้เย็น E14 แบบ LED
       ลองเข้าไปดู Aliexpress ลองค้นหาคำว่า หลอด E14 ส่วนใหญ่ก็จะโชว์หลอด LED ซะส่วนใหญ่ มีเทียบให้ดูด้วยว่าความสว่างเท่ากัน แต่ประหยัดไฟกว่ากันหลายเท่า จึงกดสั่งมาลองดู 2 หลอด
       ประมาณหนึ่งอาทิตย์ของก็มาถึง (เร็วมาก) ลักษณะก็ตามรูป แต่ขนาดจะใหญ่กว่าของเดิมค่อนข้างมาก ใจนึงก็พะวงว่าจะใส่หลอดไฟ LED ที่สั่งมาได้มั๊ย แอบลุ้นอยู่ แต่พอหมุนเกลียวเข้าไปแล้ว ปรากฏว่าใช้ได้ แต่หลอดจะเลยลงมาด้านล่างของช่องใส่หลอด ซึ่งก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรมากมายนัก
ระดับแสงไฟตู้เย็นของหลอด E14 แบบ LED
ระดับแสงไฟตู้เย็นของหลอด E14 แบบ LED
       สำหรับความสว่าง จากที่เห็นก็จะสว่างกว่าเดิมนิดนึง จริง ๆ หลอดที่สั่งมาจากเวปมีหลายขนาดตามจำนวน LED แต่ที่สั่งมานั้นกลัวว่าแสงจะไม่พอ เลยสั่งขนาดที่มี led มากตัวหน่อย ขนาดหลอดก็เลยค่อนข้างยาว
      ในส่วนของผู้อ่านที่อยากจะลองเปลี่ยนเป็นหลอด LED ดู ผู้เขียนคิดว่าหากซื้อหาได้ในราคาไม่แพงก็น่าสนใจอยู่ แต่ก็ต้องดูระยะยาวอีกทีว่าอายุการใช้งานจะยาวนานหรือไม่ ราคาค่าตัวหลอดที่ซื้อมาเปลี่ยนนั้น ราคาก็ตกประมาณหลอดละ 50 บาท ซึ่งสำหรับผู้เขียนคิดว่าเมื่อแลกกับค่าไฟฟ้าที่ลดลงนิดนึงกับอายุการใช้งานที่นานมากขึ้น(หวังไว้อย่างนั้น) ราคาก็น่าสนใจอยู่ แถมลดความร้อนจากหลอดไส้ไฟได้นิดนึงอ่ะนะ

วันพุธ, พฤษภาคม 02, 2561

การเปลี่ยนหลอดไฟตู้เย็น HITACHI รุ่น R-64S-1 (ภาคแรก)


การเปลี่ยนหลอดไฟตู้เย็น   HITACHI รุ่น R-64S-1 (ภาคแรก)

      เป็นเรื่องน่าปวดหัวอยู่ไม่น้อย เมื่ออยู่ ๆ ตู้เย็นที่บ้านก็มืดสนิทตอนเปิดเพื่อที่จะหยิบน้ำขึ้นมาดื่ม ตอนแรกเข้าใจว่าปลั๊กหลวมหรือหลุดจากเต้าเสียบ ..แต่ความเย็นก็ยังเย็นปกตินี่นา... คิดอย่างนั้นจีงเริ่มเช็คจากส่วนที่ง่ายที่สุดก่อนดีกว่า
“หลอดไฟตู้เย็น”
       เอาของที่วางเกะกะมือออก แล้วค่อย ๆ ล้วงเข้าไปบิดหลอดไฟออก จนหลอดไฟตู้เย็นค่อย ๆ คลายออกมา หน้าตาก็เป็นแบบที่เห็นนี่แหละ มีคราบสีดำติดอยู่โดยรอบหลอดแก้ว เมื่อส่องดูภายในกับแสงสว่าง ก็พบว่าไส้หลอดขาดเรียบร้อย คงต้องถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้วละ
หลอดไฟตู้เย็น  HITACHI รุ่น R-64S-1
หลอดไฟตู้เย็น  HITACHI รุ่น R-64S-1
      โดยปกติเราก็จะหยิบหลอดไฟตู้เย็นไปที่ร้านขายอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ หรือตามร้านขายอะไหล่ตู้เย็น แล้วถ้าวันหนึ่งเราไม่ได้ถือหลอดไฟตู้เย็นไปด้วย เราจะบอกกับคนขายว่าอย่างไรนะ?
คิดว่าหลายคนคงเคยพบกับปัญหาแบบนี้กันมาบ้าง  แน่นอนว่าหลอดไฟตู้เย็นจะมีขนาดแรงดันและกำลังไฟบอกอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ที่ว่าขนาดของเกลียวมันเท่าไหร่กันหล่ะ?
        อย่างหลอดตู้เย็นที่ขาด จะพิมพ์ที่ฐานหลอดว่า 230V/15W  แต่หลอดไฟขนาด 15 W. เอง ก็มีหลายขนาด ลองเอาไม้บรรทัดวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดไฟตู้เย็นได้ประมาณ 13 มิลลิเมตร กว่า ๆ ลองค้นข้อมูลก็พบว่ามีเรื่องราวเกี่ยวกับหลอดไฟชนิดนี้อยู่ไม่น้อย เลยขอเอามาแชร์เป็นความรู้ดีกว่า
        ปกติถ้าเราสังเกต จะพบว่าหลอดไฟขั้วเกลียว มักจะมีรหัสหลอดตัวหน้าเป็นอักษรตัว E หรือบางครั้งก็ไม่มี... แล้วอักษรตัว E ที่ขั้วหลอดไฟหมายถึงอะไรกันนะ
การวัดขนาดหลอดไฟตู้เย็น  HITACHI รุ่น R-64S-1
การวัดขนาดหลอดไฟตู้เย็น  HITACHI รุ่น R-64S-1
        อักษรตัว E ที่เราเห็นที่ฐานของหลอดไฟ มาจากคำว่า Edison (ชื่อเต็ม คือ Thomas Alva Edison) ซึ่งเป็นชื่อของผู้คิดค้นและประดิษฐ์หลอดไฟขึ้นมาเพื่อให้ทั้งโลกได้สว่างไสว สำหรับประวัติของผู้ชายคนนี้ผู้เขียนจะหาข้อมูลมาเล่าให้ฟังกันอีกทีนะครับ
       ส่วนตัวเลขที่อยู่ข้างหลังตัวอักษรตัว E แสดงถึงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของขั้วหลอดไฟ (ฐานที่จะใส่ขั้วหลอดลงไป) โดยจะมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร โดยตามมาตรฐานที่กำหนด มีตั้งแต่ขนาด E5 ถึง E40 หมายความว่า เส้นผ่านศูนย์กลางของขนาดหลอดไฟมีตั้งแต่ขนาด 5 มิลลิเมตร ถึงขนาด 40 มิลลิเมตร ( 4 เซนติเมตร ) แต่ที่ใช้โดยทั่วไปเป็นสากลทั่วโลก ร้อยละ 80 จะเป็น E5, E12, E14, E27, E40 สำหรับประเทศไทยที่ผู้เขียนเห็นใช้บ่อย ๆ จะเป็น  E14 และ E27 เป็นส่วนใหญ่ โดยมีทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการจำว่า  ขั้ว E14 มีขนาดเท่ากับนิ้วก้อย ส่วน E27 มีขนาดเท่ากับนิ้วโป้ง
          สำหรับเส้นผ่านศูนย์กลางที่วัดได้ 13 มิลลิเมตรกว่า ๆ ก็จะได้ขนาดหลอดตู้เย็นเทียบเท่าเบอร์ E14 (เนื่องจากขนาดขั้วหลอดจะเล็กกว่าขั้วของฐานใส่หลอดเล็กน้อย มิฉะนั้นจะใส่ขั้วหลอดไม่เข้า)
         ครั้งต่อไปหากไม่อยากถือหลอดตู้เย็นไป หรือว่าลืมถือหลอดไฟตู้เย็นไปร้านขายอะไหล่ ก็ให้วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของขั้วหลอดไฟ ได้ค่าประมาณเท่าไหร่ ก็เท่ากับมาตรฐานที่เราต้องการ หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อหลอดไฟตู้เย็นในครั้งหน้ากันนะครับ

วันอังคาร, พฤษภาคม 01, 2561

เพลงชาติไทยมีคําว่าไทยกี่คํา

เพลงชาติไทยมีคําว่าไทยกี่คํา
     ทุก ๆ เช้าก่อนเข้าห้องเรียน นักเรียนประถมทุกชั้น จะยืนเรียงแถวหน้าเสาธง นักเรียนที่ตัวเล็กสุดของชั้นจะยืนอยู่ด้านหน้า แล้วไล่เรียงลำดับความสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนปลายแถว
     บางครั้งครูจะให้นักเรียนทุกคนนั่งลง เพื่อให้เราคุณครูที่ยืนพูดอยู่หน้าเสาธงได้ถนัด เรื่องที่พูดคุยก็เป็นเรื่องทั่วไป การรักษาความสะอาด การมาสาย แล้วแต่ว่าช่วงนั้นมีเรื่องอะไรน่าสนในอยู่ บางครั้งคุณครูพูดนานเกินไปจนพวกเราร้อนกันไปหมด ยกเว้นในฤดูหนาวที่พวกเราอยากจะนั่งฟังคุณครูพูดนาน ๆ 
     ทุกเช้าของโรงเรียนที่ผู้เขียนเคยเรียนเมื่อตอนเด็ก ช่วงเช้าบางวันก็เป็นสิ่งน่ากลัวสำหรับเด็ก ๆ อย่างเรา เพราะหากมีคนโดดเรียน แกล้งเพื่อน หรือทำผิดบางอย่าง ก็จะถูกเรียกมายืนให้คุณครูตีก้นหน้าเสาธง ทั้งเจ็บทั้งอายเด็กนักเรียนหญิง นี่แหละเป็นสิ่งหนึ่งที่บางวันเราไม่อยากจะไปโรงเรียน หลังจากนั้นเราก็จะร้องเพลงชาติกัน ตอนเด็ก ๆ ผู้เขียนใฝ่ฝันอยากจะเป็นคนยืนเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสา เพราะจะเป็นเด็กผู้ชายคนหนึ่ง กับเด็กผู้หญิงคนหนึ่งทำหน้าที่ทุกวัน บางครั้งก็เปลี่ยนคน แต่ก็จะมีอยู่ไม่กี่คนที่เวียนซ้ำ ๆ กัน 
     การค่อย ๆ เชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาพร้อม ๆ กับธงที่สุดพอดีกลับเพลงที่ร้องจนจบ เป็นอะไรที่เครียดมากสำหรับเด็ก ๆ เพราะเมื่อเราไปยืนอยู่ใต้เสาธงจริง ๆ เราจะมองไม่ค่อยเห็นว่าธงขึ้นถึงระดับไหนแล้ว ต้องกะ ๆ เอา บางครั้งเพลงชาติร้องจบแล้ว แต่ธงยังไม่ถึงยอดเสาก็มี ในบางวันเมื่อมีเหตุการณ์ไว้อาลัยต่าง ๆ คุณครูก็จะให้เราเชิญธงเพียงแต่ครึ่งเสาเท่านั้น 
     คำถามที่สะกิดใจเมื่อเราโตขึ้นก็คือ เราร้องเพลงชาติไทยมาตั้งแต่เด็ก ๆ แต่เราส่วนใหญ่ก็ไม่เคยนับกันสักทีว่า เพลงชาติไทย มีคำว่าไทยกี่คำ ถ้าอย่างนั้นวันนี้เรามาช่วยกันนับพร้อมกันดีกว่า ว่าเพลงชาติไทยที่เราร้องกันอยู่ทุกวัน ฟังกันทุกแปดโมงเช้า และ หกโมงเย็น มีคำว่าไทยกี่คำกันแน่
    ผู้เขียนได้ทำการมาร์คสีแดงในส่วนที่เป็นคำว่าไทย ในเนื้อเพลงชาติไทยเพื่อที่จะได้นับกันง่าย ๆ สรุปออกมาแล้วว่าเพลงชาติไทยมีคำว่าไทยทั้งหมด 6 คำ ส่วนสำหรับบางคนอาจจะแย้งว่า คำว่า "ผไท" ก็ออกเสียงคำว่า "ไทย" เหมือนกันนะ ประเด็นนี้ผู้เขียนก็เห็นด้วย ดังนั้นจึงขอสรุปง่าย ๆ ดังนี้
       เพลงชาติไทยมีคำที่เขียนว่า "ไทย" ทั้งหมด 6 คำ
       เพลงชาติไทยมีคำที่ออกเสียงคำว่า "ไทย" ทั้งหมด 7 คำ โดยรวมคำว่า "ผไท" ไว้ด้วย
ส่วนผู้อ่านจะคิดว่ามีกี่คำก็สุดแล้วแต่ว่าชอบแบบไหนนะครับ
      
   ประวัติเพลงชาติไทยโดยย่อ 
          ในหลากหลายประเทศทั่วโลกต่างก็มีเพลงประจำชาติเป็นของตนเอง ไม่เว้นแม้แต่บ้านเราที่ก็มี เพลงชาติไทยมาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งในสมัยที่ชาติสยามยังปกครองด้วยระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชได้มีการใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงเพื่อถวายความเคารพกษัตริย์ต่างชาติที่เสด็จเยี่ยมประเทศสยามตามธรรมเนียมสากล จนมาถึงปีพุทธศักราช 2482 รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศ จาก สยามเป็น ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพลงประจำชาติไทยใหม่ โดยเปิดให้มีการส่งเนื้อเพลงชาติเข้าประกวด มีหลักการอยู่ว่าต้องแต่งให้เข้าทำนองของเพลงชาติฉบับเดิม ซึ่งในการยื่นประกวดแต่งเนื้อร้องครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดคณะกรรมการได้ตัดสินคัดเลือกเนื้อร้องของ หลวงสารานุประพันธ์นำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัย ไม่นานจึงมีมติรับเนื้อเพลงใหม่นี้ และได้รับแก้ไขบ้างในบางช่วงตามความเหมาะสม
ในวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2482 รัฐบาลได้ออกประกาศ รัฐนิยมฉบับที่ 6” ให้ใช้ทำนองเพลงชาติของ พระเจนดุริยางค์ ตามแบบฉบับเดิมที่กรมศิลปากร ส่วนเนื้อร้องให้ใช้ของ หลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งประพันธ์ทั้งหมดขึ้นใหม่ในนามของ กองทัพบกจึงกลายมาเป็นแบบฉบับที่เราได้ฟัง ได้ร้องกันอยู่ในทุกวันนี้ ..
เพลงชาติไทย
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย

เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน

อยู่ดำรงค งไว้ได้ทั้งมวล

ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี

ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด

เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่

สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี

เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย


ที่มาเนื้อหาบางส่วน : http://campus.sanook.com/1380493/

Pages