วันจันทร์, เมษายน 19, 2564

หมวด ๙ บทกําหนดโทษ

หมวด ๙ บทกําหนดโทษ

๑) กรณีก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า

- ผู้ใดกระทําการหรืองดเว้นกระทําการไม่ว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยมิชอบด้วย กฎหมาย และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาตินั้น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพด้วย (มาตรา ๘๗)

- ผู้ใดล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่นอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือนอกเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า ต้องชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาตินั้นด้วย (มาตรา ๘๔)

๒) กรณีกระทําต่อสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือสัตว์ป่าสงวน

- ผู้ใดล่าหรือค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า คุ้มครอง ตามมาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง)

- ผู้ใดล่า นําเข้า ส่งออก หรือค้าสัตว์ป่าสงวน ซากสัตว์ป่าสงวน หรือผลิตภัณฑ์ จากซากสัตว์ป่าสงวน ตามมาตรา ๑๒ มาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปี ถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๘๙ วรรคสอง)

๓) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนมาตรการ ควบคุมหรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๐ วรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๐)

๔) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง มาตรา ๒๒ วรรคสาม มาตรา ๒๓ วรรคสี่ มาตรา ๒๘ วรรคสอง มาตรา ๓๐ วรรคสอง หรือมาตรา ๓๓ วรรคสี หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ออกตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๕ วรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ (มาตรา ๙๑)

๕) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๕ (๓) ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๒)

๖) กรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๓๒ วรรคสอง หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ วรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๔๓)

๗) กรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๔)

๘) กรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนมาตรา ๕๕ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๕)

๙) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๖)

๑๐) กรณีไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (มาตรา ๙๗)

๑๑) กรณีไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๘๑ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองหมื่นบาท (มาตรา ๙๔)

๑๒) กรณีทําให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่ไปจากเดิมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

- ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทําด้วยประการใด ๆ ให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติไปจากเดิมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา ๕๕ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี หรือปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๙ วรรคหนึ่ง)

- ถ้าได้กระทําในพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ ๑ หรือพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ ๒ ตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด หรือพื้นที่เปราะบางของระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้กระทําต้องระวางโทษหนักกว่าโทษ ที่กฎหมายบัญญัติไว้อีกกึ่งหนึ่ง คือ จําคุกสูงสุดสามสิบปี หรือปรับสูงสุดสามล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๙๙ วรรคสอง)

๑๓) กรณีเก็บหา นําออกไป กระทําด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทําให้เสื่อมสภาพ ทรัพยากรธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

- ผู้ใดเก็บหา นําออกไป กระทําด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทําให้เสื่อมสภาพ ซึ่งไม้ ดิน หิน กรวด ทราย แร่ ปิโตรเลียม หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น หรือกระทําการอื่นใดอันส่งผลกระทบ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ หรือความหลากหลายทางชีวภาพ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๕ (๕) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๐ วรรคหนึ่ง)

- ถ้าเป็นการกระทําแก่ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ตามฤดูกาล และมีมูลค่ารวมกันไม่เกินสองพันบาท ผู้กระทําต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท (มาตรา ๑๐๐ วรรคสอง)

ถ้าเป็นการกระทําที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ที่เป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใด อย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร ผู้กระทํา ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท (มาตรา ๑๐๐ วรรคสาม)

๑๔) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๕๕ (๕) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๑)

๑๕) กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๕๕ (๖) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท (มาตรา ๑๐๒ วรรคหนึ่ง)

- ถ้าเป็นการนําหรือปล่อยสัตว์ที่เป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ อย่างรุนแรงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๒ วรรคสอง)

๑๖) กรณีฝ่าฝืนกระทําการในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

- กรณีฝ่าฝืนมาตรา ๖๗ (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกิน เจ็ดแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๓ วรรคหนึ่ง)

- กรณีที่การฝ่าฝืนมาตรา ๖๗ (๒) เป็นการกระทําแก่ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถ เกิดใหม่ทดแทนได้ตามฤดูกาลและมีมูลค่ารวมกันไม่เกินสองพันบาท ผู้กระทําต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ห้าพันบาท (มาตรา ๑๐๓ วรรคสอง)

๑๗) กรณีไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๘๒ (๑) ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๔ วรรคหนึ่ง)

- นอกจากต้องระวางโทษดังกล่าวแล้ว ผู้นั้นยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง (มาตรา ๑๐๔ วรรคสอง)

๑๘) กรณีไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๘๒ (๒) ต้องระวางโทษจําคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๕ วรรคหนึ่ง)

- นอกจากต้องระวางโทษดังกล่าวแล้ว ผู้นั้นยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง (มาตรา ๑๐๕ วรรคสอง)

๑๙) ความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือจําคุกไม่เกินหนึ่งปี ให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบได้ (มาตรา ๑๐๖)

๒๐) เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ให้พนักงานอัยการเรียกค่าเสียหายตามมาตรา ๘๗ หรือมาตรา ๘๔ ไปในคราวเดียวกัน (มาตรา ๑๐๗)

๒๑) ให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาล และให้ศาลมีอํานาจพิพากษาให้จ่ายเงินสินบนนําจับ แก่ผู้นําจับเป็นจํานวนไม่เกินกึ่งหนึ่งของจํานวนเงินค่าปรับตามคําพิพากษา ในกรณีที่มีผู้นําจับหลายคนให้แบ่ง เงินสินบนนําจับให้คนละเท่า ๆ กัน โดยการจ่ายเงินสินบนนําจับนั้นจะจ่ายได้เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว (มาตรา ๑๐๘)

๒๒) การจัดการของกลาง

- การริบทรัพย์สินที่ใช้กระทําความผิด กําหนดให้บรรดาไม้ ซากสัตว์ป่า หรือทรัพยากร ธรรมชาติอื่นใดที่มีอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ที่บุคคลได้มาจากการกระทําความผิด หรือซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าที่ได้มาจากการกระทําความผิด อาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ สิ่งปลูกสร้าง อุปกรณ์ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่ได้ใช้ในการกระทําความผิด หรือมีไว้ เพื่อใช้กระทําความผิดตามมาตรา ๕๕ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๗) หรือ (5) หรือมาตรา ๖๗ (๑) หรือ (๒) พนักงานอัยการมีอํานาจร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้นได้ โดยไม่ต้องคํานึงว่าเป็นของผู้กระทําความผิดและมี ผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาของศาลหรือไม่ (มาตรา ๑๐๙)

- การจัดการสัตว์ป่าของกลาง หรือสัตว์ป่าที่ตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามคําพิพากษาของศาล หรือสัตว์ป่าที่มีผู้ทอดทิ้ง หรือสัตว์ป่าที่พิการ บาดเจ็บ ป่วย อ่อนแอ ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ช่วยเหลือ ดูแล รักษา จําหน่าย ปล่อยสู่ธรรมชาติ ส่งคืนถิ่นกําเนิด โอน ทําลาย เอาไว้ใช้ ในราชการ หรือจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดแก่สัตว์ป่านั้นก็ได้ (มาตรา ๘๖)

๒๓) กรณีผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําผิดนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทําการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทําการจนเป็น เหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทําความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้นด้วย (มาตรา ๑๑๐)

 

หมวด ๘ การควบคุมและพนักงานเจ้าหน้าที่

หมวด ๘ การควบคุมและพนักงานเจ้าหน้าที่ 

  อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกระทําการตามมาตรา ๗๒ และมาตรา ๗๓

 

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจกระทําการเพื่อประโยชน์ในการสํารวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ การคุ้มครองสัตว์ป่า การบําบัดเยียวยาสัตว์ป่า การป้องกันหรือแก้ไขภยันตราย แก่ประชาชนหรือสัตว์ หรือเพื่อส่งเสริมกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า หรือเพื่อส่งเสริมกิจการสวนสัตว์ โดยต้อง ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

และให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ค่าบริการ หรือค่าตอบแทน และราคาสัตว์ป่าได้ตามอัตรา ที่กําหนดในระเบียบ ซึ่งอธิบดีกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ (มาตรา ๗๒ - มาตรา ๗๔)

ในกรณีที่บุคคลใดประสงค์จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการนอกเวลาราชการหรือนอกสถานที่ จะต้องจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเท่าอัตราของทางราชการ ค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายอื่นเท่าที่จําเป็นและจ่ายจริง ในการปฏิบัติงาน (มาตรา ๗๕)

การควบคุมผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรอง

๑) ในกรณีผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรอง ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ กฎกระทรวง หรือระเบียบตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หรือเงื่อนไขที่กําหนด ท้ายใบอนุญาตหรือใบรับรอง พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือให้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กําหนด (มาตรา ๗๖)

๒) หากผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรองไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเป็นหนังสือตามมาตรา ๗ ให้อธิบดี มีอํานาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือใบรับรอง มีกําหนดครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน นับแต่วันที่แจ้งให้ผู้รับใบอนุญาต หรือใบรับรองทราบ โดยอธิบดีจะเพิกถอนคําสั่งพักใช้ก่อนครบกําหนดก็ได้ เมื่อเหตุในการออกคําสั่งพักใช้ สิ้นสุด (มาตรา ๗๗)

๓) หากผู้รับใบอนุญาตหรือใบรับรองฝ่าฝืนคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือใบรับรอง ให้อธิบดี มีอํานาจเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับรองได้ (มาตรา ๗๘)

๔) ในกรณีที่อธิบดีมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับรอง ให้ผู้ถูกเพิกถอนที่มีสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าควบคุม หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว ดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ ถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับรอง

(๑) จําหน่าย จ่าย โอน แก่สวนสัตว์ที่ได้รับใบอนุญาต หรือสวนสัตว์ที่หน่วยงานของรัฐ จัดตั้งตามหน้าที่ (มาตรา ๗๙ (๑))

(๒) จําหน่าย จ่าย โอน สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ แก่ผู้ดําเนินกิจการเพาะพันธุ์ สัตว์ป่า (มาตรา ๗๙ (๒))

(๓) ขอรับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ หรือครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ หรือสัตว์ป่า ควบคุม (มาตรา ๗๙ (๓))

(๔) ขอรับใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว (มาตรา ๗๙ (๔))

(๕) แจ้งการครอบครองสัตว์ป่าควบคุม หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว (มาตรา ๗๙ (๕)) หน้าที่และอํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๘๑ – มาตรา ๔๒)

ในกรณีที่มีการกระทําฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้

๑) มีหนังสือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคํา หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อ ประกอบการพิจารณาดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๘๑ (๑)

๒) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลา ทําการของสถานประกอบการหรือสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบและควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๘๑ (๒))

๓) ตรวจค้นสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทําการของสถานที่นั้น ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้จะมีการยักย้าย ซุกซ่อน ส่ง หรือนําออกนอก ราชอาณาจักร หรือทําลายทรัพย์สิน วัตถุ สิ่งของ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด (มาตรา ๘๑ (๓))

๔) ยึดหรืออายัดสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า ผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า เอกสารหรือหลักฐาน หรือวัตถุใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ หรือดําเนินคดี (มาตรา ๘๑ (๔))

เมื่อมีการตรวจค้น ยึด หรืออายัดตาม ๓) หรือ ๔) แล้วแต่ยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จ พนักงาน เจ้าหน้าที่จะกระทําต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทําการของสถานที่นั้นก็ได้

๕) สั่งให้บุคคลงดเว้นการกระทําใด ๆ หรือสั่งให้ออกไปจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า (มาต

๖) สั่งเป็นหนังสือให้ผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ รื้อถอน นําเคลื่อนที่ ย้ายออกไป แก้ไข หรือทําประการอื่นใดแก่สิ่งปลูกสร้าง สิ่งที่เป็นอันตรายแก่สัตว์ป่า หรือสิ่งที่ทําให้เสื่อมสภาพ หรือสิ่งที่เป็นอันตรายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (มาตรา ๔๒ (๒))

๗) ยึด ทําลาย รื้อถอน แก้ไข หรือทําประการอื่น เมื่อผู้กระทําความผิดไม่ปฏิบัติตาม (๒) หรือไม่ปรากฏตัวผู้กระทําความผิด หรือรู้ตัวผู้กระทําความผิดแต่หาตัวไม่พบ (มาตรา ๔๒ (๓))

๔) ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหาย แก่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน (มาตรา ๘๒ (๔))

๔) กําหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ช่วยเหลือ ดูแล รักษา หรือจัดการอย่างหนึ่งอย่างใด แก่สัตว์ป่าซึ่งเป็นของกลางในคดีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดไว้ หรือสัตว์ป่าที่มีผู้ทอดทิ้ง หรือสัตว์ป่าที่พิการ บาดเจ็บ ป่วย อ่อนแอ รวมทั้งได้กําหนดให้สามารถส่งสัตว์ป่านั้นไปอยู่ในความดูแลรักษาของสวนสัตว์ สถานพยาบาลสัตว์ สถานสงเคราะห์สัตว์ หรือสถานที่ที่จัดไว้สําหรับใช้เลี้ยงดู ดูแลรักษาสัตว์ป่าก็ได้ (มาตรา ๘๖)

 

Pages