วันเสาร์, เมษายน 21, 2555

เรื่องเล่าระหว่างทางธุดงค์ของหลวงปู่ชา

เรื่องเล่าระหว่างทางธุดงค์ของหลวงปู่ชา

พระธุดงค์ : สู้ความกลัวในป่าช้า กล้านอนขวางทางเสือ

   ในระหว่างทางธุดงค์จาริก คราวหนึ่งท่านผ่านไปพักวิเวกอยู่ที่ป่าช้าวัดโปร่งคลอง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ชาวบ้านหามศพมาเผาใกล้ ๆ ที่ปักกลด ซึ่งทำให้พระชากลัวมาก ตกดึกคืนนั้นขณะทำความเพียรอยู่ภายในกลดก็ได้ยินเสียงเดินหนัก ๆ ตรงเข้ามาเหมือนจะเหยียบพระ มาหยุดอยู่ที่หน้ากลด แล้วรู้เหมือนมือที่ถูกไฟไหม้นั้นคว้าไปมาอยู่ตรงหน้า ท่านเล่าว่ากลัวจนไม่มีอะไรจะเปรียบ
   กลัวมากจนหมดความกลัว
   "ปานฝ่ามือกับหลังมือเราพลิกกลับ อัศจรรย์เหลือเกิน ความกลัวมาก ๆ มันหายไปได้ ความไม่กลัวมันกลับมาแทนในที่เดียวกันนี้ โอ ใจมันสูงขึ้น สูงขึ้นเหมือนอยู่บนฟ้านะ เปรียบไม่ถูก"
   แล้วลมฝนก็โหมกระหน่ำลงมาอย่างหนักจนท่านเปียกโชกไปหมด
   เช้ามาท่านลุกจากกลดออกไปปัสสาวะ ปรากฎว่าปัสสาวะออกมามีแต่เลือด เพราะปวดมาแต่กลางคืน
   ท่านตกใจว่าข้างในคงฉีกขาด แต่ก็ปลงใจว่า "ตายก็ตายช่างมัน จะทำอย่างไรได้ ตายก็ดี ตายเพราะบำเพ็ญอย่างนี้ ตายเพราะปฏิบัติอย่างนี้ก็พอใจตายแล้ว"
   ต่อมาท่านธุดงค์ไปถึงป่าใหญ่แห่งหนึ่ง เห็นรอยทางเก่าก็นึกถึงคำสอนของคนโบราณที่ว่า เข้าป่าอย่านอนขวางทางเก่า ก็อยากจะพิสูจน์ให้เห็นจริง จึงปักกลดขวางทางเก่า จากนั้นก็นอนตะแคงหไสยาสน์ภายในกลด หันหลังให้ป่า หันหน้าไปทางหมู่บ้าน
   ขณะที่กำลังนอนกำหนดลมหายใจอยู่ หูก็แว่วได้ยินเสียงใบไม้แห้งดังกรอบแกรบ ๆ ใกล้เข้ามาจนได้ยินเสียงลมหายใจและกลิ่นสาบสางที่ฟุ้งกระจายมากับสายลม ท่านยังคงนอนนิ่งอยู่ทั้งที่รู้ดีว่าเสียงและกลิ่นเช่นนี้ จะเป็นสัตว์อย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากเสือ!
   จิตหนึ่งก็ห่วงชีวิตจนตัวสั่นหวั่นไหว แต่กลัวอยู่ไม่นาน จิตของนักต่อสู้ก็ออกมาแย้งและให้เหตุผลว่า
    อย่าห่วงมันเลยชีวิตนี้ แม้ไม่ถูกเสือกัดตาย เราก็ต้องตายอยู่แล้ว การตายขณะเดินตายรอยพระศาสดานี้ ชีวิตย่อมมีความหมาย เราขอเป็นอาหารของเสือ หากว่าเราเคยกินเลือดกินเนื้อกันมา จะได้ชดใช้หนี้ให้หมดกันไป แต่หากไม่เคยเป็นคู่เวรคู่กรรม มันคงไม่ทำอะไรเรา
   เสียงเสือหยุดลง ได้ยินเสียงลมหายใจอยู่ห่าง ๆ สักครู่มันก็หันหลังกลับ เดินเหยียบใบไม้แห้งกรอบแกรบหายเข้าป่าไป
    พระหนุ่มจึงได้คำตอบว่าทำไมคนโบราณจึงห้ามนอนขวางทางเก่า
     และได้ข้อคิดว่า เมื่อเราทอดอาลัยในชีวิต ปล่อยวางมันเสีย ไม่เสียดาย ไม่กลัวตาย ทำให้เกิดความเบาสบาย สติปัญญาเฉียบคมขึ้นเป็นเงาตามตัว จิตเกิดความกล้าหาญไม่สะทกสะท้านสิ่งใด
   ยาวนานนับสิบพรรษากับการปฏิบัติธุดงค์กัมมัฎฐาน บำเพ็ญสมณธรรมขั้นอุกฤษฎ์ หลวงปู่ชามีข้อธรรมในการอบรมสั่งสอนศิษย์ในชั้นหลังว่า
   "ถ้าเราเรียนปริยัติ แต่ไม่ได้ปฏิบัติ ก็ไม่ได้รับผลเหมือนคนเลี้ยงโค แต่ไม่เคยได้กินนมโคฉันนั้น"

โอวาทธรรมคำสอน จากหลวงปู่ชา สุภัทโท

โอวาทธรรมคำสอน จากหลวงปู่ชา สุภัทโท
พิพิธภัณฑ์ พระโพธิญาณเถร วัดหนองป่าพง
ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2555  สถานที่: พิพิธภัณฑ์ พระโพธิญาณเถร วัดหนองป่าพง

     "ให้เลิกความรู้สึกรักและชังในบุคคลทั้งหลาย
 อย่าอยู่ด้วยความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ
         รู้จักดีและชั่วแล้วเลิกยึดดียึดชั่วเสียด้วย"

พิพิธภัณฑ์ พระโพธิญาณเถร วัดหนองป่าพง
พิพิธภัณฑ์ พระโพธิญาณเถร วัดหนองป่าพง
 ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2555  สถานที่: พิพิธภัณฑ์ พระโพธิญาณเถร วัดหนองป่าพง

การนั่งสมาธิ นั่งให้ตัวตรง อย่าเงยหน้า
มากเกินไป อย่าก้มหน้าเกินไป เอาขนาดพอดี
เหมือนพระพุทธรูปนั่นแหละมันจึงสว่างไสวดี
ครั้นจะเปลี่ยนอริยาบถก็ให้อดทนจนขีดสุดเสียก่อน
ปวดก็ให้ปวดไป อย่าเพิ่งรีบเปลี่ยน อย่าคิดว่า
"บ๊ะ ไม่ไหวแล้ว พักก่อนเถอะน่า"
อดทนมันจนปวดถึงขนาดก่อน พอมันถึงขนาดนั้นแล้ว
ก็ให้ทนต่อไปอีก ทนต่อไป ๆ จนมันไม่มีแก่ใจ
จะว่า "พุทโธ" เมื่อไม่ "พุทโธ" ก็เอาตรงที่มันเจ็บ
นั้นแหละมาแทน "อุ๊ย เจ็บ เจ็บแท้ ๆ หนอ"
เอาเจ็บนั้นมาเป็นอารมณ์แทน "พุทโธ" ก็ได้
กำหนดให้ติดต่อกันไปเรื่อย ๆ นั่งไปเรื่อย
ดูซิว่าเมื่อปวดจนถึงที่สุดแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น
พระพุทธเจ้าท่านว่า มันเจ็บเอง มันก็หายเอง
ให้มันตายไป ก็อย่าเลิก บางครั้งมันเหงื่อแตก
เม็ดโป้ง ๆ เท่าเม็ดข้าวโพดไหลย้อยมาตามอก
ถ้าครั้นทำจนมันได้ข้ามเวทนาอันหนึ่งแล้ว
มันก็รู้เรื่องเท่านั้นแหละ ให้ค่อยทำไปเรื่อย ๆ
อย่าเร่งรัดตัวเองเกินไป

โอวาทธรรมคำสอน ทางไปนิพพาน หลวงปู่ชา

บอกทางไปนิพพาน จาก หลวงปู่ชา สุภัทโท
 ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2555 ที่พิพิธภัณฑ์ พระโพธิญาณเถร วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

        โอวาทธรรมคำสอนของท่านจำนวนหนึ่งได้รับการบันทึกเผยแผ่ต่อมาจนปัจจุบัน บางส่วนได้รับการถอดออกมาตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่ม มีแง่มุม สาระ และรสในทางธรรมหลากหลายกันไป กับหนังสืออีกจำนวนหนึ่งที่เล่าถึงชีวประวัติ ปฎิปทา และงานของท่านโดยตรง
        ให้ผู้ศึกษาได้อาศัยเป็นแนวทางในการมุ่งปฏิบัติของตนเอง
"ต้องค่อย ๆ ทำ ค่อย ๆ ปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าจะเอาวันสองวันให้ได้ ต้องพากันพยายามทำไปเรื่อย ๆ คนอื่นบอกมันไม่รู้จัก จะต้องไปพบด้วยตัวเอง"
        และไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะเอา แต่เพื่อจะปล่อย
"เราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อจะได้ เราปฏิบัติพื่อจะละ คือถ้าปฏิบัติเพื่ออยากได้นั่นอยากได้นี่ ความอยากนั้นย่อมพานักปฏิบัติไปสู่ภพสู่ชาติอยู่เรื่อยไป ไม่เป็นไปเพื่อการหลุดพ้น"  โดยมีปลายทางอยู่ที่พระนิพพานอันเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่จริงและเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันไม่ต้องรอชาติหน้าชาติไหน

        ดังที่หลวงปู่ชาสอนว่า
       "นิพพานก็อยู่กับวัฎฎสงสาร วัฎฎสงสารก็อยู่กับนิพพาน เหมือนกันกับความร้อนกับความเย็น มันก็อยู่ที่เดียวกันนั่นเอง ความร้อนก็อยู่ที่มันเย็น ความเย็นก็อยู่ที่มันร้อน เมื่อมันร้อนขึ้น มันก็หมดเย็น เมื่อมันหมดเย็นมันก็ร้อน"
        ทุกคนเข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติของตัวเอง ตามคติธรรมของท่านที่ว่า
   "ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย"

ประวัติวัดหนองป่าพง หลวงพ่อชา สุภัทโท

  ประวัติวัดหนองป่าพง หลวงพ่อชา สุภัทโท
ภาพหน้าวัดหนองป่าพง
วัดหนองป่าพง
   ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2555 วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
                     ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2555 ที่พิพิธภัณฑ์ พระโพธิญาณเถร วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

       ...พระมีวัตร วัดมีพระ.....
       แต่เดิม "ดงป่าพง" ป่าดงดิบใกล้หมู่บ้านก่อ บ้านเกิดของหลวงปู่ชา เป็นป่ารกชัฎไม่คอยมีใครกล้าย่างกราย เพราะเชื่อกันว่าเป็นป่าที่เจ้าที่แรง
      จนเมื่อหลวงปู่ชากลับจากการจาริกธุดงค์นานนับ ๑๐ พรรษา ท่านได้มาตั้งวัดหนองป่าพงในป่าแห่งนั้น ซึ่งคนมักเรียกกันติดปากว่า "วัดป่าพง"
ถือพระวินัยเคร่งครัด วัตรปฎิบัติงดงาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา มีผู้มาขอบวชและขอเป็นลูกศิษย์มากขึ้นจนเกิดหมู่คณะที่เรียกว่า "คณะสงฆ์หนองป่าพง"
       หมู่ภิกษุเคารพกันตามอายุพรรษา ผู้จะมาบวชใหม่ต้องเป็นผ้าขาว ถือศีล ๘ อยู่ช่วงหนึ่งก่อน เพื่อเรียนรู้และฝึกฝนตนเองก่อนเข้าสู่ชีวิตในเพศนักบวช จากนั้นจะได้รับการบวชเป็นสามเณรก่อนไม่ว่าผู้นั้นจะมีอายุเท่าใด เพื่อศึกษาพระวินัยและข้อวัตรที่พระวัดป่าต้องถือปฏิบัติ ไม่ให้ต้องผิดพลาดบกพร่อง เมื่อครูอาจารย์เห็นสมควรจึงจะอุปสมบทให้
      พระวัดหนองป่าพงถือความเป็นหมู่คณะ ไม่มีการเก็บสะสมของกินของใช้ไว้เป็นการเฉพาะตน แต่จะรวมไว้เป็นของส่วนกลาง ฉันพร้อมกันเลิกพร้อมกันวันละมื้อเดียว แล้วแยกกันไปบำเพ็ญเพียรตามลำพัง ถึงเวลาก็มารวมกันทำกิจวัตรที่ได้รับมอบหมาย กวาดลานวัด จัดเสนาสนะ ซ่อมแซมปัดกวาดศาลา โรงฉัน ตักน้ำใช้น้ำฉัน ฯลฯ
     กิจวัตรสำคัญที่ดูจะเป็นเอกลักษณ์ของวัดหนองป่าพงคือ การล้างเท้าครูบาอาจารย์เพื่อให้ศิษย์ได้ฝึกการละพยศ ลดทิฎฐิ และได้แสดงความกตัญญูรู้คุณ
      ร่มเงาของวัดหนองป่าพงยิ่งแผ่กว้าง เมื่อสาธุชนจากทุกสารทิศได้พบเห็นการปฏิบัติอันน่าเลื่อมใสก็เกิดความศรัทธา ขอนิมนต์คณะสงฆ์หนองป่าพงให้ไปตั้งวัดในถิ่นฐานของตน เกิดวัดสาขาแผ่ขยายออกไปนับ ๑๐๐ สาขาในปัจจุบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ


วันจันทร์, เมษายน 16, 2555

พระปฐมเจดีย์ ปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

พระปฐมเจดีย์ ปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
องค์พระปฐมเจดีย์ นครปฐม
องค์พระปฐมเจดีย์

ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์โดยย่อ
 ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์โดยย่อ

      องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งสมณฑูตประกาศพระพุทธศาสนา นักปราชญ์ในทางโบราณคดี มีความเห็นพ้องต้องกันว่าพระโสณะเถระและพระอุตระเถระซึ่งเป็นสมณฑูต ได้เดินทางมาตั้งหลักฐานประกาศพุทธศาสนา ที่นครปฐมเป็นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ ๓ เดิมสร้างเป็นพระสถูปโบราณทรงบาตรคว่ำแบบเจดีย์อินเดียต่อมาได้ปฎิสังขรณ์เปลี่ยนแปลงรูปไป
       เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงผนวชได้เสด็จธุดงค์มานมัสการทรงเห็นเป็นพระเจดีย์ยอดปรางค์ สูง ๔๒ วา เมื่อทรงลาผนวช ได้ทรงเสวยราชสมบัติแล้ว ในราว พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงโปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหญ่หุ้มองค์เดิมไว้สูง 120 เมตร พร้อมสร้างวิหารทิศและคตพระระเบียงโดยรอบ งานไม่ทันแล้วเสร็จ ก็เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดให้ปฎิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ จัดสร้างหอระฆังและประดับกระเบื้องจนสำเร็จรัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดให้ปฎิสังขรณ์พระวิหารหลวงเขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่าง ๆ ไว้ที่ผนังด้านใน ทรงโปรดให้รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือและสร้รางใหม่เพื่อประดิษฐาน
       "พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร"
    รัชกาลที่ ๗ ทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่ องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น ๑๒ ค่ำ ถึงวัน แรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ รวม ๙ วัน ๙ คืน โดยจัดเป็นประจำทุก ๆ ปี

วันจันทร์, เมษายน 09, 2555

เพราะเธอหรือเปล่า





เพราะเธอหรือเปล่าก่อนไม่เคยเหงา
เพราะเธอหรือใคร ก่อนไม่เคยรู้ใจกัน
จนวันที่เธอต้องไป ฉันเคยสุขเพราะใคร
เพราะเธอ
คนรักคนหนึ่ง คงซึ้งเกินกว่า คนที่มองค่าความจริงใจแค่เพียงผ่าน
คนที่เคยใกล้ วันนี้ไกลห่าง ใครรู้ใจบ้าง ก็มีแต่เพียงเธอ เป็นความทรงจำ
ความผูกพันธ์ ยังคงย้ำเตือนอยู่ ความจริงในใจก็รู้ว่าคงไม่อาจลืม
คนเคยดูแล เคยห่วงใยเป็นเพียงแค่วันก่อน
ใจยังอาวรณ์ เฝ้าคิดถึงคนที่ห่างไกล

เพราะเธอหรือเปล่า ก่อนไม่เคยเหงา เพราะเธอหรือใคร
ก่อนไม่เคยรู้ใจกัน จนวันที่เธอต้องไป ฉันเคยสุขเพราะใคร
....เพราะเธอ...

เนื้อเพลงชาติไทย เอกลักษณ์ของความเป็นไทย

เพลงชาติไทย


ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐ ผไทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย
รักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาด
เป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย

Pages